-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์หลักพุทธธรรมและการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองเพื่อสร้างความนิยมสำหรับการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhadhamma Application and The Political Communication for Promoting Popularity in Local Elections in Nakhon Si Thammarat Province
- ผู้วิจัยนายธีรยุทธ ชะนิล
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.วัชรินทร์ ชาญศิลป์
- วันสำเร็จการศึกษา06/10/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50400
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 255
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการสร้างความนิยมสำหรับการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) เพื่อนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้สัปปุริสธรรม 7 ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพทั่วไปของการสร้างความนิยมสำหรับการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช ในประเด็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ เป็นสิ่งที่ประชาชนให้ความสำคัญ เป็นการตระหนักถึงผลประโยชน์ต่อส่วนรวม รองลงมาคือการขยายช่องทางการมีส่วนร่วมทางการเมือง ด้านนโยบายสาธารณะ และด้านความเป็นตัวแทน แสดงถึงจิตสำนึกทางการเมืองที่ดีส่งผลให้เกิดความนิยมในการเลือกตั้งท้องถิ่นได้
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความนิยมสำหรับการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า (1) ปัจจัยการสื่อสารทางการเมือง ส่งผลต่อการสร้างความนิยมสำหรับการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์การสร้างความนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นได้ร้อยละ 45.1 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบรายด้าน พบว่า ด้านผู้ส่งสาร สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 34.6 รองลงมาคือ ด้านช่องทางการสื่อสาร สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 26.8 ด้านสาร สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 24.0 และด้านผู้รับสาร สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 21.4 (2) หลักสัปปุริสธรรม 7 ส่งผลต่อการสร้างความนิยมสำหรับการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .05 โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์การสร้างความนิยมสำหรับการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ร้อยละ 46.2 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบรายด้าน พบว่า ด้านมัตตัญญุตา รู้จักประมาณ สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 33.0 รองลงมาคือ ด้านกาลัญญุตา รู้จักกาลเวลา สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 23.9 ด้านอัตตัญญุตา รู้จักตน สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 21.5 ด้านปริสัญญุตา รู้จักชุมชน สังคม สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 21.2 และด้านธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 8.4 ตามลำดับ
3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความนิยมสำหรับการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้สัปปุริสธรรม 7 พบว่า มีการประยุกต์ใน 7 ด้าน คือ 1) ด้านธัมมัญญุตา การรับรู้ว่าเลือกตั้งท้องถิ่นมีความสำคัญอย่างไร รับรู้เหตุผลของการที่ต้องมีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น 2) ด้านอัตถัญญุตา การรู้ว่าเลือกตั้งท้องถิ่นจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องอะไร 3) ด้านอัตตัญญุตา การรู้บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนที่มีอยู่ 4) ด้านมัตตัญญุตา การรู้หลักการประเมินสถานการณ์ปัญหาและการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น 5) ด้านกาลัญญุตา การรู้จักประเมินและบริหารเวลาในการดูแลท้องถิ่นให้สำเร็จตามแผนที่วางไว้ 6) ด้านปริสัญญุตา การรู้จักความต้องการของชุมชนหรือประชาสังคมในท้องถิ่น และ 7) ด้านปุคคสัญญุญา การรู้จักประชาชนในท้องถิ่น คนในบังคับบัญชาหรือเครือข่ายที่ต้องทำงานร่วมกัน ซึ่งการประยุกต์หลักสัปปุริสธรรม 7 ในภาพรวมอยู่ระดับมาก และเมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากเกือบทุกด้านโดยมีด้านธัมมัญญุตาอยู่ในระดับปานกลาง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were: 1. To study the general condition of the popularity in local elections in Nakhon Si Thammarat province, 2. To study the factors affecting the popularity in local elections in Nakhon Si Thammarat province, and 3. To study the buddhadhamma application for promoting popularity in local elections in Nakhon Si Thammarat province by the seven Sappurisa dhamma. The research was conducted by mixed method research between quantitative and qualitative research. The qualitative research data were collected 18 key informants by structured interview and focus group discussion by 11 experts, analyzed by content analysis technique. The quantitative research data were collected by questionnaire from 400 samples. The data were analyzed by Frequency, Mean, Standard Deviation, and Multiple Regression Analysis.
The research results were found as follows:
1. The general condition of the general condition of the popularity in local elections in Nakhon Si Thammarat province in learning is the first important thing for people; its purpose is to enhance public benefits, following by political participation channel, policy process, and representation. It shows good political consciousness, resulting in the popularity of local elections.
2. The results of the factors affecting the popularity in local elections in Nakhon Si Thammarat province found that following: (1) the political communication is affected to the popularity in local elections in Nakhon Si Thammarat province with statistical significance at the level of .001, which could predict the popularity in local elections in Nakhon Si Thammarat province at 45.1 percent, sort by aspects found that the sender aspect could predict at 34.6 percent, following by the channel aspect could predict at 26.8, the message aspect could predict at 24.0, and the receiver aspect could predict at 21.4. (2) the seven Sappurisa dhamma is affected to the popularity in local elections in Nakhon Si Thammarat province with statistical significance at the level of .001, and .05 which could predict the popularity in local elections in Nakhon Si Thammarat province at 46.2 percent, sort by aspects found that the Mattannuta, the knowing of moderation, could predict at 33.0 percent, following by the Kalannuta, the knowing of time, could predict at 23.9 percent, Attannuta, the knowing of one’s own self, could predict at 21.5 percent, Parisannuta, the knowing of the populated communities, could predict at 21.2 percent, and Dhammannuta, the knowing of causes, could predict at 8.4 percent, respectively.
3. The buddhadhamma application for promoting popularity in local elections in Nakhon Si Thammarat province found that the 7 applying following: 1. Dhammannuta the knowing how important of local elections, knowing the reasons of local elections, 2. Atthannuta the knowing which problems could resolved by local elections, 3. Attannuta the knowing of an existing roles and responsibilities, 4. Mattannuta the knowing of principles of situations of local problems evaluation and problems solving, 5. Kalannuta the knowing how to assess and manage time for local govern to succeed as planned, 6. Parisannuta the knowing of local community or civil society needs, and 7. Puggalannuta the knowing of local people, knowing the people in command or networks that have to work together. The application of the 7 applying it was at a high level in overall and almost aspects, except Dhammannuta are was at a moderate level.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|