โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการเผยแผ่ธรรมะสำหรับคนรุ่นใหม่เชิงพุทธบูรณาการ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Integrated Model of Dhamma Dissemination for the New Generation
  • ผู้วิจัยนางสาวฉัตรสุดา ส่องแสงเจริญ
  • ที่ปรึกษา 1พระเทพวัชราจารย์, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.ประพันธ์ ศุภษร
  • วันสำเร็จการศึกษา22/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50326
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 70

บทคัดย่อภาษาไทย

     ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพ หลักการและวิธีการเผยแผ่ธรรมะสำหรับคนรุ่นใหม่ 2) เพื่อศึกษาแนวทางและกระบวนการเผยแผ่ธรรมะสำหรับคนรุ่นใหม่ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเผยแผ่ธรรมะสำหรับคนรุ่นใหม่เชิงพุทธบูรณาการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก พระสงฆ์ ฆราวาส และการสนทนากลุ่มคนรุ่นใหม่ รวมถึงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ จากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยอุปนัยวิธีและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาโวหาร ผลการวิจัยพบว่า 

     1) สภาพ หลักการและวิธีการเผยแผ่ธรรมะสำหรับคนรุ่นใหม่ มีประเด็นหลัก 4 ด้าน คือ (1) นักเผยแผ่ ขาดอุดมการณ์ หลักการ วิธีการ ไม่ประพฤติปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัยในการเป็นตัวอย่างต้นแบบที่ดี อีกทั้งขาดความรู้ความเข้าใจทั้งทางโลกและทางธรรม ขาดทักษะการสื่อสารและประสบการณ์ในการเผยแผ่ รวมถึงความไม่เป็นเอกภาพ (2) เนื้อหาธรรมะ การนำเสนอไม่น่าสนใจ ใช้ภาษาเข้าใจยาก คอนเท้นต์ไม่ตรงกับปัญหาและความต้องการของคนรุ่นใหม่ (3) ช่องทาง ขาดรูปแบบ แนวทาง และกระบวนการเผยแผ่ธรรมะที่สอดคล้องกับลักษณะและพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ และ (4) คนรุ่นใหม่ ขาดความเลื่อมใสศรัทธาต่อนักเผยแผ่ มองธรรมะเป็นเรื่องไกลตัว เข้าถึงยาก ต้องการผลลัพธ์ที่พิสูจน์ได้และตอบโจทย์ปัญหาชีวิตอย่างแท้จริง 

     2) แนวทางการเผยแผ่ธรรมะสำหรับคนรุ่นใหม่ เป็นการสื่อสารแบบสองทางที่เน้นให้คนรุ่นใหม่เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยการเผยแผ่ธรรมะแบบเชิงรุก (Active Learning) และแบบผสมผสาน (Blended Learning) ที่ยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนที่เป็นแก่นแท้ของชีวิต สามารถนำมาปฏิบัติได้ในวิถีปัจจุบัน ไม่ยึดติดแบบแผน ปรับเนื้อหาธรรมะให้สั้น กระชับ เข้าใจง่าย (Simplify), นำไปประยุกต์ใช้ได้จริง (Modify), มีคุณภาพ (Qualify) และพิสูจน์ได้ (Verify) เหมาะกับยุคสมัยและคนรุ่นใหม่ โดยมีกระบวนการเผยแผ่ดังนี้ (1) ก่อนเผยแผ่ ศึกษาปัญหา พฤติกรรม ทัศนคติ และค่านิยม เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ให้ตรงตามความต้องการของคนรุ่นใหม่  (2) ระหว่างเผยแผ่ นำกระบวนการเรียนรู้ของบลูม ด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย เพื่อการเผยแผ่ธรรมะอย่างเป็นลำดับขั้นตอน และ (3) หลังการเผยแผ่ ร่วมกันการวิเคราะห์ สรุปผล เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการเผยแผ่ธรรมะให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

     3) รูปแบบการเผยแผ่ธรรมะสำหรับคนรุ่นใหม่เชิงพุทธบูรณาการ “Wisdom Room 4B-Model” ประกอบด้วย Blended Sender (B-S) นักเผยแผ่ควรมีอุดมการณ์ถูกต้อง เป็นตัวอย่างต้นแบบที่ดี ร่วมกันทำงานเป็นทีมในการวิเคราะห์คนรุ่นใหม่และออกแบบการเผยแผ่ธรรมะอย่างสร้างสรรค์ Blended Message (B-M) เนื้อหาธรรมะ ใช้หลักไตรสิกขาตามทางเดินแห่งอริยมรรคมีองค์ 8 เพื่อการค้นพบอริยสัจ 4 ในการเข้าใจปัญหาและความต้องการของตนเอง จนค้นพบแก่นสารชีวิตบนวีถีคนรุ่นใหม่ Blended Channel (B-C) ช่องทางการเผยแผ่ควรใช้แนวทางหลากหลายแบบผสมผสานวิธีและการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อเข้าถึงคนรุ่นใหม่ Blended Receiver (B-R) คนรุ่นใหม่ (Gen C) ได้แก่ Baby Boomer, Gen X, Gen Y, Gen Z ศึกษา ปฏิบัติ และพัฒนาทักษะชีวิตทางปัญญาทั้ง 12 ด้าน (12 Quotients) โดยการเจริญ 4 ด้าน คือ กาย จิต ปัญญา และสังคม เพื่อสร้างสมดุลชีวิตในการนำธรรมะมาแบ่งปันอย่างสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์สุขต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

     The objectives of this dissertation are 1) To study current situations, principles and methods of Dhamma dissemination for the new generation 2) To study guidelines and processes of dhamma dissemination for the new generation 3) To present the Buddhist Integrated Model of Dhamma Dissemination for The New Generation. Using Qualitative Research Methodology, with the In-Depth Interview Experts and Key Informants and Focus Group Discussion of the New Generation, together with Documentary Research. Perform the Action Research from 2 New Generation Groups. Using Inductive Method to analyze the data and present the finding in a descriptive manner. Research Finding:

     1) Current Concerning Points:- (1) The Buddhist Assemblies:- lack of good personal conduct, dhamma & secular knowledge, communication skills, dhamma dissemination skill and unity (2) Dhamma Contents:- lack of interesting presentation, use difficult languages and not fits the problems & satisfy the needs of the new generation (3) Dhamma Dissemination Channels:- lack of target plan, technic and communication methods that fit to the behaviors of the new generation (4) The New Generation:- lack of confidence & faith in the Buddhist Assemblies, seeing Dhamma as a distant matter, difficult to access, want results that can be proven and truly answer life's problems.

      2) Guidelines for dhamma dissemination for the new generation include; Utilizing 2-way communication and Learner-Centric Method, together with the Active and Blended Learning model. Comply with the principle but not the form. Adapt the dhamma to make it short, simple and practical by using the concept of Simplify-Modify-Qualify-Verify the Dhamma to create the Dhamma Co-learning space for the new generation. The Process of dhamma dissemination: (1) Before dissemination:-  study the target group’s problem and behavior to define objective to fit their needs (2) During dissemination:- apply the concept of hierarchical models of educational learning objectives, development with emphasis on practicality and cooperation in the dhamma network to satisfy the need of relevant parties. (3) After dissemination:-  analyze, summarize, to improve the efficiency and effectiveness of dhamma dissemination.

3) The Buddhist Integrated Model of Dhamma Dissemination for the New Generation or “Wisdom Room 4B-Model” consists of Blended Sender (B-S) The Buddhist Assemblies: should have the right ideology, be a good role model, work together as a team to analyze the new generation and design the Dharma Model creatively. Blended Message (B-M) Dhamma content: Use the Threefold Principles along the path of the Noble Eightfold Path for discovering the Four Noble Truths in understanding one's own problems and needs. Until discovering the essence of life in the new generation's way of life. Blended Channel (B-C) The Dissemination Channel should use a variety of approaches and combining methods, Bloom’s Taxonomy, blended learning and active learning to reach the new generation. Blended Receiver (B-R):- the new generation (Gen C), include baby boomers, Gen X, Gen Y, Gen Z, study, practice and develop 12 intellectual life skills (12 Quotients) by developing 4 paths: body, mind, wisdom, and society in order to create a balance in life in bringing Dhamma to share for the benefit and happiness of oneself, others, and society creatively. 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ