-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์หลักพละธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการจักรยานสาธารณะของกรุงเทพมหานคร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBala-Dhamma Application for Effectiveness Enhancement of Public Bicycle Project Management of Bangkok Metropolitan
- ผู้วิจัยทพญ.จุไรภรณ์ วิจักขณวงศ์
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
- วันสำเร็จการศึกษา20/09/2566
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50345
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 84
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการจักรยานสาธารณะของกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการจักรยานสาธารณะของกรุงเทพมหานคร และ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการจักรยานสาธารณะของกรุงเทพมหานคร โดยประยุกต์หลักพละธรรม ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 380 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้หลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการจักรยานสาธารณะ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยเรียงลำดับดังนี้ 1) ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ โดยมีกิจกรรมใหม่ๆ มาคอยไว้บริการประชาชน ซ่อมบำรุงจักรยานที่ชำรุดเพื่อให้นำกลับมาใช้งานได้ 2) ประสิทธิภาพ โดยมีการแก้ปัญหาได้ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า เป็นไปตามมาตรฐานสากล 3) ความพึงพอใจ โดยเป็นการแก้ปัญหาการจราจร เป็นประโยชน์และเหมาะสมกับการจราจรในกรุงเทพฯ 4) การปรับเปลี่ยน โดยเพิ่มช่องทางจักรยานให้สามารถใช้งานได้คล่องตัว มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเพื่อให้เหมาะสมกับการจราจร และ 5) การพัฒนา โดยมีการจัดหาเทคโนโลยีด้านการปั่น มีการประสานงานกับหน่วยงานอื่นและกรุงเทพฯ เพื่อจัดการจราจรให้รวดเร็วและปลอดภัย ตามลำดับ
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการจักรยานสาธารณะของกรุงเทพมหานคร พบว่า 1) วงจรการบริหารงานคุณภาพ เรียงลำดับตามสมการคือ การปฏิบัติ การวางแผน การปรับปรุงแก้ไข การตรวจสอบ ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการจักรยานสาธารณะเพื่อเชื่อมต่อกับการบริการขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการจักรยานสาธารณะเพื่อเชื่อมต่อกับการบริการขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 41.4 (Adjusted R2=.414) 2) หลักพละ 4 เรียงลำดับตามสมการคือ สังคหพละ (กำลังการสงเคราะห์) วิริยะพละ (กำลังความเพียร) ปัญญาพละ (กำลังความรู้) อนวัชชพละ (กำลังความสุจริต) ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการจักรยานสาธารณะเพื่อเชื่อมต่อกับการบริการขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการจักรยานสาธารณะเพื่อเชื่อมต่อกับการบริการขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 53.0 (Adjusted R2=.530)
3. รูปแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการจักรยานสาธารณะ ทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) การผลิตหรือผลิตภัณฑ์ โดยมีกิจกรรมใหม่ๆ มาคอยไว้บริการประชาชน 2) ประสิทธิภาพ โดยมีการแก้ปัญหาได้ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า 3) ความพึงพอใจ โดยเป็นการแก้ปัญหาการจราจร เป็นประโยชน์และเหมาะสมกับการจราจรในกรุงเทพฯ 4) การปรับเปลี่ยน โดยเพิ่มช่องทางจักรยานให้สามารถใช้งานได้คล่องตัว มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเพื่อให้เหมาะสมกับการจราจร 5) การพัฒนา โดยมีการจัดหาเทคโนโลยีด้านการปั่น มีการประสานงานกับหน่วยงานอื่นและกรุงเทพฯ เพื่อจัดการจราจรให้รวดเร็วและปลอดภัย โดยนำหลักพละธรรม เข้ามาประยุกต์เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการจักรยานสาธารณะ ประกอบด้วย ปัญญาพละ (กำลังความรู้) วิริยะพละ (กำลังความเพียร) อนวัชชพละ (กำลังความสุจริต) และสังคหพละ (กำลังการสงเคราะห์) มีการเสริมสร้างด้วยวงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบ และการปรับปรุงงาน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this dissertation Were: 1. To study the effectiveness of public bicycle project management of Bangkok Metropolitan Administration, 2. To study the factors affecting the effectiveness of public bicycle projects the management of Bangkok Metropolitan Administration, and 3. To propose a model of the effectiveness of public bicycle project management of Bangkok Metropolitan Administration by applying Bala-dhamma, conducted by the mixed research methods. The quantitative research, data were collected from 380 samples, analyzed by descriptive statistics; frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis using statistical package. The qualitative research, data were collected by in-depth interviewing. 18 key informants and 9 participants in focus group discussion specific to confirm knowledge after data synthesis.
Findings were as follows:
1. Effectiveness of public bicycle project management was found that, by overall, was at a high level. Each aspect was found to be at high level in all aspects in the following order: 1) Production or products, with new activities waiting for the public to be served and repairing defective bicycles so that they can be reused. 2) Efficiency by solving problems accurately, completely, and quickly by using available resources efficiently and meet international standards. 3) Satisfaction by solving traffic problems, useful and suitable for traffic in Bangkok. 4) Modification by increasing the bike lane for flexible use and the route has been adjusted to suit traffic. and 5) development by providing cycling technology; There was coordination with other agencies and Bangkok to manage traffic quickly and safely, respectively.
2. Factors affecting the effectiveness of public bicycle project management of Bangkok Metropolitan Administration were found that: 1) the quality management cycle, consisting of practice, planning, improvement, inspection, affected the effectiveness of public bicycle project management to connect to mass transit services in Bangkok Metropolis with statistically significant level at 0.01, they were able to jointly predict the effectiveness of public bicycle project management to connect to public transportation services in Bangkok Metropolis by 41.4 percent (Adjusted R2=.414). 2) Bala-dhamma 4 consisting of Santabarbara (relief power), Viriya-bala (perseverance power), Panna-bala, (knowledge power), and Anavatcha bala (honesty power). This affected the effectiveness of public bicycle project management to connect to public transportation services in Bangkok Metropolis, together, they were able to predict the effectiveness of public bicycle project management to connect to public transportation services in Bangkok Metropolis by 53.0 percent (Adjusted R2=.530).
3. Model of effectiveness of the public bicycle project management consisted of 5 aspects, namely, 1) production or products with new activities to serve the people, 2) efficiency by solving problems accurately, completely, and quickly with available resources using effectively, 3) Satisfaction by solving traffic problems, useful and suitable for traffic in Bangkok Metropolis, 4) Modification by expanding the bike lane for flexible use. The route has been adjusted to suit traffic. 5) Development by providing spinning technology, coordination with other agencies and Bangkok Metropolitan Administration to manage traffic quickly and safely by applying Bala-dhamma to increase the effectiveness of public bicycle project management, consited of Panna-bala, (knowledge power), Viriya-bala (perseverance power) Anavatcha-Bala (honesty power) and Sangaha-bala (relief, helping power), strengthened with a quality management cycle consisted of Pan, Do, Check, Act that were planning. Performance, monitoring and updating Jobs.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|