-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ ของวัดที่มีศักยภาพในจังหวัดสิงห์บุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Model of Implementation the National Sangha Health Charter 2017 by the Potential Temples in Singburi Province
- ผู้วิจัยพระครูบวรสาธุวัตร (สุริยา โพธิ์ไกร)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.อุบลวรรณา ภวกานันท์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ปฏิธรรม สำเนียง
- วันสำเร็จการศึกษา24/08/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50349
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 40
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพบริบทการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมของการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 3) ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 ซึ่งทำในวัดที่มีศักยภาพในจังหวัดสิงห์บุรี การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดย การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 56 รูป/คน และการวิจัยเชิงปริมาณใช้การตอบแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 402 รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่า
สภาพบริบทการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 ของวัดที่มีศักยภาพในจังหวัดสิงห์บุรี มีการขับเคลื่อนในทุกหมวด เนื่องจากคณะสงฆ์จังหวัดสิงห์บุรีมำการกำหนดนโยบายและตั้งคณะกรรมการในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 ระดับจังหวัดส่งผลให้มีการขับเคลื่อนครบทั้ง 3 หมวด โดยลักษณะการขับเคลื่อนในเชิงบูรณาการกับงานกิจการพระพุทธศาสนา
การมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 ของวัดที่มีศักยภาพในจังหวัดสิงห์บุรีทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก ด้านพระสงฆ์กับการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักพระธรรมวินัย การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก (x̅ =4.34, S.D.=0.16) โดยพระสงฆ์กับการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักพระธรรมวินัย มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด สำหรับด้านการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติสู่การปฏิบัติ การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก (x =4.29, S.D.=0.32)
รูปแบบของการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 ของวัดที่มีศักยภาพในจังหวัดสิงห์บุรี จำแนกได้ 2 รูปแบบคือ 1) รูปแบบการขับเคลื่อนโดยพระสงฆ์เป็นแกนนำและได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายเป็นอย่างดีตามหลักการทางธรรมนำทางโลก โดยพระสงฆ์เป็นแกนนำและได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายเป็นอย่างดีตามหลักการทางธรรมนำทางโลก ทั้งยังมีฐานทุนจากพระบุรพาจารย์ที่ได้วางเป็นรากฐานไว้ และ 2) เป็นแบบให้ความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย และการขับเคลื่อนนโยบายของภาครัฐ ทั้งมีให้ความสนับสนุนด้านงบประมาณ และสถานที่ ทั้งยังมีการบูรณาการไปกับกิจกรรมคณะสงฆ์อื่นๆ ซึ่งเป็นการส่งเสริมสุขภาพทางอ้อม ใช้วัดเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะจากหน่วยงานรัฐ หรือหน่วยงานราชการที่เป็นกำลังขับเคลื่อนหลัก โดยวัดและพระสงฆ์เข้าไปมีส่วนร่วม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this dissertation are to 1) study the context of the Implementation of the National Sangha Health Charter 2017 2) study the participation in the National Sangha Health Charter 2017 3) analyze the National Sangha Health Charter 2017 implementation models, which was made in potential temples in Sing Buri Province. This research It is an integrated research by qualitative research used data collection through in-depth interviews from 56 person key informants, and quantitative research using questionnaires from 402 person of sample.
A result of this study was found in the following aspects.
The context of implementation the National Sangha Health Charter 2017 of Potential Temples in Sing Buri Province There is a drive in every category. Since the Sing Buri Provincial Sangha has come to formulate policies and set up a committee to drive the National Sangha Health Charter 2017 at the provincial level, resulting in all 3 categories of driving. By the nature of driving in an integrated way with Buddhist affairs.
Participation in implementation the National Sangha Health Charter 2017 act of potential temples in Sing Buri Province in all 3 aspects was at a high level. The aspect of monks and self-care in accordance with the principles of the Vinaya Dharma and discipline participation was at the high level (x̅ = 4.34, S.D. = 0.16). By monks and taking care of their own health according to the principles of the Vinaya Dharma have the highest average. For the propulsion of the National Sangha Health act into practice participation was at a high level (x = 4.29, S.D. = 0.32).
The model of implementation the National Sangha Health Charter 2017 of potential temples in Sing Buri Province can be classified into 2 types: 1) the model driven by the monks as the mainstay and received cooperation from partners. The network is well based on the Dharma principles leading the world. The monks are the leaders and have received good cooperation from the network partners according to the Dharma principles leading the world. It also has a funding base from the previous monk who has laid the foundation and 2) is a model for cooperation with network partners. and driving government policies There is also support in terms of budget and location, and it is also integrated with other Sangha activities. which indirectly promotes health Use the temple as a center for organizing health-promoting activities from government agencies. or government agencies that are the main driving force The temple and monks participated.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|