-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความไว้วางใจของประชาชนที่มีผลต่อการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ในจังหวัดชลบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhadhamma Application for Promoting Public Trust Affecting Voting in Mayor Election in Chonburi Province
- ผู้วิจัยนายอภิชัย พิทยานุรักษกุล
- ที่ปรึกษา 1ดร.สุมาลี บุญเรือง
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
- วันสำเร็จการศึกษา06/10/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50401
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 80
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความไว้วางใจของประชาชนต่อการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ในจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจของประชาชนที่มีผลต่อการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ในจังหวัดชลบุรี และ 3) เพื่อนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความไว้วางใจของประชาชนที่มีผลต่อการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ในจังหวัดชลบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 8 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยการใช้แบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.891 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบ Enter
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความไว้วางใจของประชาชนต่อการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ในจังหวัดชลบุรี พบว่า 1) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับนักการเมือง ได้แก่ ไว้วางใจต่อการปฏิบัติงานที่ผ่านมาตอบสนองความต้องการของประชาชน มีการบริหารจัดการที่ช่วยเหลือประชาชนอย่างจริงจัง สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้เป็นอย่างดี 2) ด้านความร่วมมือของประชาชน ได้แก่ เลือกตัวแทนที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชน เพื่อได้คนที่ตั้งใจพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญ รวมถึงประชาชนรักษาสิทธิ์ของพลเมืองในการเลือกตั้ง 3) ด้านความเชื่อมั่นต่อนักการเมือง ได้แก่ มีความสามารถในการบริหาร ดูแลอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน และมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านความเป็นอยู่ให้ประชาชนอยู่ดีกินดีและมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล 4) ด้านการสนับสนุนทางการเมือง ได้แก่ สนับสนุนการไปลงคะแนนเลือกตั้ง และช่วยสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ เอื้ออำนวยให้ประชาชนมาลงคะแนน
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจของประชาชนที่มีผลต่อการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ในจังหวัดชลบุรี พบว่า ปัจจัยส่งเสริมความไว้วางใจ ประกอบด้วย ด้านนโยบาย ด้านการสื่อสาร และด้านพฤติกรรม ส่งผลต่อความไว้วางใจของประชาชนที่มีผลต่อการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ในจังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถร่วมกันทำนายความไว้วางใจของประชาชนที่มีผลต่อการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ได้ร้อยละ 86.0 และ หลักสัปปุริสธรรม 7 ประกอบด้วย กาลัญญุตา (รู้จักกาลเวลา) อัตถัญญุตา (รู้ความมุ่งหมาย) ธัมมัญญุตา (รู้จักเหตุ) ส่งผลต่อความไว้วางใจของประชาชนที่มีผลต่อการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ในจังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถร่วมกันทำนายความไว้วางใจของประชาชนที่มีผลต่อการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ได้ร้อยละ 82.4
3. การประยุกต์หลักธรรมเพื่อความไว้วางใจไปการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ในจังหวัดชลบุรี จากการสัมภาษณ์พบว่า การรู้จักเหตุ นายกเทศมนตรีมีความสามารถรู้ปัญหาในพื้นที่ มีเหตุผลในการกำหนดนโยบายเพื่อท้องถิ่น การรู้จักผล นายกเทศมนตรีรู้เป้าหมายในการกำหนดนโยบายและปัญหาที่เกิดขึ้นในเทศบาล การรู้จักตน นายกเทศมนตรีรู้บทบาทหน้าที่ มีภาวะผู้นำ มีความรับผิดชอบต่อประชาชน การรู้จักประมาณ นายกเทศมนตรีบริหารงบประมาณท้องถิ่นเป็นที่โปร่งใสและพอใจของประชาชนและเกิดประโยชน์สูงสุด การรู้จักกาล นายกเทศมนตรีเข้าไปช่วยเหลือประชาชนเมื่อมี ปัญหาสามารถแก้ไขได้ทันเวลา การรู้จักชุมชน สังคม นายกเทศมนตรีรู้จักท้องถิ่นที่เข้าไปพบปะ ประชาชนสม่ำเสมอ ส่งเสริมจุดเด่นกำจัดจุดด้อยของแต่ละชุมชน การรู้จักบุคคล นายกเทศมนตรีรู้จักประชาชนคนในพื้นที่ดี ทั้งผู้นำกลุ่ม ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน และเครือข่ายต่างๆ ในพื้นที่
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research has the following objectives: 1) To study the state of people's trust in voting for the mayor. in Chonburi Province 2) To study the factors that affect people's trust in voting for the mayor. in Chonburi Province and 3) to present the application of Buddhist principles to promote public trust in voting for the mayor. in Chonburi province.Research methodology is an integrated research method. The qualitative research collected data from 20 key informants or individuals using a structured in-depth interview. analyze the data by describing and quantitative research collected data and questionnaires from a sample of 400 people. and a specific group discussion of 8 people. By using a questionnaire with confidence for the entire version equal to 0.891. Data were analyzed by descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation and a Multiple regression analysis, stepwise analysis of multiple regression equations.
The research results found that
1. Public trust in mayoral voting In Chonburi Province, it was found that 1) the relationship between citizens and politicians, namely satisfaction with past work performance that responded to the needs of the people There is management that seriously helps the people. Able to solve the problems of the people very well. 2) People's cooperation includes selecting representatives who take care of the people's welfare. To get people who are committed to developing the local area. Including people maintaining their rights to vote. 3) Regarding confidence in politicians, they include having the ability to manage. Caring for conveniences for the people And there is an improvement in the quality of life for the people to live well and have a broad vision. 4 Political support includes supporting voting in elections. and help support
2. Factors affecting public trust that affect mayoral voting. In Chonburi Province, it was found that. Factors promoting trust include policy, communication and and behavioral It affects the trust of the people which affects the voting in the mayoral election. in Chonburi province Statistically significant at the 0.01 level. Together they were able to predict the trust of the people that affected the voting for the mayor at 86.0 percent and the seven principles of Sappurisadhamma consisted of Kalanyutā (knowing time), Atthanyutā (knowing purpose), and Dhamma. Yayuta (knowing the cause) affects the trust of the people which affects the voting in the mayoral election. in Chonburi province Statistically significant at the 0.01 level. Together they were able to predict the trust of the people that affected the voting for mayor at 82.4 percent.
3. Application of principles for trust in voting for mayor in Chonburi Province. From the interview it was found that; knowing the cause The mayor has the ability to know the problems in the area. There is a reason for setting policy for the local area. Knowing the results. The mayor knows the goals in setting policy and problems that occur in the municipality. Knowing himself, the mayor knows his role, has leadership, and is responsible to the people. estimation The mayor manages the local budget in a manner that is transparent and satisfies the citizens and maximizes benefits. Knowing the timing: The mayor goes to help people when they have time. Problems can be solved in time. Knowing the community and society: The mayor knows the local area where he meets. people regularly Promote the strengths and eliminate the weaknesses of each community. knowing a person The mayor knows the people in the area well. both group leaders People with specific knowledge and abilities and various networks in the area.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|