โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การจัดการเรียนการสอน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสหบำรุงวิทยา อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษLearning Management by Sufficien Economy According to Suppurisadham 7 of Secondary Sahabumrungwittaya School, Dontom District, Nakornpathom Provice
  • ผู้วิจัยนายอิศรา ธันดา
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สุวัฒสัน รักขันโท
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
  • วันสำเร็จการศึกษา05/10/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50423
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 164

บทคัดย่อภาษาไทย

          การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสหบำรุงวิทยา 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสหบำรุงวิทยา 3) เพื่อเสนอแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสหบำรุงวิทยา รูปแบบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบบทดลองขั้นต้น คือ การวิจัยเชิงทดลอง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักสัปปุริสธรรม7 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสหบำรุงวิทยา อำเภอดอนตูม  จังหวัดนครปฐม โดยใช้แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. การจัดการเรียนการสอนเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนสหบำรุงวิทยา จังหวัดนครปฐม ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.72 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเนื้อหา อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 3.76 รองลงมา คือด้านกิจกรรมการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย = 3.74 และด้านคุณประโยชน์จากชุดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด = 3.69

          2. ผลตามสมมติฐานการจัดการเรียนการสอน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสหบำรุงวิทยา โดยจำแนกตามข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักเรียนที่มีเพศ สถานภาพผู้ปกครอง และการเข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมิฐาน

          3. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ครูควรนึกถึงพฤติกรรมหรือการแสดงออกของนักเรียน โดยพิจารณาจากผลงานหรือชิ้นงานที่เปนหลักฐานเชิงประจักษซึ่งแสดงใหเห็นวานักเรียนเกิดผลลัพธปลายทางตามเกณฑที่กำหนดไวแลว และเกณฑที่ใชประเมินควรเปนเกณฑคุณภาพในรูปของมิติคุณภาพ อยางไรก็ตาม ครูอาจจะมีหลักฐานหรือใชวิธีการอื่น ๆ เชน การทดสอบกอนเรียนและหลังเรียน การสัมภาษณการศึกษาคนควา การฝกปฏิบัติขณะเรียนรูประกอบดวยก็ได้

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

          Management on Sufficiency Economy according to the Seven Sappurisadhamma principles of junior high school students. 2) to compare the learning management achievements on the subject of sufficiency economy according to the Seven Sappurisadhamma principles of junior high school students. 3) to propose a learning management plan on the subject of sufficiency economy according to the Seven Sappurisadhamma principles of junior high school students. Saha Bamrung Witthaya School Qualitative research methodology The preliminary experiment is an experimental research. Regarding teaching and learning on the topic of sufficiency economy according to the seven Sappurisadhamma principles of junior high school students Saha Bamrung Witthaya School, Don Tum District, Nakhon Pathom Province using a single group test before and after the lesson

          The results showed that

          1. The teaching and learning of sufficiency economy according to the principle of Sappurisadhamma 7 Saha Bamrung Wittaya School Nakhon Pathom Province, in all 4 areas, the overall picture is at a high level with an average of 3.72 when considering each side. In order of descending average, it was found that the aspect with the highest mean was the content aspect at a high level with an average = 3.76, followed by teaching and learning activities with an average = 3.74 and Benefits from the learning package has the least mean = 3.69

          2. The hypothesis results of teaching and learning on the subject of sufficiency economy according to the Seven Sappurisadhamma principles of junior high school students. Sahabamrung Wittaya School Classified by personal factor data, it was found that students who parental status and participation in school activities no difference therefore rejecting the hypothesis

          3. Teachers should think about the behavior or expression of the students. It is based on the work or work that is empirical evidence showing that the student achieves the end result according to the predetermined criteria. and the criteria used for evaluation should be quality criteria in terms of quality dimensions. However, teachers may have evidence or use other methods such as pre-tests. and after school Research interviews Practice while learning may also be included.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ