-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEnhancing Political Consciousness of The Youth in Democracy of The Secondary Education Service Area Office Chonburi Rayong
- ผู้วิจัยนายเชวงศักดิ์ เอี่ยมสำอางค์
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.ธัชชนันท์ อิศรเดช
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
- วันสำเร็จการศึกษา06/10/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50397
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 122
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชน 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชน 3. นำเสนอการพัฒนาการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชน โดยประยุกต์ใช้ตามหลักสาราณียธรรม 6
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 22 รูปหรือคน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาความ การสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 10 รูปหรือคน และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 396 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Equation) โดยวิธี Stepwise Analysis
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพทั่วไปเกี่ยวกับจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง พบว่า การปกครองตนเองและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง การศึกษาและการเข้าใจด้านการเมืองของเยาวชน การสนับสนุนให้มีการศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับระบบการปกครองและการเมืองในระดับที่เหมาะสมสำหรับเยาวชน โดยอาจจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้ การส่งเสริมความรับผิดชอบและความเข้าใจในการมีส่วนร่วม การส่งเสริมสติปัญญาและการคิดวิเคราะห์ และการสร้างพื้นที่สนับสนุนและการเปิดโอกาสในการมีส่วนร่วม การจัดกิจกรรมทางศาสนาที่เชื่อมโยงกับความสามัคคี ส่งเสริมให้เยาวชนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีความสามัคคีที่ และสร้างระเบียบทางสังคมที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์ ซึ่งระดับ สภาพทั่วไปเกี่ยวกับจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง พบว่า สถาบันการศึกษา และสถาบันทางการเมือง โดยการกล่อมเกลาทางการเมืองส่งผลต่อการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ได้ร้อยละ 27.5 และโดยหลักสาราณียธรรม 6 ได้แก่ สาธารณโภคี (การได้มาแบ่งกันกินแบ่งกันใช้) ทิฏฐิสามัญญตา (การปรับความเห็นให้เข้ากันได้) เมตตาวจีกรรม (การพูดกันด้วยความเมตตา) ส่งผลต่อการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ได้ร้อยละ 76
3. การพัฒนาการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยประยุกต์ใช้ตามหลักสาราณียธรรม พบว่า การมีจิตสำนึกในเรื่องหลักความเสมอภาคด้วยการให้เยาวชนทุกคนมีสิทธิมีเสียงเท่าเทียมกันภายใต้กฎกติกาที่วางไว้ การมีจิตสำนึกในความอดทนอดกลั้นต่อความคิดเห็นและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน การมีจิตสำนึกในเรื่องหลักความยุติธรรมและการมีจิตสำนึกในเรื่องหลักนิติธรรม การมีจิตสำนึกในเรื่องการต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเองและการเคารพสิทธิของผู้อื่น การปฏิบัติตามสิทธิภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ ยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตย การมีจิตสำนึกในเรื่องสิทธิเสรีภาพปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมที่อยู่ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข และ การมีจิตสำนึกในเรื่องความศรัทธาในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจบนฐานความคิดเห็นที่แตกต่างแต่อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ และระดับการพัฒนาการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยองโดยประยุกต์ใช้ตามหลักสาราณียธรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this dissertation were: 1. To study the general state of democratic political consciousness of youths, 2. To study factors affecting the promotion of democratic political consciousness among youths, and 3. To propose the democratic political consciousness promotion among youths by applying Sărăniyadhamma, conducted by the mixed research methods. The qualitative research, data were collected by in-depth interviewing 22 key informants and 10 participants in focus group discussion and analyzed by descriptive content interpretation. The quantitative research, data were collected from 396 samples analyzed with descriptive statistics. Namely Percentage: Mean, Standard deviation and inferential statistics: Pearson Correlation Coefficient (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) and analysis of multiple regression equations (Multiple Regression Equation) by the way of Stepwise Analysis
The results of the research were as follows:
1. The general state of democratic political consciousness of youths under Secondary Education Area Office,Chonburi and Rayong was found that self-government and participation in political decision-making, education and understanding of politics, encouraging youth to study and learn about governance and politics at an appropriate level by organizing learning workshops, promoting accountability and understanding of participation, promoting intelligence and critical thinking, and creating support spaces and opportunities for participation, organizing religious activities that linked to unity, encouraging youths to participate in religious activities to discuss and exchange ideas and create a useful and constructive social order. The general state of democratic political conscienceless, by overall, was found at the high level. The aspect with the highest average was the ability to govern themselves, followed by unity, and the lowest was social order but still at high level.
2. Factors affecting the Enhancing Political Conciousness Of The Youth In Democracy Of The Secondary Education Service Area Office Chonburi Rayong Provinceswere found that educational institutions and political institutions by Enhancing Political Conciousness Of The Youth In Democracy Of The Secondary Education Service Area Office Chonburi Rayong Provinces by statistically significant level at 0.01. with 27.5 percent And by virtue of Sãrãniya-dhamma 6, namely, Sãtãranabhôki, (Acquisition and Sharing), Titthisămanyată, (Mutual opinion), Mettăvacikamma,(Speaking with Kindness) affected the Enhancing Political Conciousness Of The Youth In Democracy Of The Secondary Education Service Area Office Chonburi Rayong Provinces by statistically significant level at 0.01. with 76 percent.
3. The democratic political consciousness promotion development among youth under the Secondary Education Area Office, Chonburi and Rayong Provinces, by applying Sărăniya-dhamma was found that having a mind on the principle of equality by giving all youths the right to have an equal voice under the rules laid down. Being conscious of tolerance to different opinions and behaviors. consciousness of the principles of justice and a consciousness of the rule of law, Having a mindset of fighting for one's own rights and respecting the rights of others. Adhering to rights within the framework of the Constitution, adhering to democratic ideals, having a consciousness about the rights and freedoms to obey the rules of society under democratic rule with the King as Head of State, and having consciousness of faith in democratic regime by enhancing knowledge and understanding based on differences of opinion but coexistence peacefully. The level of democratic political consciousness promotion development among youth by applying Sărăniya-dhamma, by overall, was at high level. When considering each aspect, it was found that the aspect with the highest mean was Silasămanyată followed by Dittisămanyată, Săthăranabhoki, Mettăkăyakamma, Mettăvajikamma. The aspect with the lowest mean was Mettăkăyakamma, but still was at high level.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|