โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ความสังเวช : ปัจจัยแห่งการเปลี่ยนแปลงชีวิตสู่ความหลุดพ้นในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษSaṁvega : A Factor of Life Transformation towards Liberation in Theravada Buddhist Scriptures
  • ผู้วิจัยนายทวีศักดิ์ พัดพาดี
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
  • วันสำเร็จการศึกษา16/11/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50425
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 105

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความสังเวชในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสังเวชกับหลักธรรมอื่นเพื่อความหลุดพ้นและ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสังเวชเป็นปัจจัยแห่งการเปลี่ยนแปลงชีวิตสู่ความหลุดพ้นในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการค้นหาบทบาทสำคัญของความสังเวชในฐานะปัจจัยที่เป็นตัวเร่งสำหรับการเปลี่ยนแปลงชีวิตที่นำไปสู่ความหลุดพ้นภายใต้บริบทของคัมภีร์พุทธเถรวาท การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัยในรูปแบบเอกสารโดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสาร โดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนาและการตีความหมาย โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทให้สอดคล้องตามแต่ละวัตถุประสงค์

ผลการวิจัยพบว่า ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ความหมายของความสังเวชมีหลายความหมาย แต่ความหมายที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงชีวิตสู่ความหลุดพ้นมี 2 อย่างคือ 1) ความรู้ความจริงของชีวิตแล้วสะดุ้งกลัวซึ่งทำให้ เกิดความรู้สึกต้องเร่งรีบปฏิบัติธรรม 2) ความรู้สึกร่าเริง ความรู้สึกกระตือรือร้นในการปฏิบัติธรรม ความสังเวชเป็นปัญญาพร้อมความกลัวบาปที่เป็นกุศลอันเป็นผลจากการคิดใคร่ครวญหรือโยนิโสมนสิการ โดยการรับรู้ด้วยการเห็นแล้วคิดด้วยตนเอง (จินตมยปัญญา) หรือการรับรู้ด้วยการฟัง (สุตมยปัญญา) ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความสังเวชเรียกว่าสังเวควัตถุ 8 อันได้แก่ การเกิด การเเก่ การเจ็บ การตาย ทุกข์ในอบาย ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลเหตุในอดีต ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลเหตุในอนาคต และทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูลเหตุในปัจจุบัน ในการปฏิบัติธรรมใช้สังเวควัตถุในการพิจารณาทำจิตให้เกิดสังเวช หรือทำให้จิตใจร่าเริงเพื่อดำเนินต่อไปในภาวนา โดยภาพรวมความสังเวชเป็นปัจจัยกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผ่านกระบวนการเห็น กระบวนการคิดหรือเสวนากับสัตบุรุษ และกระบวนปฏิบัติธรรมได้แก่การพัฒนาพฤติกรรมทางกาย วาจา และใจ หรือศีล การพัฒนาจิตหรือสมาธิ และการพัฒนาปัญญา

การวิจัยเน้นย้ำให้เห็นถึงธรรมะอันเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการดับทุกข์คือโยนิโสมนสิการและศรัทธาปสาทะในพระพุทธเจ้าว่าเป็นหลักธรรมพื้นฐานที่ส่งเสริมการบ่มเพาะความสังเวช นอกจากนี้ การศึกษายังเผยให้เห็นถึงบทบาทของความสังเวชในการพัฒนาความสามารถทางจิตห้าประการหรืออินทรีย์ห้า อันเป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาชีวิตหรือการปฏิบัติธรรม ทำให้จิตร่าเริง เบิกบาน ผ่องใส ส่งเสริมการเจริญสมาธิ ส่งผลต่อจิตใจที่เจริญงอกงามในการปฏิบัติธรรม ความสังเวชยังเป็นเหตุให้เกิดความเพียรที่ส่งเสริมการพัฒนาทั้งสมาธิและปัญญา การพิจารณาถึงความสังเวชในกระบวนการพัฒนาจิตใจและปัญญาโดยการสร้างแรงบันดาลใจ ความชัดเจน และความรู้ความเข้าใจในสัจธรรมของชีวิต

ในกระบวนการปฏิบัติธรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฎกนั้น ความสังเวชร่วมกับความศรัทธาในพระพุทธเจ้าทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงระหว่างวงจรการเกิดทุกข์หรือสภาวะที่ไม่น่าพึงพอใจในชีวิตทางโลกียะกับหนทางเพื่อความดับทุกข์หรือเส้นทางโลกุตระ ความสังเวชทำหน้าที่เป็นพลังนำทางจากความรู้สึกเร่งด่วน สร้างแรงบันดาลใจการเปลี่ยนแปลงภายในจากความเพียรที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงชีวิตเพื่อความหลุดพ้น ความสังเวชปรากฏหลายแห่งในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท งานวิจัยนี้นำเสนอกรณีศึกษาที่น่าสนใจมาสนับสนุนผลกระทบของความสังเวชในการชี้นำผู้แสวงหาประสบการณ์เปลี่ยนแปลงชีวิตและการแสวงหาอิสรภาพขั้นสูงสุด การค้นคว้านี้มีส่วนช่วยให้เข้าใจยิ่งขึ้นเกี่ยวกับความสำคัญของความสังเวช โดยชี้ให้เห็นถึงบทบาทของความสังเวชว่าเป็นปัจจัยที่มีศักยภาพในการผลักดันบุคคลไปสู่การเปลี่ยนแปลงชีวิตสู่ความหลุดพ้นในพุทธศาสนาเถรวาท

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               The research titled “Saṁvega: A Factor of Life Transformation towards Liberation in Theravada Buddhist Scriptures” aimed to: (1) study Saṁvega in Theravada Buddhist scriptures; (2) study the correlation between Saṁvega and various Dhamma principles for liberation; and (3) analyze Saṁvega as a factor in life change towards liberation based on Theravada Buddhist scriptures. The study employs a qualitative research methodology.

              The research findings pertaining to the Theravada Buddhist scriptures elucidate diverse interpretations of the term “Saṁvega” within Theravada Buddhist scriptures. However, Saṁvega is delineated into two pivotal facets essential for instigating transformative change leading to liberation. Firstly, it involves an awakening to the profound truths of existence, coupled with a visceral fear that compels an urgency to engage in Dhamma practice. Secondly, it is an intrinsic joy and enthusiasm during Dhamma practice. Saṁvega is wholesome fear and wisdom derived from contemplation (Yonisomanasikāra). The research identifies the “8 Saṁvega-objects” encapsulating fundamental aspects of human suffering within the Dhamma, such as birth, aging, sickness, death, moral failings, karmic consequences, future anticipation of suffering, and contemporary struggles for sustenance. The perception of Saṁvega is achieved through personal seeing and reflection (Cintamayapaññā) or through attentive listening and contemplation (Sutamayapaññā). The Dhamma, as the root cause of suffering, is encapsulated by the “8 Saṁvega-objects,” encompassing the following: birth, aging, sickness, death, the suffering inherent in moral failings, the cyclical nature of suffering stemming from past actions, the anticipation of future suffering, and the contemporary suffering associated with the pursuit of sustenance.In summary, Saṁvega serves as a potent motivator for catalyzing transformative change and inspiring personal evolution through the process of seeing, receptive listening, and a systematic practice regimen. This practice regimen comprises three fundamental components: the cultivation of ethical conduct (Sila), the refinement of mental faculties and concentration (Samādhi), and the acquisition of profound wisdom (Paññā), collectively propelling individuals towards spiritual growth and enlightenment.

              The research emphasizes the essential significance of Yonisomanasikāra (Reasoned attention) and Saddhā (Confidence) in Buddha as fundamental Dhamma principles that foster the cultivation of Saṁvega. Moreover, the study reveals Saṁvega's role in developing Indriya (Mental faculties) as a pivotal step in Dhamma practice, promoting the cultivation of Samādhi (Concentration). This contributes to exuberant mind during meditation and the cultivation of wisdom by inspiring motivation, clarity, and insight into the truth of life.

Functioning as the crucial link in transformation between the nature of Dukkha, experienced in life in the mundane existence, and the enlightened pathway, Savega, together with Saddhā in Buddha, functions as a guiding force, inspiring internal changes that lead to life transformation for liberation. Extracting from Theravada Buddhist scriptures, the research provides compelling case studies, supporting the meaningful influence of Savega in guiding seekers towards life-changing experiences and the ultimate pursuit of liberation. The findings contribute to a deeper understanding of Savega's significance, clarifying its role as a crucial factor in driving individuals towards the transformative journey of liberation within the Theravada Buddhist tradition.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ