-
ชื่อเรื่องภาษาไทยวิเคราะห์การลดอุปกิเลสในวัตถูปมสูตร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAnalysis of the Reducing Defilements in the Vatthupama Sutta
- ผู้วิจัยนางสาวนวลนภา ยุคันตพรพงษ์
- ที่ปรึกษา 1พระเทพวัชราจารย์, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระมหาอดิเดช สติวโร, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา06/10/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50351
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 327
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาอุปกิเลสในพระสุตตันตปิฎก 2) เพื่อศึกษาอุปกิเลสและการลดอุปกิเลสในวัตถูปมสูตร 3) เพื่อวิเคราะห์การลดอุปกิเลสในวัตถูปมสูตร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) ด้วยการวิจัยทางด้านเอกสาร (Documentary Research) ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interviews)ร่วมกับการผสานวิธี (Mixed Method)และสังเกตแบบมีส่วนร่วมภาคสนาม (fielded Research)
อุปกิเลสที่ปรากฏในสุตตันตปิฎกนี้มีรวบรวมได้หลายแห่ง ในพระไตรปิฎกเล่มที่12 จำนวน 5 พระสูตรและเล่มที่ 19 จำนวน 1 พระสูตรได้ดังนี้ 1.ธัมมทายาทสูตรแจกแจงอุปกิเลส 14 ประการ, 2.อนังคณสูตร แจกแจงอุปกิเลส 13 ประการ, 3.สัลเลขสูตร รวบรวบอุปกิเลสถึง 42 ประการมีที่ความเหมือนกันในวัตถูปมสูตร 13 ประการ, 4.อลคัททูปมสูตรที่ 2แยกอุปกิเลสเป็น 16 ประการ แต่แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ราคะ โทสะ โมหะ, 5.ปติฏฐิตสูตรแค่ความประมาทที่เป็นอุปกิเลสประการเดียว, 6.ปารังคมสูตรไม่แจกแจงอุปกิเลสแต่เป็นขั้นตอนการขัดเกลากิเลสจากง่ายไปหายากตามลำดับจากการรู้ แยกแยะ ลดละ เลิกจนกำจัดได้ไปตามลำดับ
ผลการวิจัยพบว่าสาระสำคัญกล่าวถึงจิตที่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสกิเลสทั้งหลายที่จรมา เมื่อได้รับการชำระให้บริสุทธิ์ บุคคลก็สามารถทำให้ประภัสสรยิ่งขึ้นอีกได้ ความพยายามในการชำระจิตนั้นย่อมไม่ไร้ผล เมื่อจิตเศร้าหมองความทุกข์เข้าครอบงำ แต่เมื่อค่อยๆขจัดอุปกิเลสออกไปจากจิตย่อมกลับมามีความความสุขได้ พระพุทธได้ตรัสถึงอุปกิเลสทั้ง16ที่เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมองดังนี้
1. อภิชฌาวิสมโลภะ (ความโลภความอยากได้) 2. พยาบาท(ความคิดปองร้ายผู้อื่น) 3. โกธะ (ความโกรธ) 4. อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) 5. มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต 6. ปฬาสะ(ความตีเสมอ) 7. อิสสา(ความริษยา) 8. มัจฉริยะ(ความตระหนี่) 9. มายา(มารยา) 10. สาเถยยะ (ความโอ้อวด) 11. ถัมภะ (ความหัวดื้อ) 12. สารัมภะ (ความแข่งดี) 13. มานะ (ความถือตัว) 14. อติมานะ (ความดูหมิ่นเขา) 15. มทะ (ความมัวเมา) 16. ปมาทะ (ความประมาท) ดังที่พบจากพระสูตรต่างในสุตตันตปิฎก เชื่อมโยงกับการวิเคราะห์การลดอุปกิเลสในวัตถูปมสูตร โดยในค่ายสุขภาพแพทย์วิถีธรรม แทรกอยู่ในทุกกิจกรรมของค่าย พบว่า 1) ผู้ผ่านการอบรมสามารถลดความสุขส่วนตัวลงได้ 2) ผู้เข้าอบรมสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเดิม ๆได้ 3) ทำให้ผู้ผ่านการอบรมสามารถลด ละ เลิก ความโลภ โกรธ หลงแบ่งตามกลุ่มของอุปกิเลส 16 ที่เป็นรากเหง้าของเหตุแห่งทุกข์โรคร้ายและเรื่องร้ายให้มีความผาสุกยั่งยืนยิ่งขึ้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis has 3 objectives: 1) To study the patronage of defilements in the Suttanta Pitaka. 2) To study the patronage of defilements and the consumption of defilements in the Vattupama Sutta. 3) To examine the efficiency of parents consuming the defilements in the Vatupapama Sutta. This research was a qualitative method by using documentary research, in-depth interviews, and participant observations. The results showed that:
The defilements appearing in this Suttanta Pitaka can be collected in many places. In the 12th volume of Tripitaka, 5 suttas and 19th volume, 1 sutra, as follows: 1) Dhammadayā Sutta enumerates the 14 types of defilements, 2) Anangana Sutta enumerates the 13 types of defilements, 3) Sallekha Sutta collects 42 kinds of defilements which have similarities with the 13 Vattupa Suttas, 4) Alkathupama Sutta no. 2. Separate the defilements into 16 types, but divide them into 3 groups: lust, anger, delusion, 5) Patitthita Sutta only carelessness is the only defilement, 6) Parangama Sutta does not enumerate defilements, but it is a step by step in refining defilements from the simplest to the Difficult in order from knowing, distinguishing, reducing, quitting until eliminating in that order.
The results of the research found that the essence refers to the mind that is sad because of all the defilements that come from it. When sanctified A person can make it even more bright. Efforts to purify the mind are not in vain. When the mind is depressed, suffering takes over. But when you gradually remove the defilements from the mind, you will be able to return to happiness. The Buddha spoke about the 16 defilements that cause the mind to become depressed as follows: 1. Abhijjāvisamalobha (greed and desire) 2. Wyāpata (thoughts of harming others) 3. Kodha (anger) 4. Upanaha (anger) 5. Makkha (disrespect for oneself) 6. Pālasa (equity) 7. Issā (jealousy) 8. Macchariya (stinginess) 9. Māyā (marāya) 10. Sātheiya (arrogance) 11. Dhambha ( Stubbornness) 12. Sarambha (good competition) 13. Mana (selfishness) 14. Atimāna (disrespect for others) 15. Madha (intoxication) 16. Pamata (carelessness) as found from Various Suttas in the Sutta Pitaka. Linked to the analysis of reduction of defilements in the Sutta material. In the Dhamma medicine health camp Inserted into every activity of the camp, it was found that 1) those who passed the training were able to reduce their personal happiness. 2) those who passed the training were able to change their old daily living habits. 3) those who passed the training were able to reduce, stop, and quit. Greed, anger, and delusion are divided according to the group of 16 vices that are the root causes of suffering, disease, and misfortune for more lasting happiness.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|