-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhadhamma Application for Promoting People's Election Decision Making in Phatum Thani Province
- ผู้วิจัยนางสาวโปรดปราน เสริญวงศ์สัตย์
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.วัชรินทร์ ชาญศิลป์
- วันสำเร็จการศึกษา29/09/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50388
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 157
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชน ในจังหวัดปทุมธานี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชน ในจังหวัดปทุมธานี และ 3. เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชน ในจังหวัดปทุมธานี ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการจัดสนทนากลุ่มเฉพาะโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ
ผลการวิจัย พบว่า
๑. สภาพทั่วไปของการส่งเสริมการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี ประชาชนให้ความสำคัญกับคุณลักษณะของผู้สมัคร คือ มีคุณสมบัติของความซื่อสัตย์สุจริต การรักษาคำพูด ด้านนโยบายของผู้สมัคร คือ มีนโยบายที่เกิดขึ้นจากการสำรวจปัญหาและความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ด้านพรรคการเมืองที่สังกัด มีนโยบายเพื่อประชาชน เน้นประโยชน์เพื่อประชาชนเป็นที่ตั้ง และด้านความสามารถในการสื่อสารของผู้สมัคร คือ เป็นผู้รู้ มีวาทศิลป์ สื่อสารได้ตรงประเด็น เข้าใจง่าย มีความสร้างสรรค์ ไม่สร้างความขัดแย้ง สร้างความเข้าใจให้ประชาชนได้
๒. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี พบว่า การสื่อสารทางการเมืองที่ส่งผลต่อการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี มี 3 ด้าน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .01 โดยสามารถร่วมกันทำนายการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี ได้ร้อยละ 36.2 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเนื้อหาข่าวสาร สามารถร่วมกันทำนายการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี ได้ร้อยละ 43.3 ด้านผู้รับสารสามารถร่วมกันทำนายการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี ได้ร้อยละ 37.9 และด้านช่องทางการสื่อสาร สามารถร่วมกันทำนายการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี ได้ร้อยละ 17.3 ตามลำดับ ปัจจัยหลักสัปปุริสธรรม 7 ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี มี 4 ด้าน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .05 โดยสามารถร่วมกันทำนายการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี ได้ร้อยละ 51.1 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านมัตตัญญุตา การรู้ประมาณ สามารถร่วมกันทำนายการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี ได้ร้อยละ 54.2 ด้านปริสัญญุตา การรู้จักชุมชน สามารถร่วมกันทำนายการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี ได้ร้อยละ 21.0 ด้านกาลัญญุตา การรู้จักกาล สามารถร่วมกันทำนายการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี ได้ร้อยละ 17.1 และด้านอัตถัญญุตา การรู้จักผล สามารถร่วมกันทำนายการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี ได้ร้อยละ 9.8 ตามลำดับ
๓. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี มีการประยุกต์ดังต่อไปนี้ 1) ด้านธัมมัญญุตา การรู้จักเหตุ เป็นการรู้สาเหตุของปัญหาและความต้องการของประชาชน 2) ด้านอัตถัญญุตา การรู้จักผล เป็นการรู้ผลกระทบจากนโยบาย ทั้งผลดีผลเสีย ผลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ 3) ด้านอัตตัญญุตา การรู้จักตน เป็นการรับรู้และเข้าใจสิทธิ รู้จักหน้าที่ และบทบาทของตัวเองต่อการเป็นกลไกสำคัญของระบบการเมือง 4) ด้านมัตตัญญุตา การรู้ประมาณ เป็นการรู้จักประมาณการในการปฏิบัตินโยบายต่าง ๆ ที่ได้สัญญากับประชาชนให้สำเร็จ 5) ด้านกาลัญญุตา การรู้จักกาล เป็นการวางนโยบายนอกมีกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน 6) ด้านปริสัญญุตา การรู้จักชุมชน เป็นการรู้ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน รู้ปัญหา รู้ความต้องการของชุมชน และ 7) ด้านปุคคสัญญุญา การรู้จักบุคคล เป็นการที่ประชาชนรู้จักสิทธิอันพึงได้จากนโยบายทางการเมือง การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจไปเลือกตั้ง ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ในภาพรวม อยู่ในระดับมากเกือบทุกด้าน โดยมีด้านปุคคสัญญุญา การรู้จักบุคคล อยู่ในระดับปานกลาง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objective of this dissertation aims to 1. study generality of people's election decision making in Phatum Thani province, 2. study the factors affecting people's election decision making in Phatum Thani province, and 3. study the buddhadhamma application for promoting people's election decision making in Phatum Thani province. The research was conducted by mixed method research. The quantitative data were collected 18 key informants by structured interview and focus group discussion with 11 experienced, and analyzed by content analysis technique. The quantitative research data were collected by questionnaire from 400 samples. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and multiple regression analysis.
The research finding revealed that:
1. The generality of people's election decision making in Phatum Thani province. The people value the candidate qualifications with honesty and integrity. The policy with keeping the word In terms of policy, there must be a policy that arises from a true survey of the problems and needs of the people. An affiliated political party that belongs to there is a policy for the people. Focus on benefits for the people. The candidates' communication abilities means being knowledgeable, eloquent, able to communicate directly to the point, easy to understand, creative, doesn’t create conflict and create understanding for the people.
2. The factors affecting the people's election decision making in Phatum Thani province It was found that the politics communication in 3 aspects are affecting the people's election decision making in Phatum Thani province with statistical significance at the level of .001, and .01, which could predict the people's election decision making in Phatum Thani province at 36.2 percent, sort by aspects found that the message aspect could predict with 43.3 percent, the receiver aspect could predict with 37.9 percent, and the channel aspect could predict with 17.3 percent, respectively. The seven Sappurisa dhamma in 4 aspects are affecting the people's election decision making in Phatum Thani province with statistical significance at the level of .001, and .05, which could predict the people's election decision making in Phatum Thani province at 51.1 percent, sort by aspects found that the Mattannuta, the knowing of moderation aspect could predict with 54.2 percent, the Parisannuta, the knowing of the populated communities aspect could predict with 21.0 percent, the Kalannuta the knowing of time aspect could predict with 17.1 percent, and the Atthannuta the knowing result aspect could predict with 9.8 percent, respectively.
3. The buddhadhamma application for promoting people's election decision making in Phatum Thani province found that the 7 applying following: 1. Dhammannuta, the knowing cause of the problem and needs of the people, the impact of the policy in good and bad results, 2. Atthannuta, the knowing of results that beneficial to the people and the country, 3. Attannuta, the knowing the recognition and understanding of one's rights, 4. Mattannuta, the knowing estimates in the implementation of various policies that have been promised to the people, 5. Kalannuta, the knowing the time It is a policy setting of a clear time frame, 6. Parisannuta, the knowledge of the basic information, problems, needs of the community, and 7. Puggalannuta, knowing people. It is a way to know their rights derived from political policies. The application of the 7 applying it was at a high level in overall and almost aspects, except Puggalannuta aspect is was at a moderate level.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|