โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Effectiveness of Environmental Management of Moosi Sub-District Municipality, Pak Chong District, Nakhonratchasima Province
  • ผู้วิจัยพระมหาสุริยะ มทฺทโว (มาธรรม)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.อนุวัต กระสังข์
  • วันสำเร็จการศึกษา14/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/504
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 750
  • จำนวนผู้เข้าชม 819

บทคัดย่อภาษาไทย

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคล 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลหมูสี จำนวน 388 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
               ผลการวิจัยพบว่า                                                                                                                                   
                 
1. ระดับประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง  จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.45, S.D. = 0.716) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการกำหนดองค์กรรับผิดชอบ (= 3.52, S.D. = 0.792) อยู่ในระดับมาก ส่วน ด้านการกำหนดนโยบาย (= 3.47, S.D. = 0.813) ด้านการวางแผนดำเนินงาน (= 3.41, S.D. = 0.820) ด้านการบริหารโครงการ (=3.48, S.D. = 0.804) และ ด้านการประเมินผลโครงการ (= 3.39, S.D.= 0.871) อยู่ในระดับปานกลาง
               2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลหมูสี  อำเภอปากช่อง  จังหวัดนครราชสีมา  จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคล พบว่า ประชาชนที่มี อาชีพและรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มี เพศ อายุและระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
               3. ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 1) ด้านการกำหนดองค์กรรับผิดชอบ ผู้รับผิดชอบยังมีจำนวนจำกัดสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ มีเครื่องมือที่ไม่เพียงพอและปฏิบัติหน้าที่หนึ่งคนรับผิดชอบงานหลายด้าน ทำให้มีอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า 2) ด้านการกำหนดนโยบาย ประชาชนในท้องที่และนักท่องเที่ยวบางส่วนไม่ใส่ใจในนโยบายของเทศบาลและยังขาดการประชาสัมพันธ์เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย 3) ด้านการวางแผนดำเนินงาน ประชาชนไม่ได้รับข่าวสาร/เทศบาลไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับแผนดำเนินงาน ผลทำให้เทศบาลไม่ได้ทราบปัญหาที่แท้จริงจากประชาชนในพื้นที่ 4) ด้านการบริหารโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการและวัสดุอุปกรณ์ยังไม่เพียงพอ ทำให้ผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานหลายด้าน ดูแลไม่ทั่วถึง  5) ด้านการประเมินผลโครงการ คณะกรรมการยังขาดความรู้ความเข้าใจโดยตรงในการประเมินผลโครงการ ไม่มีการแจ้งผลประเมินให้ประชาชนได้ทราบอย่างทั่วถึง
               ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 1) ด้านการกำหนดองค์กรรับผิดชอบ ควรเพิ่มจำนวนผู้รับผิดชอบให้มากขึ้นและจัดหาเครื่องมือ/วัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ 2) ด้านการกำหนดนโยบาย ควรทำประชาพิจารณ์จากพื้นที่ชุมชนเพื่อนำมากำหนดนโยบายได้ตรงตามปัญหาอย่างแท้จริงและเมื่อกำหนดนโยบายแล้วควรที่จะติดตามผลของนโยบายนั้นๆ  3) ด้านการวางแผนดำเนินงาน ประชาชนต้องให้ความร่วมมือในการลงพื้นที่สำรวจหรือการให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ที่เป็นจริง จัดให้มีการอบรมให้ความรู้กับประชาชนในชุมชนและควรสร้างเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขึ้นมาเพื่อให้มีหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนในการวางแผนดำเนินงาน 4) ด้านการบริหารโครงการ ควรจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอสำหรับการบริหารโครงการ 5) ด้านการประเมินผลโครงการ ควรจัดตั้งคณะกรรมการที่มีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยตรงในการประเมินผลโครงการและควรมีการแจ้งผลประเมินให้ประชาชนได้ทราบอย่างทั่วถึง เช่น ทางอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ เป็นต้น

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                 Objectives of this research were to 1. Study level of effectiveness of environment management of Moosi subdistrict, Pak Chong district,Nakhonratchasima Province, 2. Compare the people’s opinions toward the effectiveness of environment management of  Moosi Sub-district, Pak Chong district, Nakhonratchasima Province, and 3. Study the problems, obstacles and recommendations for the effectiveness of environment management of Moosi Sub-District, Pak Chong District, Nakhonratchasima Province.
                Methodology was the mixed methods. The qualitative and quantitative research. For quantitative research, the data were collected from 388 samples  who  were people in that area. The data were analyzed by frequency, percentage, means, standard deviation, T-test, and F-test and one-way ANOVA. Pairs of variables were compared by Least Significant Difference, LSD. For qualitative research, the method, Data were collected from 12 key informants by face-to-face- in-depth-interviewing and analyzed by descriptive interpretation.
                 Findings of the research were as follows:                                                                                           
                 
1. Level of effectiveness of environmental management of Moosi Sub-District, Pak Chong District, Nakhonratchasima Province by over all were at  medium levels (= 3.45, S.D. = 0.716). The effectiveness of each aspect were that the responsible organization was at highlevel.  (= 3.52, S.D. = 0.792). determined policy was at medium level at = 3.47, S.D. =0.813),  plan was at = 3.41, S.D. = 0.820, management of project was at =3.48, S.D. = 0.804, and evaluation of the project was at = 3.39, S.D. = 0.871 respectively.
                 2. The result of comparing the opinion of individual people toward the effectiveness of environmental management of Moosi Sub-District, Pak Chong District, Nakhonratchasima Province was found that people with different occupation and salary had different opinion about the effectiveness of the environment management at 0.05 statistical significant level, accepting the set hypothesis. Those people with different gender, age, and educational degree did not have different opinions, rejecting the set hypothesis.
                 3. The problems and obstacles of environmental management of Moosi Sub-District, Pak Chong District, Nakhonratchasima Province were found that 1) for the aspect of responsible organization, the persons who were responsible for the task were limited. As working part, there were not enough equipment and one person had many duties causing  slow performance 2) For the aspect of determined policy, some local people and tourists did not pay attention to government policy. promoting in order to let people participate in determining policy was also lacking. 3) For the aspect of planning, people did not receive any news and the local government was  not promoting the plan. For that reasons they did not know any real problems of people in that area. 4) For the aspect of project management, the responsible persons and equipment were not enough so that the persons carried out many duties and could not take care of  all the works. 5) For the aspect of evaluation, the committee still lack of knowledge and understanding of the evaluation. There was no report to people in that area.
                 The recommendations for environmental management of Moosi Sub-District, Pak Chong District, Nakhonratchasima Province are as follows: 1) for the aspect of responsible organization, there should be more recruitment for responsible people for the work, more equipment should be also provided, 2) For the aspect of determined policy, there should do the public hearing in community so that they can determine the actual policy and also follow up the feedback. 3) For the aspect of planning, people should participate in the area and give the true information to staff. They should hold regular meeting to educate and create the connection for preserving environment so that local people can create their own plans. 4) For the aspect of project management, there should have enough equipment for this project. 5) For the aspect of evaluation, they should nominate the committee who directly have knowledge and understanding of evaluation of environmental management and also the results of the effectiveness of environment management should be reported to the local peoples through internet or website.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 8.16 MiB 750 4 มิ.ย. 2564 เวลา 23:59 น. ดาวน์โหลด