โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษFactors Affecting Public Health Personnel’s Work Performance Efficiency in Mueang District, Samutprakarn Province
  • ผู้วิจัยนายธนุตม์ น้อยพานิช
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.หัฏฐกรณ์ แก่นท้าว
  • วันสำเร็จการศึกษา06/10/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50370
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 261

บทคัดย่อภาษาไทย

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 3. ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการโดย ศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 319 คน ซึ่งเป็นบุคลากรบุคลากรสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ  ด้วยแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.971 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการโดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยกาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า

             1. จากผลการศึกษา พบว่า ระดับหลักอิทธิบาทธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅ = 4.54) เนื่องจาก บุคลากรปฏิบัติงานโดยเน้นฉันทะ (มีใจรักในการงาน) และเน้นวิริยะ (พากเพียรในการทำงาน) ระดับแรงจูงใจในการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  x ̅= 4.24) เนื่องจาก ความรู้และความเข้าใจในการทำงาน และความสัมพันธ์กับบุคคลในที่ทำงาน ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  x ̅= 4.26) เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขเน้น ด้านความรวดเร็วในการทำงาน และด้านคุณภาพงาน

             ๒. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า 1) หลักอิทธิบาทธรรม ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ มีทั้งหมด 3 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  และสามารถร่วมกันทำนายประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ได้ร้อยละ 38.1 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 1 2) แรงจูงใจในการทำงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ มีทั้งหมด 4 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และสามารถร่วมกันทำนายประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ได้ร้อยละ 36.3 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 2

             2. ปัญหา อุปสรรคที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า 1) บุคลากรบางคนขาดความรู้ความเข้าใจในระบบงาน 2) สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ดี มีมลภาวะ 3) บุคลากรบางคนขาดการตรวจสอบกระบวนการทำงาน 4) บุคลากรบางคนขาดความพากเพียรในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด ข้อเสนอแนะ พบว่า 1) ควรส่งเสริมความรู้ ความสามารถของบุคลากรช่วยให้สามารถจัดระบบการทำงาน 2) ควรจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมการทำงาน 3) ควรฝึกให้มีการตรวจสอบกระบวนการทำงานโดยการนำหลักอิทธิบาทธรรมเข้ามาประยุกต์ใช้ 4) ควรส่งเสริมให้บุคลากรใช้หลักอิทธิบาทธรรมมาช่วยส่งเสริมให้เกิดความพากเพียรในการทำงาน เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

         Objectives of this research were: 1. To Study the level of public health personnel’s work performance efficiency in Mueang district, Samutprakarn Province, 2. To study factors affecting public health personnel’s work performance efficiency in Mueang district, Samutprakarn province and 3. To study the problems, obstacles and suggestions of public health personnel’s work performance efficiency in Mueang district, Samutprakarn province. Methodology was mixed methods. The quantitative research conducted by studying 319 samples which were personnels of public health personnel’s work performance efficiency in Mueang district. The data were collected by 5 rating scale questionnaires which were reliability value at 0.971 and analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, multiple regression. The qualitative research conducted by in-depth interviewing 10 key informants. The data were analyzed by content analysis.

Findings were as follows:

             1. The level of Iddhibāda 4 were found, by overall, that were at the highest level (  = 4.54). Because personnel work focus on Chantha (Passion for Work) and Viriyah (Perseverance in Work). The levels of work motivation were found, by overall, that were at the high level (  = 4.24). Because knowledge and understanding of work and relationships in workplace are promoted. The levels of work performance efficiency were found, by overall, that were at the high level (  = 4.26). Because Public Health focus on speed of work and work quality.

                 2. The factors affecting public health personnel’s work performance efficiency in Mueang district, Samutprakarn province were found that; 1) Iddhibāda 4 affected  Public health personnel’s work performance efficiency in 3 aspects with statistically significant level at 0.01 indicating that Iddhibāda 4 together predicted Public health personnel’s work performance efficiency in Mueang District, Samutprakarn Province at 38.1 percent therefore accepted the 1st hypothesis; 2) Work motivation affected  Public health personnel’s work performance efficiency in 4 aspects with statistically significant level at 0.01 indicating that Work motivation predicted Public health personnel’s work performance efficiency in Mueang District, Samutprakarn Province at 36.3 percent therefore accepted the 2nd hypothesis.

          3. The bobbles and obstacles of public health personnel’s work performance efficiency in Mueang district, Samutprakarn province were found that; 1) lacking the work’s knowledge understanding, 2) there were bad working environment and polluted, 3) lacking the work’s process checking and 4) tacking the diligence in working to achieve set goals. Suggestions were; 1) should promote knowledge and abilities building for personnel, 2) should set the appropriate organization environment, 3) should always train the work's process checking with Iddhibāda 4 4) should encourage personnel to be diligent in their work with Iddhibāda 4 for achieve the goals that were specified.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ