โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบูรณาการหลักพุทธจริยธรรมเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Ethics Integration for Promoting the Personnel Working Performance of Lamphun Provincial Administrative Organization Rtment
  • ผู้วิจัยนางสาวณิชาพัฒน์ คำดี
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • วันสำเร็จการศึกษา20/09/2566
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50346
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 129

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน 3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธจริยธรรมเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 159 คน โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย จากประชากรจำนวน 262 คน ซึ่งเป็นบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.954  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการ โดยสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

              ผลการวิจัยพบว่า

             1. การปฏิบัติงานของบุคลากรตามหลักภาวนา 4 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก หลักภาวนา 4 มีการส่งเสริมให้บุคลากรออกกำลังกายอยู่เสมอ ส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติตามระเบียบวินัย ส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการพัฒนาจิตใจอยู่เสมอ และส่งเสริมให้บุคลากรได้พัฒนาปัญญาอย่างต่อเนื่อง ส่วนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บุคลากรได้รับการอบรมในระยะสั้น สร้างกระบวนการเรียนรู้ภายในองค์กร และมีการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรอย่างเนื่อง

             2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน พบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย การฝึกอบรม การศึกษา และการพัฒนา ทุกด้าน ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และสามารถร่วมกันทำนายการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ได้ร้อยละ 75 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 1 หลักภาวนา 4 ประกอบด้วย กายภาวนา สีลภาวนา จิตภาวนา และปัญญาภาวนา ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และสามารถร่วมกันทำนายการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ได้ร้อยละ 71.8  จึงยอมรับสมติฐานที่ 2

             3. การบูรณาการหลักพุทธจริยธรรมเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน พบว่า มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ผลลัพธ์ของงานเพิ่มมากขึ้นทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ บุคลลากรมีศักยภาพในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนได้ บุคลากรสามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายได้ ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม บุคลากรปฏิบัติตนตามระเบียบวินัยขององค์กร บุคลากรมีความอดทนมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน บุคลากรปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล ด้านความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน บุคลากรมีความรู้และความเข้าใจในระบบงานได้เป็นอย่างดี บุคลาการสามารถเรียนรู้กระบวนการทำงานเร็วขึ้น บุคลากรสามารถปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนงานได้ ด้านการบริการเป็นเลิศ ประชาชนได้รับการบริการที่ดี บุคลากรสามารถให้บริการประชาชนได้รวดเร็วขึ้น บุคลาการสามารถให้บริหารได้ตรงตามความต้องการของประชาชน ด้านการทำงานเป็นทีม บุคลากรสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรร่วมกันทำงานให้สำเร็จเร็วขึ้น บุคลากรปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกัน

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this dissertation were: 1. To study the level of personnel working performance of Lamphun provincial administrative organization, 2. To study the factors affecting the personnel working performance of Lamphun provincial administrative organization, 3. To propose Buddhist ethics integration for promoting the personnel working performance of Lamphun provincial administrative organization. Methodology was the mixed methods. The quantitative research, data were collected from 159 samples by simple random sampling, derive from 262 people who were Lamphun provincial administrative organization with 5 rating scale questionnaires that had reliability value at 0.954. The data were analyzed with frequency, percentage, mean, standard deviation and multiple regression. The qualitative research, data were collected from 19 key informants by in-depth-interviewing and from 9 participants in focus group discussion. The data were analyzed by descriptive interpretation.

             Findings were as follows:   

              1. The personnel working performance according to Bhāvanā 4, human resource development and personnel working performance of Lamphun provincial administrative organization in overall was at high level and all aspect also were at high level except the understanding of the organization and work system was moderate. On Bhāvanā 4, there were promoting personnel to exercise regularly, promoting personnel to follow discipline, promoting personnel to always develop their minds and promoting personnel to develop their intelligence continuously. On human resource development, Personnel was trained in short-term, there was creating a learning process within the organization and personnel was developed the knowledge and competence continuously.

             2. The factors affecting the personnel working performance of Lamphun provincial administrative organization found that 1) human resource development included training education and development, all aspects affected the personnel working performance of Lamphun provincial administrative organization at the statistically significant level of 0.01 and together could predict the personnel working performance of Lamphun provincial administrative organization 75 percent, accepting the 1st hypothesis. 2 Bhāvanā 4 included Kāya-bhāvanā, Sīla-bhāvanā, Citta-bhāvanā and Paññā-bhāvanā all aspects affected the personnel working performance of Lamphun provincial administrative organization at the statistically significant level of 0.01 and together could predict the personnel working performance of Lamphun provincial administrative organization 72.8 percent, accepting the 2nd hypothesis.

             3. The integration of Buddhist ethics to promote the personnel working performance of Lamphun Provincial Administrative Organization found that, there were important components as follows: Achievement-oriented, the results of the work increase both quantitatively and qualitatively, personnel had the potential to perform according to the plan and personnel could work to achieve goals, in adherence to correctness and ethics personnel conduct themselves according to organizational discipline, personnel were patient and committed to work, personnel operate according to good governance principles, understanding of organization and work system, personnel had good knowledge and understanding of the work system, personnel could learn work processes faster, personnel could work according to the plan. service excellence, people were well service, personnel could serve people faster, personnel could be managed according to the needs of the people, team work, personnel could work together effectively, personnel work together to complete tasks faster and personnel work in the same direction.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ