-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการ โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhadhamma Integration for The Management Development of The State Welfare Registration Program
- ผู้วิจัยนายพงศ์นคร โภชากรณ์
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
- ที่ปรึกษา 2ศ. ดร.บุญทัน ดอกไธสง
- วันสำเร็จการศึกษา02/10/2566
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50358
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 94
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ 3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.988 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ในการบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 372 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์
การถดถอยแบบขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน
18 รูปหรือคนแบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ประกอบด้วย ด้านความแม่นยำในการคัดกรองผู้มีรายได้น้อยตามคุณสมบัติที่กำหนด ด้านการปรับปรุงฐานข้อมูลผู้มีรายได้น้อยให้เป็นปัจจุบัน และด้านประสิทธิภาพในการจัดสรรสวัสดิการให้แก่ผู้มีรายได้น้อย พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ พบว่า
1) หลักการบริหารจัดการตามหลัก 7S ของบริษัท McKinsey ส่งผลต่อการบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ 4 ด้าน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่า หลักการบริหารจัดการตามหลัก 7S ของบริษัท McKinsey สามารถร่วมกันทำนายการบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ได้ร้อยละ 37.7 และ 2) หลักอริยสัจ 4 ที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ 2 ด้าน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่า หลักอริยสัจ 4 สามารถร่วมกันทำนายการบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ
ได้ร้อยละ 24.9
3. การพัฒนาการบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ คือ การนำหลักการบริหารจัดการตามหลัก 7S ของบริษัท McKinsey ได้แก่ 1) ด้านกลยุทธ์ มีการกำหนดภารกิจที่ชัดเจน มีการระบุเป้าประสงค์ที่ชัดเจน 2) ด้านโครงสร้าง มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน มีการแบ่งโครงสร้างตามภารกิจที่ชัดเจน 3) ด้านระบบ มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ มีการวางระบบติดตาม วิเคราะห์ และรายงานผล 4) ด้านรูปแบบ ผู้บริหารมีความเป็นผู้นำในการแก้ปัญหา มีการติดตามความคืบหน้าและอุปสรรค 5) ด้านบุคคล มีการทำงานร่วมกันของบุคลากรที่มีความรู้ มีการอบรมและเสริมทักษะด้านการสื่อสาร 6) ด้านทักษะ มีการใช้ทักษะและความเชี่ยวชาญที่จำเป็น มีการใช้ทักษะที่เหมาะสมกับเนื้องาน 7) ด้านค่านิยมร่วม มีการยึดหลักในการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย มีการให้ความสำคัญกับโครงการสำคัญของรัฐบาล โดยบูรณาการกับหลักอริยสัจ 4
เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ได้แก่ 1) ทุกข์ การแก้ปัญหาจำเป็นต้องศึกษาสภาพของปัญหาให้ลึกซึ้งในทุกมิติ 2) สมุทัย จำเป็นต้องค้นหาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา 3) นิโรธ การเพิ่มความแม่นยำของการคัดกรอง การเพิ่มความทันสมัยของฐานข้อมูล และการเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดสรรสวัสดิการ และ 4) มรรค เป็นแนวปฏิบัติในการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this dissertation were 1. To study the management of The State Welfare Registration Program; 2. To study the factors affecting the management of the state welfare registration program; 3. To present the integration of Buddhist principles for the management of The State Welfare Registration Program. This research conducted by mixed research methods. The quantitative research used a questionnaire with a reliability of 0.988. Collect data from a sample of stakeholders in The State Welfare Registration Program, a total of 372 people were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and Stepwise Regression. Qualitative research used in-depth interviews with 18 key informants or face-to-face. Data were analyzed by descriptive content analysis and 9 participants in focus group. Data were analyzed by content synthesis.
Findings were as follows:
1. The management of The State Welfare Registration Program, by overall, there were at a high level when considering each aspect, consisting of accuracy in screening low-income people according to the specified qualifications, updating the low-income database, and the efficiency of welfare allocation to low-income earners. It was found that it was at a high level in every aspect.
2. Factors affecting the management of The State Welfare Registration Program: 1) McKinsey's 7S management principle affects the management of The State Welfare Registration Program. There are 4 aspects that are significant. Statistics at the 0.01 level showed that the 7S management principles of McKinsey Company could jointly predict the management of The State Welfare Registration Program at 37.7 percent and 2) The 4 Noble Truths that affected the management of The State Welfare Registration Program. There are 2 aspects with statistical significance at the 0.01 level, indicating that the 4 Noble Truths can jointly predict the management of The State Welfare Registration Program at 24.9 percent.
3. The development of the management of The State Welfare Registration Program is the implementation of the management principles according to the 7S principles of McKinsey Company, namely 1) Strategy: There is a clear mission. There is a clear objective. 2) Structure: There is a clear division of responsibilities. There is a clear division of structure according to missions. 3) Systems: information technology is used. 4) System: There is a system for tracking, analyzing and reporting results including progress and obstacles are monitored. 5) Personnel: There is collaboration among knowledgeable personnel. There is training and enhancement of communication skills. 6) Skills: Necessary skills and expertise are used. Skills are used that are suitable for the job. 7) Shared values: There is a principle to help low-income people. Priority is given to key government projects. The 4 Noble Truths were integrated to develop the management of the government welfare registration project, namely: 1) Suffering: In order to solve problems, it was necessary to study the problem in depth in all dimensions. 2) The origin of suffering: Needs to find and analyze the cause of the problem. 3) Cessation of suffering: Increasing the accuracy of screening Database modernization and increasing the efficiency of welfare allocation. 4) The path to cessation of suffering: It is a guideline for achieving the set goals.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|