โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ป่าจำปีสิรินธรและเมืองโบราณซับจำปา จังหวัดลพบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhadhamma Integration for Ecotourism Management at Jumpee Sirinthorn Forest and Subjumpa Ancient City in Lopburi Province
  • ผู้วิจัยนายบรรเจิด ถมปัด
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.พิเชฐ ทั่งโต
  • ที่ปรึกษา 2ศ. ดร.บุญทัน ดอกไธสง
  • วันสำเร็จการศึกษา07/10/2566
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50355
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 52

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้วัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ป่าจำปีสิรินธรและเมืองโบราณซับจำปา จังหวัดลพบุรี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ป่าจำปีสิรินธรและเมืองโบราณซับจำปา จังหวัดลพบุรี และ 3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ป่าจำปีสิรินธรและเมืองโบราณซับจำปา จังหวัดลพบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณโดยแจกแบบสอบถามกับประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่อยู่รอบ ๆ พื้นที่ป่าจำปีสิรินธรและเมืองโบราณซับจำปา จังหวัดลพบุรี จำนานกลุ่มตัวอย่าง 393 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.956 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

1. การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ป่าจำปีสิรินธรและเมืองโบราณซับจำปา จังหวัดลพบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน คือ ด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งและภูมิคุ้มกันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย  ด้านการส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ด้านการยกระดับประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว และด้านการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพสูง พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน

2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ป่าจำปีสิรินธรและเมืองโบราณซับจำปา จังหวัดลพบุรี ได้แก่ 1) การส่งเสริมการท่องเที่ยวส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ป่าจำปีสิรินธรและเมืองโบราณซับจำปา จังหวัดลพบุรี มี 3 ด้าน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการเข้าถึง และด้านสิ่งดึงดูดใจ ตามลำดับ และ 2) หลักปริหานิยธรรม 7 ที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ป่าจำปีสิรินธรและเมืองโบราณซับจำปา จังหวัดลพบุรี มี 4 ด้าน โดยตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จำนวน 2 ตัวแปร เรียงตามลำดับ คือ ให้การดูแลเอาใจใส่แก่ผู้มาเยือน และพร้อมเพรียงกันประชุม สำหรับตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 2 ตัวแปร เรียงตามลำดับ คือ เคารพสิทธิมนุษยชน และหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์

3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ป่าจำปีสิรินธรและเมืองโบราณซับจำปา จังหวัดลพบุรี โดยการนำปัจจัยการส่งเสริมการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 1) ด้านสิ่งดึงดูดใจ 2) ด้านกิจกรรม 3) ด้านการเข้าถึง 4) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และ 5) ด้านที่พัก รวมกับหลักพุทธธรรม คือ หลักอปริหานิยธรรม 7  ประกอบด้วย 1) ด้านหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ 2) ด้านพร้อมเพรียงกันประชุม 3) ด้านการไม่ตั้งกฎระเบียบตามที่ขัดต่อระเบียบเดิม 4) ด้านให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้ใหญ่ 5) ด้านเคารพสิทธิมนุษยชน 6) ด้านการให้ความเคารพสถานที่ และ 7) ด้านให้การดูแลเอาใจใส่แก่ผู้มาเยือน เพื่อทำให้เกิดการการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ป่าจำปีสิรินธรและเมืองโบราณซับจำปา จังหวัดลพบุรี

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this dissertation were: 1. To study the management of ecotourism at the Champi Sirindhorn Forest and Sapchampa Ancient City, Lopburi Province, 2. To study the factors affecting ecotourism management at the Champi Sirindhorn Forest and Sapchampa Ancient City, Lopburi Province, and 3. To propose the Buddhadharma integration for ecotourism management at the Champi Sirindhorn Forest and Sapchampa Ancient City, Lopburi Province, conducted by the mixed research methods. The quantitative research, by distributing questionnaires to people aged 18 and over, who were voters around the area. Samples of 393 people were sampled in a spatial manner, derived from the population of 20,525. persons The data collection tool was a 5-level rating scale questionnaire with a total reliability value of 0.956. The qualitative research, data were collected by in-depth-interviewing 18 key informants. and 9 participants in focus group discussion and data were analyzed by content  descriptive interpretation.

Findings were as follows:

1. Ecotourism management at the Champi Sirindhorn Forest and Sapchampa Ancient City, Lopburi Province.by overall, was at high level . Each aspect, sorted by by means, the results of the study were found that the aspect of strengthening and immunizing by the Thai tourism industry was at high level. Promotion of sustainable tourism development was at high level. Enhancing the tourism experience was at high level, and developing the fundamentals of the tourism industry to be of high quality was at high level, respectively.

2 . Factors affecting ecotourism management at the Champi Sirindhorn Forest and Sapchampa Ancient City, Lopburi Province, were found that; 1) Tourism promotion affected ecotourism management at the area by 3 aspects, with statistically significant level at 0.01,namely, facilities, accessability, and attraction, respectively. 2) The Aparihaniyadhamma 7 affected the ecotourism management at  the Champi Sirindhorn Forest and Sap Champa Ancient City, Lopburi Province in 4 aspects, with 2 statistically significant variables at the level of 0.01, in following order: providing care to visitors and meeting in unison. For two statistically significant variables at the level of 0.05 were human rights respect and regular meetings.

3. Buddhadharma Integration for ecotourism management at Champi Sirindhorn Forest and Sapchampa Ancient City, Lopburi Province Iwas found that there were 2 fundamental factors, namely, tourism promotion elements, which consisted of 1) attractions, 2) activities, 3) accessibility, 4) facilities, and 5) accommodations by integrating Aparihaniya-dhamma, consisted of 1) Regular meeting, 2) Meeting in unison, 3) Not to issue the new rules that were against the well-established ones, 4) Respect and listen to the opinions of the elders, 5) Respect for human rights, 6) Respect for the places, and 7) Care for visitors.These two elements would lead to the ecotourism management at area to lead the organization towards the goal that was the  development of efficient and sustainable ecotourism management.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ