-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์หลักภาวนา ๔ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe 4 Principle of Bhấvanấ Integration for Developing The Quality of Work Life for Officials in The Secretariat of The Senate
- ผู้วิจัยนายนัฐพล บุญสอน
- ที่ปรึกษา 1ศ. ดร.บุญทัน ดอกไธสง
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.พิเชฐ ทั่งโต
- วันสำเร็จการศึกษา02/10/2566
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50354
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 167
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และ 3. เพื่อนำเสนอการประยุกต์หลักภาวนา 4 เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.896 เก็บข้อมูลจาก
กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา จำนวน 301 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคนแบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้หลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา พบว่า ทั้ง 8 ด้าน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยพบผลการศึกษา คือ
1) ลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม 2) ประชาธิปไตยในองค์กร 3) การพัฒนาความสามารถของบุคคล 4) การบูรณาการทางสังคม 5) สภาพแวดล้อมในการทำงาน 6) ความมั่นคงและความก้าวหน้า
ในงาน 7) ความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว และ 8) ค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ตามลำดับนอกจากนี้ คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ยังประกอบด้วย การที่บุคลากรได้รับเงินเดือนและค่าตอบแทนที่เป็นธรรมมีเหลือพอเก็บเป็นเงินออม สถานที่ปฏิบัติงานมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สะดวกสบาย เอื้อต่อการทำงาน มีที่จอดรถ
ที่เพียงพอ การเลื่อนตำแหน่ง และโอกาสเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานตามสายงานมีความเที่ยงธรรม องค์กรให้ความสนใจ ให้โอกาส และสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาทักษะและความรู้ความสามารถของบุคลากร ส่งเสริมให้ทุกคนรู้สึกมีส่วนร่วม รู้สึกผูกพันกับองค์กรและเพื่อนร่วมงาน นำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งความผาสุก บุคลากรจัดสรรความสมดุลระหว่างการทำงานและกิจกรรมในชีวิตส่วนตัวให้เกิดขึ้นจริงได้ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขับเคลื่อนเครือข่ายความร่วมมือพหุภาคีกับสังคมภายนอก และจัดกิจกรรมสังคมสงเคราะห์และจิตอาสาเพื่อสังคมและส่งเสริมให้บุคลากรมีความรับผิดชอบต่อสังคม
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา พบว่า 1) ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา มี 4 ด้าน คือ ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านความสำเร็จในชีวิตการทำงาน ด้านการบังคับบัญชา และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีตัวแปร 1 ด้าน ที่ไม่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา คือ ด้านลักษณะงาน โดยร่วมกันทำนาย
ได้ร้อยละ 58.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01, .01, .05 และ .05 ตามลำดับ 2) ด้านหลักภาวนา 4 ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา มี 2 ด้าน คือ ด้านกายภาวนา การพัฒนากาย และด้านจิตภาวนา การพัฒนาจิต มีตัวแปร 2 ด้าน ที่ไม่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา คือ ด้านสีลภาวนา การพัฒนาความประพฤติ และด้านปัญญาภาวนา การพัฒนาปัญญา โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 41.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. การประยุกต์หลักภาวนา 4 เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา โดยการบูรณาการให้สอดคล้องกับปัจจัยด้านการปฏิบัติงานที่ส่งผล
ต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงาน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านความสำเร็จในชีวิต
การทำงาน ด้านการบังคับบัญชา และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และประยุกต์หลักภาวนา 4
ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงาน 2 ด้าน คือ ด้านกายภาวนา การพัฒนากาย และด้านจิตภาวนา การพัฒนาจิต ดังนี้ 1) กายภาวนา การพัฒนากาย คือ ส่งเสริมให้บุคลากรออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
2) จิตภาวนา การพัฒนาจิต คือ ส่งเสริมให้บุคลากรมีความอดทนต่อแรงกดดันและรู้จักบริหารความเครียดที่เกิดจากการปฏิบัติงาน และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาจิต ฝึกสวดมนต์ ฝึกสมาธิ ฝึกวิปัสสนากรรมฐาน ฝึกโยนิโสมนสิการ (การคิดโดยละเอียดรอบคอบ)
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this dissertation are as follows: 1) To study the quality of life at work of officers in the Secretariat of the Senate; 2) To study important factors that might affect the quality of life at work of officers in the Secretariat of the Senate; 3) To present the ways to practice the 4 Principles of Bhấvanấ at work in order to promote the quality of life at work of officers in the Secretariat of the Senate by using integrated two methods, quantitative and qualitative methods. For the quantitative method, the questionnaires were launched and collected from 301 officers with the levels of reliability of 0.896. Data were analyzed by frequencies, percentages, means, and standard deviations based on multiple regression analysis. For the qualitative method, an in-depth interview has been used with 18 monks/people. Data were collected and analyzed by descriptive content analysis and 9 people have been selected to do a group discussion to reconfirm the accuracy of the process data.
The findings of the research were as follows:
1. Quality of life at work in the Secretariat of the Senate has been satisfied in the 8 areas as follows: 1) Value of work (which is highly beneficial to the society)
2) Practice of democracy in the organization 3) Individual development and capability
4) Social integration 5) Working environment 6) Stability and work progress 7) Work-life balance and 8) Salary and compensation respectively. In addition, the quality of life at work in the Secretariat of the Senate is also based on other subjects such as whether employees are able to receive a salary and compensation that is fair and sufficient for savings. In the workplace, the safety of life and property is ensured, convenience for work is provided, and there is ample parking space. There are opportunities for career advancement and growth within the organization, and fairness is maintained in job-related matters. Moreover, the organization should show that it is ready to provide opportunities, and motivation to their employees to help them develop their skills and knowledge. This fosters a sense of inclusiveness and commitment among all employees, leading to a harmonious organization. The organization also allocates a balance between work and personal life activities, promoting a work-life balance. It organizes activities to promote cooperation with external stakeholders and engage in social welfare and volunteer activities to contribute to society, encouraging employees to take social responsibility.
2. Factors affecting the quality of life at work in the Secretariat of the Senate were found as follows: 1) Work-related factors influencing the quality of life at work in the Secretariat of the Senate consist of four dimensions: policy and management, success in work-life, authority and command, and interpersonal relationships. There was one variable, job characteristics, that did not have a significant impact on the quality of life at work in the Secretariat of the Senate. In addition, they predicted statistical significance at the levels of 0.01, 0.01, 0.05, and 0.05, respectively, with a cumulative prediction of 58.5%. 2) 4 Principles of Bhấvanấ affecting the quality of life at work in the Secretariat of the Senate consist of two dimensions: Kaya-bhấvanấ (physical development) and Citta-bhấvanấ (mental development). There were two variables, Sila-bhấvanấ (physical appearance development), and Pannấ-bhấvanấ (intelligence development), which did not have a significant impact on the quality of life at work in the Secretariat of the Senate. In addition, they predicted with statistical significance at the level of 0.01, with a cumulative prediction of 41.0%.
3. The application of the 4 Principles of Bhấvanấ to promote the quality of life at work in the Secretariat of the Senate, in alignment with the work-related factors that influence the quality of life in the workplace in 4 dimensions as follows: policy and management, success in work-life, authority and command, and interpersonal relationships and the application of the 4 Principles of Bhấvanấ that affects the quality of life in the workplace in 2 dimensions: Kaya-bhấvanấ (physical development) and Citta-bhấvanấ (mental development), which can be described as follows: 1) Kaya-bhấvanấ: Encouraging employees to engage in regular physical exercise to maintain good physical health and efficiency in performing their duties. 2) Citta-bhấvanấ: Promoting mental resilience and stress management is crucial and promote the understanding of mind development, practicing chanting, meditation, Vipassana meditation and practicing Yonisomanasikaấra (detailed and careful thinking).
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|