-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการจัดการความขัดแย้งของหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ จังหวัดสิงห์บุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษConflict Management Model of the Prototype Five Precepts Village Singburi Province
- ผู้วิจัยพระครูกิตติสารวิสิฐ (วิรัตน์ กิตฺติสาโร)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.อุบลวรรณา ภวกานันท์
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.วิวัฒน์ หามนตรี
- วันสำเร็จการศึกษา02/10/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50348
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 39
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทความขัดแย้งของหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดสิงห์บุรี 2) เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการจัดการความขัดแย้งของหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดสิงห์บุรี 3) เพื่อศึกษารูปแบบของการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการจัดการความขัดแย้งของหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดสิงห์บุรี 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการความขัดแย้งอย่างยั่งยืนของหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดสิงห์บุรี เป็นการศึกษาโดยการใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง จำนวน 96 รูป/คน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงพรรณาและแนวโน้มเข้าสู่สมมุติฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. บริบทความขัดแย้งของหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดสิงห์บุรี พบความขัดแย้งที่สำคัญ 2 ประเภท ได้แก่ 1) ความขัดแย้งภายในตนเอง มีสาเหตุเกิดจาการการลังเลไม่แน่ใจที่จะตัดสินใจได้ และเกิดจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายดี (กุศล) กับความรู้สึกฝ่ายไม่ดี (อกุศล) 2) ความขัดแย้งกันระหว่างบุคคลกับบุคคล มีสาเหตุเกิดจากการแย่งชิงผลประโยชน์หรือการขัดกันทางความคิด
2. รูปแบบและกระบวนการจัดการความขัดแย้งของหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดสิงห์บุรี พบว่า กระบวนการจัดการความขัดแย้ง เป็นแต่เพียงแนวคิดหรือวิธีการหนึ่งที่สามารถนำไปเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเข้าใจ และเลือกเอาแบบที่ดีที่สุด เพื่อเหมาะสมกับสถานการณ์ของความขัดแย้ง เพื่อจะจัดการในความขัดแย้งที่เกิดขึ้นให้เป็นความขัดแย้งที่มีประโยชน์ และลดความขัดแย้งที่ไม่มีโทษ และพบว่าหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ที่เป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดการความขัดแย้ง แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับบุคคล และระดับสังคม
3. รูปแบบของการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการจัดการความขัดแย้งของหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดสิงห์บุรี พบว่าการมีส่วนร่วม เป็นการสร้างโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยผ่านทางกระบวนการส่งเสริม ชักนำ การสนับสนุน ให้เข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้ การริเริ่มในการคิดร่วมกำหนดแนวทางในการพัฒนาร่วมแก้ไข วางแผนปฏิบัติและให้ได้รับข่าวสาร การให้ความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ การร่วมตัดสินใจ ทั้งในขั้นตอนการริเริ่มนโยบาย การจัดทำแผนงาน รวมทั้งการปฏิบัติ อันจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองและให้เกิดประโยชน์
4. การนำเสนอรูปแบบการจัดการความขัดแย้งอย่างยั่งยืนของหมู่บ้านรักษาศีล ๕ จังหวัดสิงห์บุรี พบว่า ความขัดแย้งของหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของจังหวัดสิงห์บุรี เกิดขึ้นในระหว่างบุคคล ส่วนใหญ่มีผลมาจากความแตกต่างของบุคคลในด้านการรับรู้ พื้นฐานการศึกษาและครอบครัว โดยสรุปแล้วสาเหตุเกิดมาจาก 5 ประการนี้ ได้แก่ 1) ความขัดแย้งด้านข้อมูล 2) ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ 3) ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ 4) ความขัดแย้งด้านโครงสร้าง 5) ความขัดแย้งด้านคุณค่าหรือค่านิยม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research are 1) to study the conflict context of the 5 Raksa Precepts Village, Singburi Province. 2) to study the conflict management model and process of the 5 Raksa Precepts Village, Singburi Province. 3) to study the pattern of participation. Network for conflict management of the village of Raksa 5 Precepts, Singburi Province 4) To present a sustainable conflict management model of the village of Raksa Precepts 5, Singburi Province. This is a study using a qualitative research format (Qualitative Research) by specifically interviewing 96 key informants/people and then analyzing the data descriptively and trending into hypotheses.
The research results found that
1. Context of conflict in the village keeping the 5 precepts, Sing Buri Province Two important types of conflict were found: 1) conflict within oneself It is caused by hesitation and uncertainty about making a decision. and arises from conflict between good feelings (kusala) and bad feelings (akusala). 2) Conflict between person and person. It is caused by competing interests or conflicting
ideas.
2. Conflict management model and process of the Five Precepts Raksa Village, Singburi Province. It was found that the conflict management process It is only a concept or method that can be used as a guideline for resolving conflicts. Therefore it is important to understand. and choose the best one to suit the situation of conflict in order to manage conflicts that arise into useful conflicts and reduce unpunished conflicts and found that the principles of Buddhism That is a basic concept in conflict management, divided into 2 levels: the individual level and the social level.
3. Model of network participation in conflict management of the Five Precepts Village, Sing Buri Province found that participation It creates an opportunity for everyone to participate in development. Through the process of promoting, inducing, and supporting people to play a role in learning. Initiatives in joint thinking set guidelines for joint development and solutions.
4. Presentation of a sustainable conflict management model of the village keeping the 5 precepts, Singburi province. It was found that the conflict of the village keeping the 5 precepts of Singburi province Occurs between individuals This is largely influenced by individual differences in perception. Basic education and family In summary, the causes arise from these 5 factors: 1) conflicts in information, 2) conflicts in interests, 3) conflicts in relationships, 4) conflicts in structure, 5) conflicts in values or values.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|