-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนากลไกการอนุรักษ์วิถีชุมชนของบ้านแหลมลมทวน ตำบลบ้านปรก อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment of A Mechanism for Conserving the Way of Community of Ban Laem-Lom-Thuan Ban Prok Subdistrict, Mueang District Samut Songkhram Province
- ผู้วิจัยนางสาวดวงพร ใจช่วงโชติ
- ที่ปรึกษา 1ดร.สุรัตน์ พักน้อย
- ที่ปรึกษา 2พระมหาประกาศิต สิริเมโธ, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา06/10/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50318
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 83
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่อง “การพัฒนากลไกการอนุรักษ์วิถีชุมชนของบ้านแหลมลมทวน ตำบลบ้านปรก อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์วิถีชุมชนของชาวบ้านแหลมลมทวน ตำบลบ้านปรก อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม 2) เพื่อพัฒนากลไกการอนุรักษ์วิถีชีวิตชุมชนชาวบ้านแหลมลมทวน ตำบลบ้านปรก อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม 3) เพื่อเสนอกลไกการอนุรักษ์วิถีชุมชนชาวบ้านแหลมลมทวน ตำบลบ้านปรก อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ และผู้นำชุมชน ในตำบล อำเภอ รวมทั้งสิ้นจำนวน 16 คน เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความจากปรากฏการณ์เป็นพรรณาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
อัตลักษณ์วิถีชุมชนของชาวบ้านแหลมลมทวน ตำบลบ้านปรก อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม ประกอบด้วย ด้านประวัติศาสตร์ ชื่อหมู่บ้านแหลมลมทวนเป็น ชุมชนโบราณ ก่อตั้งมาประมาณ 256 ปี ด้านวิถีชีวิตภูมิปัญญาชาวบ้าน ความรู้ของชาวบ้าน ซึ่งเรียนรู้มาจากปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง และความเฉลียวฉลาดของแต่ละคน หรือผู้มีความรู้ในหมู่บ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นเรื่องการทำมาหากิน เช่น การจับปลา การจับสัตว์ การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การทอผ้า การทำเครื่องมือภูมิปัญญาเหล่านี้เป็นความรู้ความสามารถที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์และถ่ายทอดมาให้เรา มีวิธีการหลายอย่างที่ทำให้ความรู้เหล่านี้เกิดประโยชน์แก่สังคมปัจจุบัน คือ ชุมชนริมน้ำแม่กลองชุมชนโบราณกำเนิดตั้งแต่ พ.ศ 2280 ด้านภูมิประเทศ แผ่นดินยื่นลงไปในแม่น้ำทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการประกอบอาชีพ ประมงแบบพอเพียงอิงอาศัยธรรมชาติมีการประมงแบบพอเพียง ด้านเศรษฐกิจ การค้าขายสัตว์น้ำตามธรรมชาติ ด้านสังคม เป็นสังคมที่เป็นเครือญาติ ด้านครอบครัวเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ การประเพณีและการละเล่น อดีตเคยมีการแข่งขัน เรือ สองฝีพาย มีการละเล่นอีเถิด ขนมพื้นบ้านและอาหารพื้นเมือง ขนมข้าวเม่าคลุกน้ำตาล ถั่วเขียวต้มน้ำตาลสูตรเด็ด เป็นต้น
การพัฒนากลไกการอนุรักษ์วิถีชุมชนของชาวบ้านแหลมลมทวน ผู้วิจัย ใช้กิจกรรม ในการสร้างการตระหนักรู้ เพื่อให้เกิดความรักความสามัคคีภายในชุมชน โดยการใช้กระบวนการ list model เข้ามามีส่วนร่วม เป็นกิจกรรมต้นแบบ ในการพัฒนากลุ่มผู้ทำประมงพื้นบ้าน โดยการสร้างคุณค่าให้กับชุมชนบ้านแหลมทวน โดยการสร้างการเรียนรู้ ในวิธีการจับกุ้งแม่น้ำ มีการใช้นวัตกรรมโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน สอนให้เรียนรู้การคิดการเรียนรู้ และสอนให้เรียนรู้วิธีการตกกุ้ง แบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นการอนุรักษ์กุ้งแม่น้ำ ผลจากกิจกรรมที่ได้ ทำให้เกิดรายได้ภายในชุมชน เกิดความรักความสามัคคีภายในครอบครัว ไม่ต้องทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิด เพื่อออกไปทำงานในต่างจังหวัด
แนวทางการอนุรักษ์วิถีชุมชนชาวบ้านแหลมลมทวน ได้แก่ 1) การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยการยกระดับพัฒนาฝีมือ ของคนในชุมชน โดยคำนึงถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นอัตลักษณ์ ของสินค้าและบริการ และกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ 2) การส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน โดยการพัฒนาชุมชนให้เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ลักษณะของกิจกรรม พายเรือธรรมชาติยามเช้า เที่ยว ชม วิถีชีวิตของชุมชน เป็นต้น 3) การส่งเสริมวิถีชีวิตชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชีวิตและวัฒนธรรมพื้นบ้าน กับการสืบสานในเชิงอนุรักษ์ เพื่อให้เกิดความรักความหวงแหนในศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Research on “Development of a mechanism for preserving the community way of life of Ban Laem Lom Thuan, Ban Prok Subdistrict, Mueang Samut Songkhram District. Samut Songkhram Province” has the objectives: 1. To study the community identity of Laem Lom Thuan villagers, Ban Prok Subdistrict, Mueang Samut Songkhram District. Samut Songkhram Province 2. To develop a mechanism for preserving the way of life of the villagers of Laem Lom Thuan, Ban Prok Subdistrict, Mueang Samut Songkhram District. Samut Songkhram Province 3. To propose a mechanism for preserving the way of life of the villagers of Laem Lom Thuan, Ban Prok Subdistrict, Mueang Samut Songkhram District. Samut Songkhram Province This research is qualitative research. Important information providers are Government agency officials and community leaders in the sub-district and district, a total of 16 people. Data were collected from in-depth interviews. Used to analyze data by interpreting phenomena into descriptive analyses.
The research results found that
Community identity of Laem Lom Thuan villagers, Ban Prok Subdistrict, Mueang Samut Songkhram District Samut Songkhram Province consists of history. The name of Laem Lom Thuan village is an ancient community established approximately 256 years ago. In terms of way of life, folk wisdom refers to the knowledge of the villagers. which is learned from grandparents, grandparents, relatives and the intelligence of each person Or people with knowledge in various local villages. Folk wisdom is about making a living, such as catching fish, catching animals, growing plants, raising animals, weaving, making tools. These wisdoms are the knowledge and abilities that the ancestors have created. and transmitted to us There are many methods that make this knowledge beneficial to today's society, namely the Mae Klong riverside community, an ancient community that dates back to 1737 in terms of geography. The land extends into the river, creating an abundance of natural resources. Occupation Sufficiency fishing depends on nature. There is a sufficiency auction. Economic aspect, trading in natural aquatic animals. Social aspect, it is a kinship society. The family side is a large family. Traditions and games In the past, there used to be a boat race with two rowers, and there were games. Local snacks and local food Khanom Khao Mao mixed with sugar Mung beans boiled in sugar, great recipe
Developing a mechanism for preserving the community way of life of Laem Lom Thuan villagers. The researcher used activities to create awareness. To create love and unity within the community. By using the list model process to participate. It is a prototype activity. in the development of local fishing groups By creating value for the Ban Laem Thuan community By creating learning How to catch river shrimp Innovation is used using local wisdom. Teach to learn thinking and learning. and teach people how to fish for shrimp in the traditional way, which preserves river shrimp. Results from the activities obtained Generate income within the community There is love and unity within the family. No need to leave your hometown to go out to work in other provinces
The researcher proposes three guidelines for preserving the way of life of the Ram Ruam Thuan community: 1) promoting community products By upgrading skill development Thank you in the community Taking into account the uniqueness of the local area To demonstrate the identity of products and services and stimulate learning in developing quality products. 2) Promoting community tourism. By developing the community into an ecotourism community. Nature of activities Rowing a nature boat in the morning, sightseeing the way of life of the community, etc. 3) Promoting community way of life. In order for the community to participate in promoting tourism, local way of life and culture. with conservation inheritance To create love and jealousy in local arts and culture.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|