โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงาน บริษัท สยาม ที. เอ็ม. ซี แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Buddhist Integration for Improve the Quality of Life of Employees of Siam T. M. C Manufacturing CO., Ltd.
  • ผู้วิจัยนางสาวมาริสา นวลใย
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.ประพันธ์ ศุภษร
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ตวงเพชร สมศรี
  • วันสำเร็จการศึกษา11/10/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50408
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 112

บทคัดย่อภาษาไทย

         ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานบริษัท สยาม ที.เอ็ม.ซี แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการทำงานและ Happy workplace ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานบริษัท สยาม ที.เอ็ม.ซี แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานบริษัท สยาม ที.เอ็ม.ซี แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึก มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 รูป/คน โดยนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

         ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานบริษัท ใช้หลักทฤษฎี Happy workplace องค์กรแห่งความสุข 8 ประการ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงาน ปัญหาและอุปสรรคที่พนักงานไม่มีคุณภาพชีวิตที่ดี คือ ปัญหาสุขภาพ ภาระหนี้สิน การขาดความรักความสามัคคี ขาดการการเรียนรู้พัฒนา ขาดที่พึ่งทางใจ หลักพุทธธรรมที่นำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงาน 2 หลักธรรม (1) หลักอิทธิบาท 4 ฉันทะ ความพึงพอใจในงาน วิริยะ ความขยัน มุ่งมั่น จิตตะ ความเอาใจใส่ จดจ่อในงานที่ทำ วิมังสา การใช้ปัญญาพัฒนาและแก้ไขปัญหางาน และ (2) หลักภาวนา 4 กายภาวนา ฝึกอบรมทำสมาธิ สีลภาวนา การฝึกอบรมสีลให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัยไม่เบียดเบียน จิตตภาวนา ฝึกอบรมจิตใจให้เข้มแข็งมั่นคงเจริญงอกงามด้วยคุณธรรม เพื่อสร้างรูปแบบพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานบริษัท สยาม ที. เอ็ม. ซี แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ได้โมเดล “PAMA” ซึ่งประกอบด้วย (1) (P) ด้านพนักงาน มีสุขภาพดี มีความรักสามัคคี ขยันตั้งใจทำงาน (2) (A) ด้านคุณภาพชีวิตของพนักงาน มีสุขอนามัยดี มีรายได้ดี ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เป็นที่รัก สังคมยอมรับ (3) (M) ด้านผู้บริหาร ให้การสนับสนุนจัดทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (4) (A) ด้านหลักพุทธธรรมและหลัก Happy Workplace อบรมให้ความรู้ในหลักภาวนา 4 และหลักอิทธิบาท 4 และหลักองค์กรแห่งความสุข เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของพนักงานบริษัทฯ ผลที่ได้ คือ พนักงานมีความรักสามัคคี ขยันตั้งใจทำงาน ฝึกอบรมพัฒนา สวดมนต์ทำสมาธิ ลด ละเลิกอบายมุข ซื่อสัตย์ประหยัดอดทนมีน้ำใจต่อกันมีความรักและผูกพันต่อองค์กรครอบครัวมีความสุข

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

          In this dissertation, an attempt was purposely made: 1) to study the states of quality of life development of employees of Siam T. M. C Manufacturing co.,Ltd., 2) to study the Buddhist principles for working and Happy Workplace in the development of the quality of life of employees of Siam T. M. C Manufacturing co.,Ltd., and 3) to propose the Buddhist integrated model for the development of the quality of life of employees of Siam T. M. C Manufacturing co.,Ltd. This research employed the qualitative research methodology where in-depth interview of 30 Key Informants selected as target group was made and then contents analysis was done through descriptive analysis respectively.

          The research results were found that: As far as the ideas and theories relating to the development of the quality of life of company’s employees are concerned, they show that the theory of Happy Workplace and eight types of happy organization are practically applied to the development of the quality of life of company’s employees involved. In this matter, the problems and obstacles giving rise to the employees’ non-quality of life embrace the following ones: problem of health, debt, lack of love and harmony, no-learning for any development, lack of mental reliance. So, the Buddhist principles need to be applied to the development of the quality of life are of four paths of accomplishment, four kinds of development. To create the Buddhist integrated model for the development of the quality of life of employees of Siam T. M. C Manufacturing co., Ltd., the model named ‘PAMA’ is considerable proposed in this research for being the practical guidelines of company’s employees where 1) P means personnels, 2) A means the quality of life of employees, 3) M means managers and 4) A means Buddhist principles and Happy workplace respectively. Consequently, personnels are of love and harmony, making endless an effort in working, undergoing the assigned training, chanting and meditating, abandoning and reducing all vices, being honest and economic, possessing loving kindness and attaching to the happy organization and family.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ