โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในจังหวัดสระบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDriving The National Sangha Health Charter in Saraburi Province
  • ผู้วิจัยพระวัฒธยา ฐิติสมฺปนฺโน (ศรีลาศักดิ์)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.อุบลวรรณา ภวกานันท์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ปฏิธรรม สำเนียง
  • วันสำเร็จการศึกษา02/10/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50398
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 307

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ  1) เพื่อศึกษาสภาพการขับเคลื่อนธรรมสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในจังหวัดสระบุรี  2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติในจังหวัดสระบุรี  3) เพื่อศึกษานโยบายการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในจังหวัดสระบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นตัวแทนจาก วัด ชุมชน และสังคม เพื่อช่วยในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมชุมชนและสังคม เครือข่ายทั้งในปัจจุบันและอนาคต เครือข่ายการพัฒนาเป็นการดำเนินการอย่างมีนโยบายเพื่อให้สมาชิกได้รับประสบการณ์และการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาขับเคลื่อนสุขภาวะ และเป็นการช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าของสมาชิก วัด ชุมชน สังคมและประเทศชาติสืบต่อไป

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพสงฆ์แห่งชาติ ในจังหวัดสระบุรี ด้านพระสงฆ์กับการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักพระธรรมวินัย ได้มีการส่งเสริม พระสงฆ์ให้มีความรู้รอบด้านสุขภาพ การดูแลตนเอง ชุมชนและสังคมกับการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ที่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย  ชุมชนและสังคม ในจังหวัดสระบุรีตระหนัก และใส่ใจในการดูแลพระสงฆ์ ด้วยปัจจัย 4 ให้ถูกต้องตามสุขภาวะ หน่วยงานของรัฐ และชุมชนได้เปิดโอกาสพระสงฆ์มีบทบาทในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม พระสงฆ์และคณะสงฆ์เข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาวะ ในทุกมิติ ภายในวัดและชุมชนสังคม ให้วัดเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อน โดยใช้วันสำคัญทางพุทธศาสนา และวันสำคัญของชาติเป็นจุดเริ่มต้น ในการพัฒนาด้านกาย จิต ภาวนา และปัญญา อันจะนำไปสู่ความยั่งยืน  

2. การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพสงฆ์แห่งชาติใน จังหวัดสระบุรี เป็นการสร้างระบบกลไกในการสร้างเสริมสุขภาพจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และภัยคุกคาม ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมภายในวัด โดยวัด (เจ้าอาวาส) ส่งเสริมพระสงฆ์ให้เข้ากระบวนการเรียนรู้ด้านสุขภาวะ เพื่อนำความรู้ไปอบรมสั่งสอน ในการถวายปัจจัย 4 ที่เอื้อต่สุขภาพชองพระสงฆ์ และ เข้าร่วมต้องส่งเสริม ระบบบริการสาธารณสุขสำหรับพระสงฆ์ บทบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม บทบาทของพระสงฆ์ ที่เกิดขึ้น โดยการยอมรับ ของหน่วยงานภาคีเครือข่ายความร่วมมือ บูรณาการขับเคลื่อนส่งเสริมและสร้างเสริมสุขภาวะ ชุมชนและสังคมให้เป็นไปในแนวเดียวกัน    

3. นโยบายการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพสงฆ์แห่งชาติ ในจังหวัดสระบุรี พบว่ามี 3 ด้าน คือ 1 การขับเคลื่อนโดยพระสงฆ์เป็นผู้ดำเนินกิจกรรม ในการขับเคลื่อนโดยมีกระบวนการที่ชัดเจน 2. การขับเคลื่อนแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โดยการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนนโยบาย 3. นโยบายบทบาทพระสงฆ์เป็นผู้นำด้านสุขภาวะโดย ต้องใช้กลไกวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน โดยใช้ หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล วัดส่งเสริมสุขภาพ ในการสร้างเครือข่าย เพื่อการมีส่วนรวมในการขับเคลื่อนในแต่ละด้านทุกหน่วยงานของภาคีในการขับเคลื่อน โดยการเอานโยบายของคณะสงฆ์ ร่วมกับนโยบายรัฐและภาคีเครือข่าย ถือว่าเป็นบทบาทของพระสงฆ์ ในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดขึ้น โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อน โดยเอาหลักธรรมคำสั่งสอน พระพุทธศาสนาเชื่อมโยง กับนโยบายของรัฐบาล เพื่อไม่ให้ผิดวัตถุประสงค์ในการใช้จ่ายงบประมาณ ของภาครัฐ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This research has three objectives: 1) to study the state of the national health monastic dharma drive in Saraburi Province. 2) to study the participation of network partners in the drive for the National Sangha's Health Constitution in Saraburi Province. 3) to study the policy for driving the National Sangha's Health Law in Saraburi Province. It was a study using a qualitative research method by interviewing 21 key informants/persons and analyzing the data in a descriptive way. by using techniques for analyzing content and context.

 

The results showed that

1. The condition of driving the National Sangha Health Constitution in Saraburi Province The aspect of monks and self-care in accordance with the principles of the Dharma and discipline has been promoted Monks to have knowledge about health, self-care, community and society, and taking care of the monks' health is correct according to the principles of Dhamma and discipline. community and society in Saraburi Province realized And pay attention to taking care of the monks with the 4 factors to be correct according to their health. government agency And the community has given the opportunity for monks to play a leadership role in the health of the community and society. Monks and the Sangha community take part in creating well-being in all dimensions within the temple and social community. Let the temple be the center of driving. using Buddhist important days And the important day of the nation is the starting point. in physical, mental, spiritual and intellectual development which will lead to sustainability.

2. Participation of network partners in driving the National Sangha's Health Constitution in Saraburi Province. It is the creation of a system of mechanisms for health promotion, an appropriate environment and threats with a process of participation within the temple. to bring knowledge to training In offering the four factors conducive to the health of the monks and participating in it, it must be promoted. Public health service system for monks The role of monks in being a leader in community and society health The role of monks arising from the acceptance of the cooperation network partners Integrate, drive, promote and promote well-being community and society to be aligned.

3. Policy to drive the National Sangha Health Constitution In Saraburi Province, there were 3 aspects: 1. Driving by monks as operators in driving with a clear process 3. The policy on the role of monks as leaders in health by The measuring mechanism must be used as the center of the people's minds by using the Tambon People's Training Unit. health promotion temple in networking for participation in driving each side, all agencies of the parties in driving By removing the policy of the clergy in conjunction with government policies and network partners considered the role of a monk in being a leader in wellness in terms of local wisdom with the temple as the center of driving By taking the principles of teaching buddhism link with government policy in order not to misuse the objectives of government budget expenditures.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ