โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddha-Dharma Integration for Elderly’s Holistic Health Management in Phetchabun Province
  • ผู้วิจัยนายแสนสุริยา รักเสมอ
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.พิเชฐ ทั่งโต
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เติมศักดิ์ ทองอินทร์
  • วันสำเร็จการศึกษา07/10/2566
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50359
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 90

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของ

ผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมชองผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ และ 3. นำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธีประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .94 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุที่กำหนดไว้ในเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเพชรบูรณ์ มีอยู่ 3 โรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 372 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอนและการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้หลังจากการสังเคราะห์ข้อมูลแล้ว

 

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่

ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ประกอบด้วย 1 ด้านการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) ด้านการตรวจสอบ 3 ด้านการปรับปรุง และ 4 ด้านการวางแผน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน และ

สามารถอธิบายองค์ประกอบในแต่ละด้านของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของ

ผู้สูงอายุเพิ่มเติม ได้ดังนี้ ด้านการวางแผน จัดลำดับความสำคัญของงาน กำหนดผู้รับผิดชอบงานจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการบริหารงาน ด้านการปฏิบัติ คือการปฏิบัติงานให้เป็นไปตาม

แผนงานได้อย่างพึงพอใจ บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจอย่างเหมาะสมตามแผนที่วางไว้ มีข้อมูลเพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคติจิตอล ด้านการตรวจสอบคือมีหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุ และมีการติดตามการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ ด้านการปรับปรุงคือ การปรับปรุงแก้ไขงานสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุ ด้วยกระบวนการค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้น นำมาวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น หาวิธีการแนวทางในการป้องกันต่อไป

2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุ พบว่า 1)

กระบวนการบริหารงาน ส่งผลต่อปัจจัยการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัด

เพชรบูรณ์ มี 2 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติ และด้านการปรับปรุง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 1.01

แสดงว่า กระบวนการบริหารงาน ร่วมกันทำนายบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุดังกล่าวได้ร้อยละ 54.5 และ 2) หลักพละ 4 ส่งผลต่อปัจจัยการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ มี 4 ด้าน คือ ด้านปัญญาพละ คือ กำลังความรู้บุคลากรวิเคราะห์สถานการณ์ได้ทันเหตุการณ์ เข้าใจสภาพแวดล้อมได้ดี เจ้าหน้าที่ช่วยกันบริหารงานด้วยดี งานสำเร็จตามเป้าหมาย ด้านวิริยะพละ คือ การสู่การปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยความเอาใจใส่ต่องานอย่างมั่นคง รับผิดชอบต่อหน้าที่ด้วยความขยันหมั่นเพียร ด้านอนวัชชพละ คือ ความซื่อสัตย์สุจริต การทำงานของเจ้าหน้าที่และบุคลากร ต้องมีจริยธรรมมาเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน และต้านสังคหพละ คือ มีจิตอาสาเอาใจใส่ต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของเพื่อนร่วมงาน รวมถึงนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ

3. การบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า โดย

ภาพรวมอยู่ระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านแล้วพบว่า ด้านสุขภาวะทางกาย การดูแลเอาใจใส่ต่อสุขภาพมีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย ด้านสุขภาวะทางสังคม ปัจจัยที่ส่งต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมผู้สูงอายุ ด้านสุขภาวะทางจิตใจ ผลที่เกิดจากการปฏิบัติฝึกอบรมเข้าใจสภาพความเป็นจริงของชีวิต และด้านสุขกาวะทางจิตวิญญาณ การฝึกจิตให้ยึดมั่นอยู่ในคุณธรรม ฝึกปฏิบัติสมาธิจิตให้เข้มแข็ง การส่งเสริมให้นักเรียนผู้สูงอายุสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม สามารถควบคุมอารมณ์และปัจจัยที่สงผลต่อสุขภาพได้อย่างตียิ่ง จากการสุขกาย สุขใจ แก่อย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีคุณภาพ

 

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this dissertation were 1. To study the management of elderly schools of local administrative organizations in Phetchabun Province, 2. To study the factors affecting the management of elderly schools of local administrative organizations in Phetchabun Province, and 3. To present the Buddhadharma integration for the management of elderly schools of local administrative organizations in Phetchabun Province. Methodology was the mixed research methods. The quantitative research was conducted using a questionnaire with a total reliability value of 0.94 to collect data from samples who were elderly school students designated in the district of Phetchabun Local Administrative Organizations from 3 schools, totaling 372 seniors. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and stepwise regression analysis. The qualitative research, data were collected by in-depth interviewing 19 key informants and analyzed by content descriptive interpretation and data were collected from 9 participants in focus group discussion to confirm knowledge after data synthesis.

Findings were as follows:

1.    Factors affecting the management of elderly schools of local.

Administrative organizations in Phetchabun Province, by overall, was at high level. When considering each aspect, consisting of 1) the practical aspect was at a high level, 2) the inspection aspect, 3) the improvement aspect, and 4) the planning aspect were found to be at high  level in all aspects and together could explain the components of factors of each aspect further as, Planning aspect by prioritizing tasks, assigning responsible persons, allocating sufficient budget for management. The Operation aspect; was to perform the work according to the plan satisfactorily. Personnel had appropriate knowledge and understanding as planned. There was enough data to change the world in the digital era. In terms of auditing, there were audit criteria that were necessary to improve the quality of life of elderly school students and regularly monitor their performance. Improvement aspect was the improvement of schoolwork for the elderly by the process of finding problems that arose, analyze the results, find out how to approach further prevention.

2. Factors affecting the management of geriatric schools was found that 1) the management process affects the management factors of geriatric schools of local administrative organizations in Phetchabun Province in 2 aspects, namely practical and improvement, with statistically significant level at 0.01, indicating that the joint management process predicted the management of such elderly schools by 54.5 percent, and 2) Bala 4 principle  affected the factors of integrating the Buddhadharma principles for the management of elderly schools of local administrative organizations in Phetchabun Province in  4 aspects: Panna-bala; power of knowledge; personnel analyzed the situation in a timely manner, sood understanding of the environment, patient operation. The authorities had been working on it continuously with steady attention to work and with responsibility for duties with diligence. Anavajja-bala; honesty. The work of staff and personnel ethics must be  used as a tool for work and Sangha-bala was to volunteer to care for the health and well-being of colleagues, including elderly school students.

3.  Adding data and information on holistic health management of elderly  schools of local administrative  organizations in Phetchabun Province, by overall, was found to be at a high  level. When classified into individual aspects, it was found that physical well-being, taking care of the health with age-appropriate exercise. Social well- being; factors affecting participation in social activities for the elderly. Psychological well-being: the results of the training practice to understand the realities of life and Spiritual well-being, training the mind to adhere to virtue, to practice strong mental meditation, and encourage elderly school students to  adapt to the environment. It is able to control emotions and factors that contributed to health very well, from physical and mental happiness, old age with value and quality.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ