-
ชื่อเรื่องภาษาไทยอุดมการณ์ทางการเมือง : กรณีศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPolitical Ideology: Case Study of the Constitution of the Kingdom of Thailand and the Constitution of the United States of America
- ผู้วิจัยนางสาวขวัญชนก สายชมภู
- ที่ปรึกษา 1รศ.อนุภูมิ โซวเกษม
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.ธัชชนันท์ อิศรเดช
- วันสำเร็จการศึกษา06/10/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50409
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 114
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาอุดมการณ์ทางการเมือง 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาในด้านอุดมการณ์ทางการเมือง และ 3. เพื่อการประยุกต์หลักอริยสัจ 4 ในการเสริมสร้างอุดมการณ์ทางการเมืองของไทย ผู้วิจัยได้กำหนดระเบียบวิธีวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบคุณภาพ (Qualitative Research) มุ่งเน้นการวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารวิชาการ ศึกษาจากสถานการณ์และความคิดเห็นและกิจกรรมทางการเมืองจากสื่อสาธารณะ พร้อมการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key information ) ได้แก่ นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ นักวิชาการด้านกฎหมาย นักการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) จำนวน 8 รูปหรือคน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพอุดมการณ์ทางการเมือง พบว่า อุดมการณ์ทางการเมืองเป็นเจตคติหรือความคิดที่กล่าวถึงอำนาจ ผู้ปกครองรัฐ และการเมือง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับความเป็นจริง และตอบสนองต่อกิจกรรมทางการเมืองที่จะแสดงให้เห็นถึงอุดมการณ์หลัก (Dominant Ideology) ที่ชนชั้นปกครองผลิตและผลิตซ้ำขึ้น เพื่อครอบงำให้มวลชนยอมรับและกลายเป็นกรอบความคิดกระแสหลักของสังคม โดยฝังลึกอย่างมีประสิทธิภาพลงในสามัญสำนึกของผู้คน แสดงให้เห็นถึงอุดมการณ์ทางเลือก (Alternative Ideology) ที่รอมชอมกับระบบวิธีคิดหลักในระดับหนึ่ง หรือเป็นกรอบความคิดที่ยอมรับในอุดมการณ์หลักแต่ก็บนเงื่อนไขบางอย่าง(on condition) และอุดมการณ์ตรงข้าม/ต่อต้าน (Oppositional/Counter-Ideology) หรืออุดมการณ์ที่ปฏิเสธกรอบวิธีคิดของอุดมการณ์หลัก และมักจะนำเสนอจินตภาพของสังคมแบบใหม่ (new social imagination) เพื่อเรียกร้องหรือดึงให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมต่อต้านกับโครงสร้างอุดมการณ์หลักของสังคมที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ
2. การเปรียบเทียบระหว่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาในด้านอุดมการณ์ทางการเมืองผ่านภาพสถาบันนิติบัญญัติ จุดเริ่มต้นของเหตุแห่งการร่างรัฐธรรมนูญของทั้งสองฉบับภาพรวมใหญ่มีความแตกต่างกันในแง่ของอุดมการณ์และความต้องการในเริ่มแรกของการร่างอย่างชัดเจน เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาได้เริ่มมาจากความต้องการขจัดอิทธิพลของชนชั้นนำที่กดขี่ข่มเหงชนชั้นล่าง และความต้องการดุลอำนาจไม่ให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจมากเกินไปเพราะหากฝ่ายบริหารมีอำนาจมากย่อมนำไปสู่ความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือทรราชย์ได้ง่าย รวมถึงการต่อสู้ในแง่ของสิทธิมนุษยชนของสหรัฐอเมริกาต้องเป็นตัวปรากฏหลักในรัฐธรรมนูญ ซึ่งมุ่งเน้นต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองให้มากที่สุด อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาก็ยังคงไม่ต้องการให้ประชาชนแม้จะมีส่วนร่วมในการปกครองแต่ไม่ยอมให้ประชาชนกลายเป็นทรราชย์หรือลุกฮือโดยไร้เหตุและผลต่อการปกครอง ซึ่งได้สร้างกลไกควบคุมประชาธิปไตยไว้ภายในรัฐธรรมนูญโดยเห็นได้จากการเลือกตั้งประมุขของประเทศที่ต้องผ่านการเลือกตั้งสองขั้น และฝ่ายบริหารที่ถูกตรวจสอบและถอดถอนได้จากฝ่ายอำนาจนิติบัญญัติ อย่างไรก็ตามก็ยังคงถือว่าการเลือกตั้งนั้นมาจากมือและความเห็นของประชาชน ในขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นจากความต้องการขจัดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดมาจากความไม่มั่นคงในการป้องกันความเป็นประชาธิปไตยและความไม่มีเสถียรภาพอย่างถาวรและเข้มแข็งของรัฐ รวมถึงความต้องการของทุนนิยมแบบผูกขาดทำให้เกิดความเห็นและความต้องการของชนชั้นนำที่ไม่เป็นไปกับแนวคิดของรัฐบาล รวมถึงความเห็นด้านหลักการการปกครองของประชาชน
3. การประยุกต์หลักอริยสัจ 4เพื่อเสริมสร้างอุดมการณ์ทางการเมืองของไทยปัญหาหรือทุกข์ในการร่างรัฐธรรมนูญของไทยเป็นการกำหนดจากรัฏฐาธิปัตย์เพียงฝ่ายเดียว และเหตุแห่งความทุกข์หรือสมุทัยเห็นได้ว่ามาจากการใช้อำนาจพิเศษที่ไม่ได้มาจากความต้องการของประชาชนหมู่มากและจากชนชั้นนำ และเกิดมาจากประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง ทุกขนิโรธการดับทุกข์ การกำหนดกระบวนการที่เหมาะสมในการสร้างกรอบการร่างรัฐธรรมนูญ และสุดท้ายทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจหรือมรรค หนทางการดับทุกข์ การร่างรัฐธรรมนูญที่ภายใต้กรอบกฎหมายที่ดีและการพัฒนาให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยโดยประชาชนมีส่วนร่วมและให้รัฐธรรมนูญการร่างที่ไม่อิงอยู่กับห้วงของเวลา แต่มีความทันสมัยได้ในตัวของมันเองเสมอ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of research were of three : 1. To study political ideology 2. To study the comparison between the Constitution of the Kingdom of Thailand 2560 and Constitution of United States of American regarding political ideology, 3. To apply the 4 Noble Truth, Ariyacajja,to enhance Thai political ideology, conducted by the qualitative research, focusing on descriptive analysis by studying information from academic papers, political situations and opinions and activities from public media with in-depth interviewing 25 key informants who were Buddhist scholars, Political Science Scholar, Legal Scholar, Politicians, government officials and 8 participants in focus group discussion.
The research findings were as follows:
1. Political ideology was found that political ideology is an attitude or idea that refers to power. This will lead to actions that are consistent with reality and respond to political activities that demonstrate core ideologies, dominant ideology, produced and reproduced by the ruling class to dominate the masses to accept it and become the mainstream frame of society. It is effectively, deeply embedded in people's common sense that demonstrated an alternative ideology that conformed to a certain degree of core thinking system, or a framework that accepted the main ideology but on certain conditions and opposed ideologies,counter-Ideology or ideologies that reject the framework of the main ideology and often present a new social imagination to demand or draw people into opposition to the main ideological structures of society contained in the Constitution.
2. Comparison between the Constitution of the Kingdom of Thailand and the U.S. Constitution on political ideology through the image of legislative institutions. The origin of the reasons for the drafting of the two constitutions as a big picture differed clearly in terms of ideology and initial requirements for drafting. Because the U.S. Constitution began with the desire to eliminate the influence of the oppressive elites of the lower classes, and the need for a balance of power not to give the executive branch too much power, because if the executive branch has a lot of power, it easily leads to absolutism or tyranny as well as the struggle in terms of human rights, the United States must be the main character in the Constitution. The focus is on getting as many people involved in politics as possible. However, the U.S. Constitution still does not require the people, even if they participate in government, not to allow the people to become tyrants or uprisings without reasons to government. It has created a mechanism of democratic control within the constitution, as evidenced by the two-stage election of the country's head of state. and the executive branch that has been checked and impeached by the legislative power. However, it is still considered that the election comes from the hands and opinion of the people. While the Constitution of the Kingdom of Thailand, the Constitution was drafted out of the desire to eliminate political conflicts caused by insecurity in the defense of democracy and permanent and strong instability of the state. The demand for monopoly capitalism has led to the opinions and needs of the elite that did not conform to the ideas of government. Including opinions on the principles of government of the people.
3. The application of the 4 Noble Truth to strengthen Thai political ideology; problems or sufferings in the drafting of the Thai Constitution was determined by the sovereignty alone. And the cause of suffering or Samuthaya can be seen as the exercise of special powers that did not come from the will of the majority of the people and from the elite, and from the people who did not participate in the drafting of the constitution. Dhukkhanirotha, ceasation of suffering; That is to establish the appropriate process for creating a framework for drafting the Constitution, the way to end suffering, drafting a constitution within a good legal framework and democratic development with citizen participation and providing a drafting constitution that is not time-sensitive, but it is always modern in and of itself.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|