โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด: กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดบุรีรัมย์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Guideline of the Application of Buddhist Principle for Resolving the Drug Adducting: A Case Study of the Youth in Juvenile Observation and Protection of Buriram Province
  • ผู้วิจัยพระประวิทย์ ปวิชฺโช (ปานทอง)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาพจน์ สุวโจ, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาถนอม อานนฺโท, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา14/12/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50431
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 85

บทคัดย่อภาษาไทย

        วิทยานิพนธ์เรื่อง “แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด: กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดบุรีรัมย์” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเยาวชนกับยาเสพติดในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับการแก้ปัญหายาเสพติดของเด็กและเยาวชน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดบุรีรัมย์ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กล่าวคือ เป็นการวิจัยเชิงเอกสารและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเป็นการออกแบบเครื่องมือเพื่อสำรวจความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจ เจ้าหน้าที่ผู้ดูแล และผู้ปกครอง รวม 25 คน แล้วนำมาวิเคราะห์พร้อมนำเสนอด้วยการพรรณนา

             ผลการวิจัยพบว่า

           1. สภาพปัญหาเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.62 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงมาก คือข้อ 4 ว่า ข้าพเจ้าเห็นว่าความอ่อนไหวทางจิตใจและอารมณ์มีผลต่อการติดยาเสพติด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 รองลงมา คือข้อ 5 ว่า ข้าพเจ้าเห็นว่าสภาพแวดล้อมในชุมชนมีผลต่อการเสพยาเสพติด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือข้อ 6 ว่า ข้าพเจ้าเห็นว่าการขาดหลักธรรมยึดเหนี่ยวจิตใจมีผลต่อการติดยาเสพติด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.12 อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ สภาพปัญหาเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน 

           2. หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหายาเสพติดของเด็กและเยาวชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงมาก คือข้อ 4 ว่า ข้าพเจ้าเห็นว่าหากสังคมรอบข้างพร้อมให้อภัยคนติดยาเสพติดก็สามารถทำให้คนติดยาเป็นคนดีของสังคมได้ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 รองลงมา คือข้อ 3 ว่า ข้าพเจ้าเห็นว่าการเลือกคบเพื่อนที่เป็นกัลยาณมิตรทำให้ห่างไกลจากยาเสพติดได้ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือข้อ 6 ว่า ข้าพเจ้าเห็นว่าการพิจารณาเลือกรับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้องสามารถห่างไกลจากยาเสพติดได้ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.62  อย่างไรก็ตาม หาพิจารณาตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหายาเสพติดของเด็กและเยาวชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

             3. แนวทางประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 3 ข้อ นอกนั้นอยู่ในระดับมากทุกข้อ ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.16 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงมากที่สุด จำนวน 3 ข้อ คือข้อ 10 ว่า ข้าพเจ้าเข้าใจดีว่ายาเสพติดเป็นภัยต่อสังคม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 ข้อ 11 ว่า ข้าพเจ้ารู้ดีว่ายาเสพติดมีอันตรายต่อตนเองและครอบครัว ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56, และข้อ 1 ว่า ข้าพเจ้าเห็นว่าเยาวชนควรรับฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำสั่งสอนของบิดามารดา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 รองลงมา คือข้อ 8 ว่า ข้าพเจ้าเชื่อว่าหากสามารถควบคุมอารมณ์การอยากรู้อยากลองจะสามารถละเว้นยาเสพติดได้  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือข้อ 14 ว่า ข้าพเจ้าเห็นว่าความอยากรู้อยากลองและขาดสติยั้งคิดเป็นหนทางในการเสพยาเสพติด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.68 อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ แนวทางประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 3 ข้อ นอกนั้น อยู่ในระดับมากทุกข้อ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

             The thesis title “The Guidline of the Application of Buddhist Principle for Resolving the Drug Adducting: A Case Study of the Youth In Juvenile Observation and Protection of Buriram Province” consists of 3 objectives: 1) to study the problems of the youth with drugs in the juvenile observation and protection of Buriram Province, 2) to study the Buddhist principles for solving drug problems of the youth, and 3) to study applied guideline of Buddhist principle for resolving of drug adducting of the youth in Juvenile Observation and Protection of Buriram Province. This is a mixed method research, combined both documentary research and quantitative research. This designed an instrument to survey opinions of the youth of the Juvenile Observation and Protection, officials and parents total of 25 persons. Then, details are used by analysis and presented by descriptions.

             The research results found that:  
             1. The problems of the youth related to drugs in the Juvenile Observation and Protection of Buriram Province was very high of all numbers. The mean score () was 3.62.  Having considered each questionnaire, it found that the very high mean score was the questionnaire no. 4 ‘I agree that mental and emotional sensitivity impacts to drug addiction’. The mean score () was 3.97. Second, the questionnaire no. 5 ‘I agree that the community environment impacts to drug addiction’. The mean score () was 3.85. The least mean score was the questionnaire no. 6 ‘I agree that the lack of moral principles to mental observe impacting to drug addiction’. The mean score () was 3.12. However, having considered the criteria established, the problems of the youth related to drugs in the Juvenile Observation and Protection of Buriram Province is very high of all numbers.

             2. The Buddhist principles for solving drug problems of the youth were very high of all numbers. The mean score () was 4.07. Having considered each questionnaire, it found that the very high mean score was questionnaire no. 4 ‘I agree that if society around was willing to forgive drug addicts, the drug person could be a good person of society’. The mean score () was 4.62.  Secondly, the questionnaire no. 3 ‘I agree that to make friends who are good friends can leave from drugs’. The mean score () was 4.29. For the least mean score was the questionnaire no. 6 ‘I agree that to receive information reasonably can be far from drugs’. The mean score () was 3.62. However, having considered the criteria established, the Buddhist principles for solving drug problems of the youth was very high.

             3. An applied guideline of Buddhist principle for resolving of drug adducting of the youth in Juvenile Observation and Protection of Buriram province were very high of all numbers. 3 questionnaires were the highest. The rest was very high. The mean score () of 3 questionnaire was 4.16. Having considered each questionnaire, it found that the highest mean score of 3 questionnaire as follows; 1) the questionnaire no. 10 ‘I understand that drugs are a threat to society’. The mean score () was 4.71, 2) the questionnaire no. 11 ‘I understand that drugs are harmful to myself and my family’. The mean score () was 4.56 and 3) the questionnaire no. 1 ‘I understand that the youth should listen to and follow the instruction of their parents’. The mean score () was 4.50.  Second, the questionnaire no. 8 ‘I believe that if one can control one's emotions and curiosity, one can abstain from drugs’. The mean score () was 4.35. For the least mean score, the questionnaire no. 14 ‘I understand that curiosity and lack of consciousness are the ways to use drugs’. The mean score () was 3.68. However, having considered the criteria established, an applied guideline of Buddhist principle for resolving of drug adducting of the youth in Juvenile Observation and Protection of Buriram Province was the highest of 3 numbers. The rest was high of all numbers.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ