โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการบริหารจัดการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลเชิงพุทธบูรณาการของโครงการอุทยานใต้ทะเลจุฬาภรณ์ 36 สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Integrated and Conservative Marine Environmental Management Model of Chulabhorn 36 Marine Park Project Chulabhorn Research Institute
  • ผู้วิจัยนางอรุณี พงษ์พันธ์
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ตวงเพชร สมศรี
  • ที่ปรึกษา 2ดร.ณิชชา จุนทะเกาศลย์
  • วันสำเร็จการศึกษา07/10/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50330
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 58

บทคัดย่อภาษาไทย

     ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักการบริหารจัดการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลของโครงการอุทยานใต้ทะเลจุฬาภรณ์ 36 สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์  2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ใช้บริหารจัดการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลของโครงการอุทยานใต้ทะเล    จุฬาภรณ์ 36 สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์  และ 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลเชิงพุทธบูรณาการของโครงการอุทยานใต้ทะเลจุฬาภรณ์ 36 สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์  งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบภาคสนาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 21 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี

     ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลของโครงการอุทยานใต้ทะเลจุฬาภรณ์ 36 สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เกิดจากความต้องการส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยโครงการเป็นศูนย์กลางในการประสานดำเนินงาน และเผยแพร่ข้อมูลความรู้แก่ประชาชน ให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรทางทะเลและเกิดความร่วมมืออย่างเต็มที่ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน อีกทั้งมีการจัดอบรมให้กับประชาชนในหลายรูปแบบ เช่น อบรมนักดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์  อบรมค่ายเยาวชนอนุรักษ์ทะเล  เพื่อสร้างจิตสำนึกให้เกิดความรัก  และหวงแหนสิ่งแวดล้อมใต้ทะเล โดยหลักธรรมที่ใช้ในการบริหารจัดการ ได้แก่ พรหมวิหาร 4 สติสัมปชัญญะ และหิริโอตตัปปะ ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึก ได้เป็นโมเดลรูปแบบการบริหารจัดการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลเชิงพุทธบูรณาการของโครงการอุทยานใต้ทะเลจุฬาภรณ์ 36 สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์  คือ โมเดล 5 ดี สร้างคนดีสู่สังคม ประกอบด้วย (1) ลูกที่ดี  (2) ศิษย์ที่ดี  (3) เพื่อนที่ดี  (4) ศาสนิกที่ดี  และ (5) พลเมืองที่ดี เนื่องจากกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการอุทยานใต้ทะเลจุฬาภรณ์ 36 มีส่วนปลูกฝังผู้คนทุกเพศ ทุกวัย ให้เป็นคนดีมีส่วนช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล ช่วยให้เกิดความรู้รักษ์ธรรมชาติ มีความร่วมมือร่วมใจกัน มีความรักให้กันไม่เบียดเบียนกัน ด้วยการนำหลักพุทธธรรมเข้ามาส่งเสริมได้อย่างเป็นรูปธรรม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

     In this dissertation, three objectives were purposely made: 1) to study the management theory for conserving marine environment of Chulabhorn 36 marine park project, Chulabhorn Research Institute, 2) to study the principles of Buddhism used in management conserving marine environment of Chulabhorn 36 marine park project,  Chulabhorn Research Institute, and 3) to analyze the Buddhist integrated management model for conserving marine environment of Chulabhorn 36 marine park project,  Chulabhorn Research Institute. This research employed a qualitative research methodology done by field research where its tool comprised of in-depth interview of 21 key informants for collecting data and then contents analysis was also made through the inductive description.

     The research results clearly showed that the management for conserving marine environment of the Chulabhorn 36 marine park project, Chulabhorn Research Institute, started from the need to promote conservation of marine environment where the project is assigned to be the center for coordinating operations and for disseminating information and knowledge to the public by which the value and importance of marine resources  could be concretely actualized leading to  the full cooperation from both the public and private sectors. In this project, the training of general people is provided in many active forms such as training of divers for conservation, marine conservation youth camp training to cultivate awareness to love and cherish the marine environment, for instance. The Buddhist principles used in such a management embrace the following ones:  the sublime states of mind, mindfulness, and moral shame and moral dread. While carrying out the study, a researcher has reviewed related literatures and conducted in-depth interviews whereby a Buddhist integrated conservative marine environmental model of Chulabhorn 36 marine park project, Chulabhorn Research Institute, could be considerably named as the 5-Good Model, consisting of (1) good children, (2) good students, (3) good friends, (4) good religious people, and (5) good citizens respectively. Since Chulabhorn 36 marine park project provides the moral cultivation to people of all genders and ages for being a good man and a part in conserving and taking care of marine environment whereby certain knowledge on natural environment could be also given which would create positive cooperation and love without harming one another through the application of the mentioned Buddhist principles to daily practices in the concrete ways.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ