โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธธรรมาภิบาลเพื่อส่งเสริมการปกครองท้องที่ในจังหวัดอุทัยธานี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Governance for Promotion In Local Provincial Administration In Uthaithani Province
  • ผู้วิจัยพระครูอุปกิตปริยัติโสภณ (สุข สุมงฺคโล)
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.วัชรินทร์ ชาญศิลป์
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • วันสำเร็จการศึกษา25/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50376
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 185

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการปกครองท้องที่ในจังหวัดอุทัยธานี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปกครองท้องที่ในจังหวัดอุทัยธานี 3. เพื่อเสนอการประยุกต์หลักพุทธรรมาภิบาลเพื่อส่งเสริมการปกครองท้องที่ในจังหวัดอุทัยธานี ดำเนินวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 8 รูปหรือคน และการวิจัยเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.908 เก็บข้อมูลจากตัวอย่าง คือ คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดอุทัยธานี ทั้ง 8 อำเภอ จำนวน 254 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบนมาตรฐาน

         ผลการวิจัยพบว่า

          1. สภาพทั่วไปของการปกครองท้องที่ คือ การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่ส่งเสริมการปกครองท้องที่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านกิจการสาธารณประโยชน์ ลำดับที่สอง คือ ด้านการจัดทำทะเบียน และลำดับที่สาม คือ ด้านที่เกี่ยวด้วยความอาญา ตามลำดับ

2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปกครองท้องที่ในจังหวัดอุทัยธานี สามารถร่วมกันทำนายส่งผลต่อการปกครองท้องที่ในจังหวัดอุทัยธานี ได้ร้อยละ 63.1 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการติดต่อสื่อสารในการปฏิบัติงาน สามารถร่วมกันทำนายการส่งผลต่อการปกครองท้องที่ในจังหวัดอุทัยธานี ได้ร้อยละ 62.8 และหลักพุทธธรรมธรรมาภิบาลส่งผลต่อการปกครองท้องที่ในจังหวัดอุทัยธานี ได้ร้อยละ 80.0 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านกาลัญญุตา รู้จักกาล สามารถร่วมกันทำนายการส่งเสริมการปกครองท้องที่ในจังหวัดอุทัยธานี ได้ร้อยละ 19.4 ด้านอัตตัญญุตา รู้จักตน ได้ร้อยละ22.1 ด้านอัตถัญญุตา รู้จักเหตุผล สามารถร่วมกันทำนายการส่งเสริมการปกครองท้องที่ในจังหวัดอุทัยธานี ได้ร้อยละ 37.3 และด้านธัมมัญญุตา รู้จักเหตุสามารถร่วมกันทำนายการส่งเสริมการปกครองท้องที่ในจังหวัดอุทัยธานี ได้ร้อยละ 18.0

3. การประยุกติ์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ที่ส่งเสริมการปกครองท้องที่ในจังหวัดอุทัยธานี โดยการนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับการบริหารการปกครองท้องที่ เพราะว่าหลักธรรมเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญอย่างยิ่งของผู้นำหรือผู้บริหารของการปกครองท้องที่ ยิ่งมีตำแหน่งสูงมากเท่าไร ยิ่งต้องมีธรรมและคุณธรรมประจำใจที่สูงขึ้น เพื่อเป็นหลักยึดจิตใจในการครองชีวิตทั้งเรื่องส่วนตัวและส่วนรวม โดยเฉพาะการนำเอาหลักสัปปุริสธรรม 7 ประการ ได้แก่ (1) ด้านหลักธัมมัญญุตา คือ รู้หลักการ รู้จักเหตุ รู้งาน ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่จะต้องมีความเสมอภาคมีความเป็นธรรม (2) หลักอัตถัญญุตา คือ รู้จุดหมาย รู้จักผล สนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องที่ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา ชุมชนที่ข้มแข็ง (3) หลักอัตตัญญุตา รู้จักตนเอง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน และเป็นผู้ใฝ่ เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา (4) หลักมัตตัญญุตา คือ รู้จักประมาณ ความพอดีในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสมอภาค สุจริต (5) หลักกาลัญญุตา คือ รู้จักเวลา รู้คุณค่าเวลา การลำดับเวลาให้ สอดคล้องกับกิจกรรมที่ดำเนินไป และผลที่ได้ดำเนินกิจกรรม (6) หลักปริสัญญุตา คือ รู้ชุมชน รู้สังคม แก้ปัญหา การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน (7) หลักปุคคลัญญุตา คือ รู้จักบุคคล แนวทางในการปฏิบัติตนหรือวางตัวให้เหมาะสมตามฐานะทั้งของเราและของผู้อื่นด้วย ดังนั้น ผู้บริหารที่ดีย่อมรู้ บุคคลรู้ภูมิปัญญา รู้ภูมิธรรม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               Objectives of this dissertation were: 1. To study the general condition of local administration in Uthai Thani Province 2. To study factors affecting local provincial administration in Uthai Thani Province 3. To propose a model for applying the Buddhist Governance for promotion in local provincial administration in uthaithani province. conducted by the mixed research methods. The qualitative research, data were collected by in-depth interviewing 18 key informants and from 8 participants in focus group discussion. Data were analyzed by descriptive content interpretation. The quantitative research, data were collected using questionnaires with a total reliability value of 0.908 to collect data from 254 samples who were Sub-District and village head men from 8 Districts in Uthai Thani Province. The data were analyzed by Frequency, Percentage, and Standard Deviation.

               Findings were as follows:

               1. The general condition of local provincial administration was the performance of duties according to the role and duties of the Sub-District and village headmen. who promoted local administration, by overall, was at a high level. When considering each aspect, it was found that every aspect was at high level in order of the mean values from highest to lowest, as follows: public interest affairs, the second was the registration aspect and the third was the aspect related to criminal matters respectively.

               2. Factors affecting the local provincial administration on Uthai Thani Province could together predict the local Provincial administration in Uthai Thani Province by 63.1 percent. Each aspect was found that working communication could together predict the local provincial administration in Uthai Thani Province by 62.8. Buddhist governance affected the local provincial administration in Uthai Thani by 80.0 percent. When considered by aspect, it was found that Kalanyută, knowing time, could together predict the local provincial administration in Uthai Thani Province by 19.4. Attanyută, knowing self by 22.1 percent, Atthanyută, knowing effects, could together predict the local provincial administration in Uthai Thani Province by 37.3 percent, Dhammanyută, knowing cause, together could predict the Promotion In Local provincial Administration In Uthaithani Province by 18.0

               3. Sappurisa-dhamma application for local provincial administration promotion in Uthai Thani Province by applying the principles of Buddhism to local provincial administration because the Dhamma principle is considered a very important body of knowledge of the local provincial administrative executives, the higher position, the higher level of mental morality ones must have to be the anchor for both personal and collective life. Especially the application of Sappurisa dhamma 7, namely, 1) Dhammanyută, knowing cause, principle, works, personnel must perform work with equality and fairness, 2) Atthanyută, knowing result, objectives, encouraging people to participate in local development with strong development and communities, 3) Attanyută, knowing self, with responsibility for duties and eager to learn, 4) Mattanyută, knowing moderation, moderation with duties and honesty, 5) Kăanlanyută, knowing time, knowing the value of time, time schedule to match on-going activities for good results, 6) Parisanyută, knowing community, knowing society, solving problems, participation with state, private and public sectors, 7) Puggalanyută, knowing individuals, knowing how to behave appropriately to own status and status of others. So, good administrators must know individuals, know wisdom and know moral standard.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ