-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhadhamma Application for Community Tourism Integrated Promotion of Local Administrative Organizations in Songkhla Province
- ผู้วิจัยนางสาวภัคชุดา พูนสุวรรณ
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.วัชรินทร์ ชาญศิลป์
- วันสำเร็จการศึกษา07/10/2566
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50357
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 133
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา 3. เพื่อนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 395 คน โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.927 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านได้แก่ การเชื่อมโยงผลประโยชน์การท่องเที่ยวให้กับชุมชนต่าง ๆ การบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีประสิทธิภาพ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ตามลำดับ และการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า 1) การเชื่อมโยงผลประโยชน์การท่องเที่ยวให้กับชุมชนต่าง ๆ ได้แก่ ส่งเสริมการรวมกลุ่มระหว่างชุมชนท่องเที่ยวด้วยกัน ส่งเสริมธุรกิจท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชน 2) การบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีประสิทธิภาพ ชุนชนมีบทบาทหลักและสำคัญในการบริหารจัดการ การมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน 3) การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ การออกแบบกิจกรรมทางการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน การสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยว
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย 1. การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว พบว่า การส่งเสริมให้ประชาชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์ การกำหนดวิธีการบริหารจัดการ ส่งผลต่อการท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่า การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว สามารถร่วมกันทำนายการท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา ได้ร้อยละ 27.6 2. หลักสัปปายะ 4 พบว่า อาหารสัปปายะ อาหารเหมาะสม ปุคคลสัปปายะ บุคคลเหมาะสม ส่งผลต่อการท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ ธรรมสัปปายะ การพูดคุยเหมาะสม ส่งผลต่อการท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่ามี 1 ตัวแปรที่ไม่ส่งผลต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา นั่นคือ อาวาสสัปปายะ สถานที่เหมาะสม แสดงว่า หลักสัปปายะ 4 สามารถร่วมกันทำนายการท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา ได้ร้อยละ 23.1
3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา พบว่า 1. การบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีประสิทธิภาพ โดยชุมชนเข้าใจกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ชุมชนเข้มแข็งและสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ทำให้เกิดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง ชุนชนมีบทบาทหลักและสำคัญในการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน 2. การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยมีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ นำอัตลักษณ์เฉพาะที่แสดงถึงรากเหง้าและความจริงแท้ของชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ถูกพัฒนาและต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว การออกแบบกิจกรรมทางการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในกิจกรรมการท่องเที่ยว 3. การเชื่อมโยงผลประโยชน์การท่องเที่ยวให้กับชุมชนต่าง ๆ โดยส่งเสริมและกระตุ้นการอนุรักษ์ สืบทอดทรัพยากรทั้งทางธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ยั่งยืน ส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยวในเชิงเศรษฐกิจชุมชน รวมถึงส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น การรวมกลุ่มอาชีพระหว่างชุมชนท่องเที่ยวด้วยกัน และธุรกิจท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชน โดยประยุกต์กับหัวใจกลยุทธ์การท่องเที่ยว (หลักสัปปายะ 4) เพื่อนำมาสู่การท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการ คือ อาวาสสัปปายะ: สถานที่โดนใจ สภาพแวดล้อมดี อาหารสัปปายะ: อาหารอร่อยถูกใจ สุขกายสบายใจ ธรรมสัปปายะ: การพูดคุยอย่างใส่ใจ สื่อสารอย่างถูกต้อง ปุคคลสัปปายะ: ผู้คนเป็นมิตร เต็มใจให้บริการ และมีการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ทั้ง 4 ด้าน เป็นพื้นฐานในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลาให้ประสบความสำเร็จ คือ การกำหนดวิธีการบริหารจัดการ การบริหารงานบุคคล การส่งเสริมให้ประชาชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์ และการจัดหาและใช้จ่ายงบประมาณ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Administrative Organizations in Songkhla Province, 2. To study factors affecting integrated community tourism of Local Administrative Organizations in Songkhla Province 3. To propose Buddhadharma application for promoting integrated community tourism of Local Administrative Organizations in Songkhla Province, conducted by the mixed research methods. The quantitative research, data were collected from 395 samples using questionnaires with a total reliability value at 0.927. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and multiple regression analysis. The qualitative research, data were collected from 18 key informants and 9 participants in focus group discussion and analyzed by content descriptive interpretation.
Findings were as follows:
1. Integrated community tourism of Local Administrative Organizations in Songkhla Province was found, by overall, at a high level with the mean of 4.17. When considering each aspect, it was found at a high level in all aspects, namely, linking tourism benefits to communities, effective community-based tourism management, creative tourism, respectively. The qualitative research was found that: 1) linking tourism benefits to communities. This included promoting the integration of tourism communities together, promoting local businesses related to community tourism, 2) Effective community-based tourism management; The communities played important roles in management, participation of network partners in community tourism promotion, 3) Creative tourism; namely, designing tourism activities in accordance with the community context, creating travel experiences for tourists
2. Factors affecting integrated community tourism of Local Administrative Organizations in Songkhla Province consisted of; 1)Tourist attractions management was found that encouraging local people to participate and benefit.The process of management affected the integrated community tourism of Local Administrative Organizations in Songkhla Province with statistically significant level at 0.01 indicating that tourist attraction management was able to jointly predict integrated community tourism of Local Administrative Organizations in Songkhla Province by 27.6 percent. 2). Sappãya 4 principle was found that Ăhăra-sappăya, proper foods, Puggala-sappăya, proper personnel and Dhamma-sappăya, proper discourses affected the integrated community tourism of Local Administrative Organizations in Songkhla Province with statistically significant level at 0.01 and 0.05, indicating that Sappăya 4 principle could jointly predict the integrated community tourism of Local Administrative Organizations in Songkhla Province by 23.1 percent.
3. Buddhadharma application for promoting Integrated community tourism of Local Administrative Organizations in Songkhla Province was found that 1) Effective community-based tourism management; The community understood sustainable environmental management, strong community and local culture. The community played an important role in the management and participation of network partners in promoting community tourism. 2) Creative tourism by publicizing to promote creative tourism, bring out a unique identity that represented the roots and authenticity of the community. Local wisdom was developed and expanded into tourism products. Designing tourism activities in accordance with the community context and promoting community participation in tourism activities 3) Linking tourism benefits to communities by promoting and stimulating conservation and sustainable inheritance of local natural, social and cultural resources by romoting and stimulating tourism in the local economy, as well as promoting better quality of life for people in the community, combining occupational groups between tourism communities and local businesses related to community tourism by applying them to the heart of the tourism strategy (Sappăya 4 principle) to lead to integrated community tourism, namely, Ăwăsa-sappăya; attractive places with good environment. Ăhăra-sappăya; Favorite food, delicious food, physical happiness, mental release. Dharma-sappăya, talking attentively, communicating correctly Pukkala-sappaya: friendly people, willing to serve and manage tourist attractions in all 4 aspects as the base for promoting integrated community tourism of Local Administrative Organizations in Songkhla Province successfully by setting the management methods, Personnel management, encouraging local people to participate inbenefit sharing, allocating and spending budgets.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|