-
ชื่อเรื่องภาษาไทยมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการจับกุมบุคคลไว้โดยอำนาจรัฐในราชอาณาจักรไทย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษLegal Appropriate Measures to Arrest a Person by State Authority in the Kingdom of Thailand
- ผู้วิจัยพระครูภาวนาโชติคุณ ชุตินฺธโร (แซ่ลิ้ม)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ประเสริฐ ลิ่มประเสริฐ
- ที่ปรึกษา 2ดร.วรพจน์ ถนอมกุล
- วันสำเร็จการศึกษา14/10/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชานิติศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50421
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 77
บทคัดย่อภาษาไทย
การเอาตัวบุคคลไว้ในอํานาจรัฐโดยการจับ การควบคุม หรือการขังก็ด้วยเหตุผล คือ เพื่อให้การดําเนินคดีเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเพื่อประกันการมีตัวผู้ต้องหา หรือจําเลยไว้ในการดําเนินคดี ไม่ใช่เป็นการเอาตัวบุคคลไว้เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน หรือศาลแต่ต้องเป็นการเอาตัวไว้เพราะความจําเป็น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์สองประการดังกล่าวข้างต้น
หาใช่เพื่อความสะดวกในการทํางานขององค์กรในกระบวนการยุติธรรมไม่ ความจําเป็นที่ต้องเอาตัวบุคคลไว้ในอํานาจรัฐนั้น แท้จริงก็คือ เหตุแห่งการออกหมายจับ และเหตุแห่งการออกหมายขัง ซึ่งตามกฎหมายในปัจจุบันเป็นเหตุเดียวกันนั่นเอง การเรียกการจับ การควบคุม การขัง และการนําตัวบุคคลมาไว้ในอํานาจรัฐ เป็นการกระทําที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่กระทบต่อชื่อเสียง หน้าที่การงาน เสรีภาพในความเป็นอยู่เท่านั้น การใช้อํานาจดังกล่าวเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งรัฐจะต้องกระทําไปภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนดไว้และเท่าที่จําเป็นเท่านั้น เพื่อให้การดําเนินคดีอาญาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีหลักประกันว่าในการพิจารณาคดี ตลอดจนการลงโทษ จะต้องมีตัวผู้ต้องหา หรือจําเลยอยู่ด้วยเสมอ รัฐจึงมีความจําเป็น
ต้องจับและควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยว่ากระทําความผิดไว้ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กําหนดให้ศาลเป็นองค์กรเดียวในการออกหมายจับ งานนิพนธ์นี้จึงมุ่งศึกษาถึงวิวัฒนาการ แนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล รวมถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนในการออกหมายจับ โดยการตรวจสอบการออกหมายจับในชั้นเจ้าพนักงาน และผลของการออกหมายจับที่ไม่ชอบ ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการออกหมายจับ เพื่อให้เกิดพัฒนาการในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานในองค์กรกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกหมายจับ โดยยึดหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2560 จากการศึกษาดังกล่าวพบว่า การออกหมายจับของราชอาณาจักรไทยในปัจจุบัน ไม่ได้มีการบัญญัติให้การขอออกหมายของพนักงานสอบสวนผ่านการตรวจสอบและเห็นชอบจากพนักงาน อัยการเสียก่อนเช่นเดียวกับในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศในกลุ่มที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี(Common Law) หรือประเทศในกลุ่มที่ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) ก็ล้วนแต่มีมาตรการในการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ และมีหลักเกณฑในการใชอํานาจรัฐ ไม่ว่าการใช้อํานาจรัฐจะกระทําโดยผ่านเจาหนาที่ของรัฐหรือราษฎร เนื่องจากการใช้อํานาจรัฐเป็นการใช้อํานาจที่สม
ประโยชน์ของทุกฝ่าย ดังนั้น ในเรื่องของการออกหมายจับจึงเป็นการกระทําที่ต้องคํานึงถึงวิธีการปฏิบัติที่ชอบด้วยขั้นตอนตามกฎหมายในการออกหมายจับ โดยในสหรัฐอเมริกาและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้ใช้องค์กรฝ่ายบริหารเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยให้พนักงานอัยการเข้ามาตรวจสอบการออกหมายจับก่อนศาล เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้องและเหตุผลอันสมควรของการจับ เพื่อเอาตัวบุคคลไว้ในอํานาจรัฐ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
To capture a person by State power through arresting and controlling or detention with reason is for properly presecution and for giving the bail for the accused or the defendant in the presecution, not arrest a person due to the convenience of officers or the court but detend a person as less as possible for achieving the two objectives as mentioned above, not for the convenience of work of justice organization. The real necessity to arrest a person by state power is the reason of arrest warrant issuing and reason of detention that is the present law is only reason for arresting, controlling detention and to take a person by state power as the action to be against the freedom of the people, not only impact on the dignity, duty, freedom of living but using the power to limit the rights and personal freedom that the state must follow the rule of law equally, for prosecuting properly and has the principle of garrantee that will take the legal action and punishment that must always have the accused or the defendant. The state must have necessity to arrest and detend the accused by the constitution of Kingdom of Thailand, B.E. 2560 and the code of criminal law that set up the only organization in the arrest. This thesis focuses on study about evolution, concept, theory, and principle of personal freedom protection including the principle, metho and arrest procedure by examining the arrest warrant issuing of the officers and result of illegally arrest warrant issuing. To study the problems and obstacles of arrestment issue for developing the duty working of the officers in the justice organization belated to arrestment issue by sticking the principle of rights protection and personal freedom that must a long with the intention of the consitution of Kingdom of Thailand, B.E. 2560. From the research study, found that the arrest warrant issuing of the Kingdom of Thailand at the present do not have the record or mention the arrest warrant issuing of the officers throug examination and agreement of prosecutor officers like foreign countries. In the group of countries that use the common law or civil law, they have the measures for examining the use of state power and have the principle of using the state power. It does not matter for using the state power through the officers or people, due to the use of state power is as the use of mutual benefits. Therefore, the arrest warrant issuing is the action that must realize the properly legal procedure such as United States of America and the Federal Republic of Germany use the executive organizations by allowing the prosecutor officers to examine the arrest warrant issuing before the court for examining the correction and appropriate reason of arrest for keeping the persons under the state power.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|