โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษModel of Temple Management Efficiency Regarding Cultural Tourism of The Sangha Administrators Order In Phra Nakhon Sri Ayutthaya Province
  • ผู้วิจัยพระครูสมุห์พูลสวัสดิ์ ฐิตสีโล (เตี๋ยพานิช)
  • ที่ปรึกษา 1พระสุธีวีรบัณฑิต, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระครูสุธีกิตติบัณฑิต, รศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา06/10/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50338
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 155

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการบริหารจัดการวัดด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2.เพื่อศึกษาองค์ประกอบในการบริหารจัดการวัดด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของพระสังฆาธิการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3.เพื่อนำเสนอรูปแบบประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของพระสังฆาธิการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการวัดด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของพระสังฆาธิการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 9 รูปหรือคน

ผลการวิจัยพบว่า

 1. สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการวัดด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดแข็ง ได้แก่ ประวัติศาสตร์และวัดที่โดดเด่น ความสะดวกในการเดินทาง จุดอ่อน ได้แก่ การบริหารจัดการที่ไม่ต่อเนื่อง ขาดการจัดการเชิงระบบ โครงสร้างอาคารที่เสี่ยงต่อสภาวะน้ำท่วม โอกาส ได้แก่ การโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ การจัดกิจกรรมใหม่ การสนับสนุนร่วมมือกับชุมชนในการจัดกิจกรรม อุปสรรค ได้แก่ เจ้าอาวาสไม่มีนโยบายที่จะพัฒนาวัดให้เกิดการท่องเที่ยว สืบเนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ หรือการเงินที่จำกัด

2. องค์ประกอบในการบริหารจัดการวัดด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า การวางแผน ควรต้องกำหนดโมเดลและแผนงาน ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ทางพุทธศาสนา และกำหนดหน้าที่และความร่วมมือของบุคคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน การลงมือปฏิบัติ ดำเนินการตามแผนงานที่ได้วางแผนและกำหนดเป้าหมาย กำหนดงบประมาณและระยะเวลา การสร้างแรงศรัทธาและความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการดำเนินงาน และการประชุมและประสานความร่วมมือระหว่างวัดและหน่วยงานในท้องถิ่น การตรวจสอบ ตรวจสอบและติดตามการทำงานของเจ้าหน้าที่และคณะทำงาน ประเมินผลลัพธ์ของโครงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และรายงานผลการประเมินและตรวจสอบให้แก่พระสังฆาธิการ การปรับปรุงแก้ไขและดำเนินการให้เหมาะสม พัฒนาบุคลากร การสร้างแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย การประสานสมดุลในบทบาทและหน้าที่ของพระสังฆาธิการ และการพัฒนาบุคคลากรภายในวัด

3. รูปแบบประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า 1) ด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์กิจกรรมของ พระสังฆาธิการเน้นการประชาสัมพันธ์แบบ “ซอฟต์พาวเวอร์” มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาล มีป้ายบอกเส้นทางและตำแหน่งพิกัดของจีพีเอส 2) ด้านการจัดการบุคลากร ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านและพระสงฆ์สามเณร  ได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านแหล่งท่องเที่ยว ควรมีจิตบริการ มีการดึงชุมชนให้มีส่วนร่วม 3) ด้านการบริการ จัดวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้สนใจ ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวด้วยความสุภาพ ห้องน้ำสะอาด ที่จอดรถสะดวก ถังขยะเพียงพอ มีของที่ระลึกราคาเหมาะสม มีจุดถ่ายภาพที่สวยงาม 4) ด้านการรักษาความปลอดภัย ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่รัฐและอาสาสมัคร มีกล้องวงจรปิดและจุดปฐมพยาบาล มีการฝึกอบรมและซ้อมการรักษาความปลอดภัย

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research are: 1. To study the general conditions in temple management regarding cultural tourism by the Sangha. Phra Nakhon Si Ayutthaya Province 2. To study the elements of temple management in terms of cultural tourism by the Sangha. Phra Nakhon Si Ayutthaya Province 3. To present a model of efficiency in temple management in terms of cultural tourism by the Sangha. Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. The research method is qualitative research (Qualitative Research) from document study (Documentary Research) and in-depth interviews (In-depth Interview) with 25 key informants (Key Informants) or people and focus group discussions ( Focus Group Discussion) with experts in temple management and cultural tourism of the Sangha. Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, 10 figures or people

The research results found that:

1. General conditions in the temple management of cultural tourism by the monks. In Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, strengths include history and outstanding temples. Convenience of traveling. Weak points include inconsistent management. Lack of systematic management Building structures that are at risk of flooding. Opportunities include advertising through online media. organizing new activities Supporting cooperation with the community in organizing activities. Obstacles include the abbot having no policy to develop the temple to create tourism. Due to economic factors or limited finances.

2. Components of temple management in terms of cultural tourism by the Sangha Phra Nakhon Si Ayutthaya Province found that planning should specify models and plans. Study the current situation, problems, and needs. Give importance to the conservation of Buddhist learning resources. and determine the duties and cooperation of personnel with specific expertise Action Carry out according to the plan that has been planned and set goals. Set a budget and timeline. Building faith and confidence among the people in operations and meetings and coordination between temples and local agencies. Inspection, inspection, and monitoring of the work of officials and working groups. Evaluate the results of cultural tourism projects and report the results of the evaluation and inspection to the abbot or monk. Improving and taking appropriate actions, developing personnel, creating interesting tourist attractions Bringing in technology to help Balancing the roles and duties of the abbot and monks and support for the education and development of monks

3. Efficiency model for temple management in cultural tourism of the Sangha Phra Nakhon Si Ayutthaya Province found that 1) mainly advertising and publicizing activities of the Sangha and temples Focus on public relations “Soft Power” has marketing promotion activities during the festival. There are signs showing directions and GPS coordinates. 2) Personnel management. Most of them were villagers and monks and novices. Received training to have knowledge about tourist attractions. Should have a service mind The community is drawn to participate. 3) Service aspect Arrange lecturers to provide knowledge to those interested Provide information about tourist attractions with politeness, clean bathrooms, and convenient parking. enough trash cans There are souvenirs at reasonable prices. There are beautiful photography spots. 4) Security. Supported by government officials and volunteers There are CCTV cameras and a first aid point. There is training and security drills. 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ