โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPersonnel’s Quality Development of Dong Phaya Subdistrict Administrative Organization in Bo Kluea Disrict, Nan Province
  • ผู้วิจัยสิบเอก ณฐวัฒน์ ธิมิตร
  • ที่ปรึกษา 1พระครูปลัดวัชรพงษ์ วชิรปญฺโญ, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
  • วันสำเร็จการศึกษา16/07/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50327
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 95

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน 2. เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล    และ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากรขององค์การบริหารส่วน ตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน โดยการประยุกต์ใช้ตามหลักภาวนา 4

ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ จากกลุ่ม ตัวอย่าง คือ บุคลากร สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่านจำนวน 86 คน จากจำนวนประชากร 110 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และการทดสอบค่า F-Test (One Way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีผลต่างเป็นสำคัญน้อยที่สุด (Least Signilficant Diference : LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก    กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน และใช้เทคนิคการสรุปเนื้อหานำเสนอแนวทาง

ผลการวิจัยพบว่า

          1. คุณภาพชีวิตบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่อยู่ใน ระดับมาก คือ ด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตงานและชีวิตด้านอื่น ๆ ด้านความมั่งคงและความก้าวหน้าในงาน ด้านประชาธิปไตยในองค์การ ด้านโอกาสในการพัฒนาความสามารถบุคลากรของ ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม  ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ตามลำดับ

          2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นบุคลากรของต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน  โดย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรที่มี เพศ อายุ สถานภาพ และเงินเดือน/ค่าตอบแทน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน   จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนบุคลากรที่มี ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และระยะเวลาในการทำงาน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย

          3. แนวทางการการพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ได้แก่ 1) ควรมีการปรับเพิ่มฐานเงินเดือนบุคลากรของให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อความสมดุลกับค่าครองชีพในปัจจุบัน และการแบ่งภาระงานยังไม่ชัดเจน 2) ควรเพิ่ม งบประมาณในการสนับสนุนการพัฒนาความสามารถซึ่งไม่เพียงพอ และควรจัดหลักสูตรฝึกอบรมให้ตรงกับตำแหน่งงาน 3) ควรเพิ่มช่องทางในการให้บุคลากรแสดงศักยภาพและเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันให้มากขึ้น 4) ผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานควรให้ความสนใจในการดูแลเอาใจใส่และช่วยแก้ไขปัญหาเมื่อมีปัญหาในการปฏิบัติงาน 5) ผู้บริหารควรใส่ใจ สนับสนุน และยอมรับแนวทางความคิดเห็นบุคลากรของ ในการปฏิบัติงานอันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และควรมีระบบธรรมา   ภิบาลเข้ามาสร้างความสมดุลในการอยู่ร่วมกัน และมีมาตรการเสมอกันทุกส่วนงานในการปฏิบัติ     ที่เป็นการประหยัดทรัพยากร เช่น การเปิด ปิด อาคารต่าง ๆ เพื่อเป็นการประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research were 1. To study the quality of life of personnel of Dong Phaya Subdistrict Administrative Organization. Bo Kluea District, Nan Province.  2. To compare the quality of life of Dong Phaya Subdistrict Administrative Organization personnel Bo Kluea District, Nan Province classified according to personal factors and 3. To present guidelines for improving the quality of life of personnel of Dong Phaya Subdistrict Administrative Organization, Bo Kluea District, Nan Province by applying the principles of prayer 4. What should be?

             The research methodology is an integrated method. by quantitative research A survey research was used from the sample group, namely personnel under the Dong Phaya Subdistrict Administrative Organization. Bo Kluea District Nan Province, 86 people out of a population of 110 people. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation. T-Test, T-Test and F-Test (One Way ANOVA) When there was a difference, the mean difference was compared in pairs. Least Signilficant Diference : LSD.) and qualitative research. with in-depth interviews with 10 key informants or people and using the technique of summarizing the content to present guidelines
 

The research finding were as follow;

             1. Quality of Life of Dong Phaya Subdistrict Administrative Organization Personnel Bo Kluea District, Nan Province, overall in the level Overall, it was at a moderate level The aspects at the high level were the nature of work that is beneficial to society social integration or collaboration work-life balance aspects Security nd job advancement Democracy in the organization Opportunity to develop personnel competency Adequate and fair compensation Safety and health-promoting working environment respectively
             2. The comparison of opinions of personnel on the quality of life development of personnel of Dong Phaya Subdistrict Administrative Organization. Bo Kluea District, Nan Province, classified by personal factors, it was found that personnel with gender, age, status and salary/remuneration There are no different opinions. Therefore, the research hypothesis was rejected. Personnel with education level, position and length of work have different opinions with statistical significance at the 0.01 level. Therefore, the research hypothesis was accepted.

         3. Guidelines for improving the quality of life of personnel of Dong Phaya Subdistrict Administrative Organization Bo Kluea District, Nan Province, namely:        1) There should be an increase in the base salary of personnel to be higher than the current situation. to balance the current cost of living and the division of workload is not clear. 2) Should increase the budget to support the development of talent which is insufficient and training courses should be arranged to match the job positions. 3) Should increase channels for personnel to demonstrate potential and open a platform to exchange and learn more 4) Supervisors and colleagues should give interested in caring 5) Executives should pay attention, support and accept the guidelines and opinions of personnel. In doing work that is beneficial to society and there should be a good governance system to create a balance in living together. And there are equal measures for all departments in practice. which is resource saving, such as opening and closing various buildings to save water and save electricity

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ