-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการออกไปใช้ สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษModels of Political Participation Affecting People’s Local Elections in Pathum Thani Province
- ผู้วิจัยนายธวัชชัย ผลสะอาด
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.วัชรินทร์ ชาญศิลป์
- วันสำเร็จการศึกษา06/10/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50412
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 227
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี และ 3) เพื่อนำเสนอการส่งเสริมการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี โดยการประยุกต์หลักพุทธธรรม ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ส่วนวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพทั่วไปของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี สิ่งที่ประชาชนให้ความสำคัญ คือ สิทธิและหน้าที่ตามหลักรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งอย่างสุจริต ยุติธรรม ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองและการเลือกตั้ง สามารถแจ้งเบาะแสการทุจริตกับทางราชการได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
2. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี พบว่า การสื่อสารทางการเมือง และหลักอปริหานิยธรรม มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี ดังนี้ (1) การสื่อสารทางการเมืองทั้ง 2 ด้านมีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 46.9 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบรายด้าน พบว่า ด้านการกล่อมเกลาทางการเมือง สามารถพยากรณ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น ได้ร้อยละ 34.9 รองลงมาคือ ด้านการรับรู้ข่าวสาร สามารถพยากรณ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น ได้ร้อยละ 29.1 (2) หลักอปริหานิยธรรม มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 59.6 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบรายด้าน พบว่า ด้านหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ สามารถร่วมกันพยากรณ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น ได้ร้อยละ 35.0 ด้านการอารักขา คุ้มครอง ป้องกันโดยธรรม สามารถร่วมกันพยากรณ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น ได้ร้อยละ 24.9 ด้านความพร้อมเพรียงกันประชุม สามารถร่วมกันพยากรณ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น ได้ร้อยละ 22.0 ด้านการสักการะ เคารพ นับถือ บูชาท่านผู้ใหญ่ทั้งหลาย สามารถร่วมกันพยากรณ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น ได้ร้อยละ 21.5 และด้านการไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่บัญญัติ สามารถร่วมกันพยากรณ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น ได้ร้อยละ 18.4 ตามลำดับ
3. การส่งเสริมการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี โดยการประยุกต์หลักพุทธธรรม คือ ด้านการหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ความสามัคคี 2) ด้านความพร้อมเพรียงกันประชุม ความรับผิดชอบร่วมกัน 3) ด้านการไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่บัญญัติ การปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับ 4) ด้านการสักการะเคารพนับถือบูชาท่านผู้ใหญ่ทั้งหลาย การเคารพผู้อาวุโส, ผู้ที่ควรเคารพ 5) ด้านการไม่บังคับปกครองสตรีทั้งหลาย การให้สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ความเท่าเทียม
6) ด้านการสักการะ เคารพนับถือ บูชาต่อปูชนียสถานทั้งหลาย ประชาชน ชุมชน องค์กรทางการเมือง 7) ด้านการอารักขา คุ้มครอง ป้องกันโดยธรรม การสนับสนุนคนดีมีคุณธรรม โดยหลักอปริหานิยธรรมในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 6 ด้าน และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านการไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่บัญญัติ การปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objective of this dissertation aims to: 1) study generality of political participation of people’s local elections in Phatum Thani province, 2) study the factors affecting political participation of people’s local elections, and 3) Presented the guidelines of promoting the people’s local elections in Phatum Thani province by buddhadhamma integration. The research was conducted by mixed method research between quantitative and qualitative research. The quantitative research data were collected by questionnaire from 400 samples. The data were analyzed by Frequency, Mean, Standard Deviation, and Multiple Regression Analysis. The qualitative research data were collected 18 key informants by structured interview and analyzed by content analysis technique.
The research results were found as follows:
1. The generality of political participation of people’s local elections in Phatum Thani province. The people value the rights and responsibilities based on constitutional principles, elections that are honest and fair, people take part in political activities and vote in elections, the easily and safely report corruption tips to the government.
2. The factors affecting political participation of people’s local elections in Phatum Thani province found that the political communication and the Aparihaniyadhamma are affecting political participation of people’s local elections in Phatum Thani province following: (1) politics communication in 2 aspects are affecting the people's election in Phatum Thani province with statistical significance at the level of .001, which could predict at 46.9, sort by aspects found that the political socialization could predict people’s local elections in Phatum Thani province at 34.9 following by the political information perception could predict people’s local elections in Phatum Thani province at 29.1. (2) The Aparihaniyadhamma in 5 aspects are affecting the people's election in Phatum Thani province with statistical significance at the level of .001, which could predict at 59.6, sort by aspects found that to hold regular and frequent meetings could predict people’s local elections in Phatum Thani province at 35.0, following by to provide the rightful protection could predict people’s local elections in Phatum Thani province at 24.9, to meet together in harmony could predict people’s local elections in Phatum Thani province at 22.0, to honor and respect the elders could predict people’s local elections in Phatum Thani province at 21.5, and to introduce no revolutionary ordinance could predict people’s local elections in Phatum Thani province at 18.4, respectively.
3. The guidelines of promoting the people’s local elections in Phatum Thani province by buddhadhamma integration found that the 7 applying following: 1) to hold regular and frequent meetings means the unity, 2) to introduce no revolutionary ordinance means shared responsibility, 3) to introduce no revolutionary ordinance means compliance with the law, 4) to honor and respect the elders means respecting the worthy person, 5) the women and girls of the families are to dwell without being forced or abducted means the equality and freedom, 6) to honor and worship the monument means giving importance to the people, and to provide the rightful protection means supporting good, moral people. The application of the 7 applying it was at a high level in overall and almost aspects, except to introduce no revolutionary ordinance is was at a moderate level.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|