โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แนวทางการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครเชิงพุทธบูรณาการ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Guideline to the Media Literacy of Social Media for Working Citizens in Bangkok based on the Buddhist Integration
  • ผู้วิจัยนางสาวอุรารัตน์ ไชยรังษี
  • ที่ปรึกษา 1พระเทพวัชราจารย์, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ตวงเพชร สมศรี
  • วันสำเร็จการศึกษา07/10/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50339
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 78

บทคัดย่อภาษาไทย

      ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อดังนี้ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของสื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบันของสังคมไทย (2) เพื่อศึกษาหลักความรู้และหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ และ (3) เพื่อนำเสนอแนวทางการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครเชิงพุทธบูรณาการ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัญหาของสื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบัน ได้แก่ การหลอกลวง การทะเลาะวิวาท การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ การเสพข่าวลวง เป็นต้น ซึ่งล้วนเกิดจากกิเลส ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่ตนเอง บุคคลอื่น และสังคม

     หลักพุทธธรรมที่จะนำมาบูรณาการนั้นจะเป็นหลักที่สามารถนำมาปฏิบัติใช้เป็นเครื่องมือติดตัวสำหรับทำให้เกิดปัญญา เกิดความเฉลียวฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบอันจะนำมาซึ่งความถูกต้อง ทำให้เกิดปัญญาในการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องอาศัยหลักพุทธธรรม ได้แก่ 1) หลักสติสัมปชัญญะ 2) หลักกาลามสูตร 3) หลักโยนิโสมนสิการ และ 4) หลักสัปปุริสธรรม 

     สำหรับแนวทางการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์นั้นมีอยู่ 3 วิธี คือ 1) วิธีการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ส่งสาร 2) วิธีการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเนื้อหา และ 3) วิธีการการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของผู้รับสาร ซึ่งทั้ง 3 วิธีนี้ต้องนำมาบูรณาการกับหลักพุทธธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ในการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ คือการมีสติในการใช้สื่ออย่างระมัดระวัง อย่าเชื่อง่าย ไตร่ตรองด้วยเหตุผล และรู้จักการใช้งานให้เหมาะสม ตามหลักองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย “SKYS” (สกายเอส) = EFFECTIVE SOCIAL MEDIA LITERACY MODEL โดยที่ “S” (Sati-Sampajañña) คือ สติสัมปชัญญะ “K”(Kālāma Sutta) คือ กาลามสูตร “Y” (Yonisomanasikāra) คือ โยนิโสมนสิการ และ“S”(Sappurisadhamma) คือ สัปปุริสธรรม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This dissertation has the following three objectives: (1) To study the problem of social media in Thai society. (2) To study the principles of knowledge and the Buddhist principles related to social media literacy. (3) To present knowledge and guidelines for social media literacy among working people in Bangkok using the Buddhist integration. Which is the qualitative research. There was an in-depth interview for collecting the research data.The research results found that the current problems of social media are the deception, quarrel, cyberbullying, Fake News, etc. These problems are caused by 3 main desires: greed, anger, and delusion, which lead to damage to oneself, other people, and society.

The Buddhist principles that will be integrated into social media literacy. It will be a principle that can be practiced as a tool for creating wisdom. Born of intelligence have the wit and intelligence that will lead to accuracy. This creates effective social media literacy. It must rely on the principles of Buddhism to be integrated, including 1) Principles of Sati-Sampajañña (Mindfulness and Awareness), 2) Principles of Kālāma Sutta, 3) Principles of Yonisomanasikāra and 4) Principles of Sappurisadhamma.

As for the social media literacy guideline, there are 3 methods: 1) the sender of messages's social media literacy method, 2) the content of messages 's social media literacy method, and 3) the receiver of messages’s social media literacy method. of These 3 methods must be integrated with the Buddhist principles in order to create knowledge in being aware of social media with mindfulness, what ought not to be believed in social media, reasonable realizing and thinking of social media and proper using management of social media according to the principle of "SKYS"= EFFECTIVE SOCIAL MEDIA LITERACY MODEL" S” (Sati-Sampajañña) is consciousness. “K” (Kālāma Sutta) is Kalama Sutta. “Y” (Yonisomanasikāra) is Yonisomanasikara and “S”(Sappurisadhamma) is Sappurisadhamma.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ