-
ชื่อเรื่องภาษาไทยพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการบริหารงานของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระทรวงอุตสาหกรรม
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Integration for Promoting the Administrative Capacity of the Institute of Development Textile Industry Ministry of Industry
- ผู้วิจัยนางสาวอุสา วงศ์ศิริกุล
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เติมศักดิ์ ทองอินทร์
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
- วันสำเร็จการศึกษา07/10/2566
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50366
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 47
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสมรรถะการบริหารงานของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรม
สิ่งทอ กระทรวงอุตสาหกรรม ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถะการบริหารงานของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระทรวงอุตสาหกรรมและ 3. นำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการบริหารงานของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 1.955 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับบริการจากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระทรวงอุตสาหกรรม จำนวน 244 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคนแบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้หลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะการบริหารงานของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผน ได้แก่ มีการจัดประชุมรายงานความก้าวหน้าของแผนดำเนินงาน วิเคราะห์ปัจจัยทั้งภายในและภายนอกเพื่อสร้างกระบวนการจัดทำแผน เก็บข้อมูล วัดผล และประเมินความสำเร็จตามตัวชี้วัด 2) ด้านการจัดองค์การ ได้แก่ จัดตั้งหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบในแต่ละส่วนของงานที่ชัดเจน การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนการบริหาร ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรเพื่อให้เข้ากับภารกิจงาน 3) ด้านการนำ ได้แก่ สร้างทีมผู้นำที่มีความสามารถและคุณภาพสูง มีการทบทวนและปรับให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลง สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรให้เห็นคุณค่าของงาน 4) ด้านการควบคุม ได้แก่ สร้างระบบการตรวจสอบที่เป็นระบบชัดเจน กำหนดกรอบและเกณฑ์ให้ชัดเจนเพื่อเป็นกลไกสำหรับการปฏิบัติงาน มีการทบทวนและดำเนินการให้ระบบธรรมาภิบาลประสบความสำเร็จ 6 ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถะการบริหารงานของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระทรวงอุตสาหกรรม พบว่า 1) กระบวนการบริหารตามหลัก 7s ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงานของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอกระทรวงอุตสาหกรรม มี 3 ด้าน คือ ด้านโครงสร้าง ด้านทักษะและด้านค่านิยม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 1..1 แสดงว่า ตัวแปรทั้ง 3 ด้านสามารถร่วมกัน
อธิบายความแปรปรวนหรือทำนายสมรรถะการบริหารงานของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร้อยละ 68.10 ตามลำดับ 2) หลักพละ 4 ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงานของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอกระทรวงอุตสาหกรรม มี 2 ด้าน คือ ด้านวิริยะพละ พลังความเพียร และด้านสังคหพละ พลังเกื้อกูล มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ..1 แสดงว่า หลักพละ สามารถร่วมกันทำนายสมรรถนะการบริหารงานของสถาบันพัฒน าอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร้อยละ 80.20 ตามลำดับ
3. สมรรถนะการบริหารงานของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระทรวงอุตสาหกรรมทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านการวางแผน 2. ด้นการจัดองค์การ 3. ด้านการนำ 9. ด้านการควบคุม โดยในสมรรถะการบริหารงานของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระทรวงอุตสาหกรรมมีปัจจัยที่ส่งเสริม คือ กระบวนการบริหารตามหลัก 7 5 บูรณาการกับหลักพละ 4 ดังนี้ 1) ด้านปัญญาพละ พลังปัญญา ได้แก่ สร้างนวัตกรรมและพัฒนาองค์ความรู้ ส่งเสริมให้เกิดการนำ นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงาน ส่งเสริมบุคลากรให้มีการพัฒนาทักษะในการทำงาน 2) ด้านวิริยะพละ พลังความเพียร ได้แก่ ส่งเสริมให้มีความมุ่งมั่นในการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนสร้างแรงจูงใจในการบริหารงาน ฝึกฝนบุคลากรให้อดทน เข้มแข็งในการบริหารงาน 3) ด้านอนวัชชพละ พลังความซื่อตรง ได้แก่ สร้างพื้นฐานการบริหารงานด้วยหลักความสุจริต เป็นตัวอย่างในการบริหารงานที่ดีแก่บุคลากร ส่งสริมความโปร่งใสในการบริหารงานและตรวจสอบได้ 4) ด้านสังคหพละพลังเกื้อกูล ได้แก่ สร้างระบบการทำงานแบบเป็นทีม เสริมสร้างความรัก ความสามัคคีในองค์กร ให้คำปรึกษาและนำวิธีการทำงานที่ดี
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this dissertation were: 1. To study the management competency of the Textile Industry Development Institute, Ministry of Industry 2. To study the factors affecting the management competency of the Textile Industry Development Institute. Ministry of Industry and 3. To propose Buddhist integration for management competency promotion of the Textile Industry Development Institute. Ministry of Industry, conducted by the mixed research methods. The quantitative research used a questionnaire with a total reliability value of 0.955 to collect data from 244 samples who were the service recipients from the Textile Industry Development Institute, Ministry of Industry, analyzed the data using frequency, percentage, average, standard deviation and stepwise regression analysis. The qualitative research, data were collected by face-to-face people in-depth interviewing 18 key informants and from 9 participants in focus group discussion. Data were analyzed by content descriptive interpretation to confirm the knowledge after data synthesis.
Findings were as follows:
1. Management competency of the Textile Industry Development Institute, the Ministry of Industry, by overall, was at moderate level. Consideration of each aspect consisted of 1) Planning, such as, holding meetings to report on the progress of the implernentation plan, analyzing internal and external factors to establish the planning process to collect data, to measure results, and to evaluate success according to indicators. 2) Organizational aspects, such as, establishing a unit responsible for each part of the work clearly, creating a corporate culture that supported managernent, 3) Leadership: build a competent and high-quality leadership team, reviewed, and adapted to changing circumstances. Motivate personnel to value their work. 4) Control: Create a clear systematic audit system, clearly define the framework and criteria as a mechanism for operation. The system is reviewed and implernented to ensure the success of the governance system.
2. Factors affecting the management competency of the Textile Industry Development Institute Ministry of Industry were found that: 1) The management process according to the 7's principle affected the management competency of the Textile Industry Development Institute, Ministry of Industry in 3 aspects: structure, skills and shared values with statistically significant level at 0.01. This indicated that the 3 variables could jointly explain variability or predict the administrative performance of the Textile Industry Development Institute. Ministry of Industry by 68.10 percent, respectively. 2) Bala principles affected the managemnent competency of the Textile Industry Developrent Institute, Ministry of Industry in 2 aspects: Viriya-bala, perseverance power and Sangaha-bala (relief or sharing power). With the statistical significant level of 0.01 showing that the Bala 4 were able to jointly predict the management competency of the Textile Industry Development Institute, Ministry of Industry, by 80.20 percent, respectively.
3. Management competencies of the Textile Industry Development Institute, Ministry of Industry in 4 aspects, which were as follows: 1. Planning 2. Organization 3. Leadership 4. Control in the management competencies of the Textile Industry Development Institute, Ministry of Industry, there are factors that promoted the management process according to the principle of 7's. In addition, it also integrated Bala 4 principles of physical intelligence with the following characteristics: 1) PannG- bala; intelligence, i.e. innovation and knowledge development, encouraging the introduction of innovation and new technologies in operations, encouraging personnel to develop skills in their work, 2) Viriya-bala; perseverance, such as, encouraging commitment to set clear goals. Motivation for management, Train personnel to be patient and strong in management. 3) Anavaijja-bala; power and honesty, for example, building the foundation of management with the principle of integrity as an example of good management for personnel. Promote transparency in administration and accountability and checkability, 4) Sangaha-bala; relief or helping power. Create a teamwork system, strengthen love and harmony in the organization, give advice and apply good working methods.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|