โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Guideline of Application of Buddhist Principle for Administration of Phrapariyatthidhamma School, General Education Section of Buriram Province
  • ผู้วิจัยพระปลัดศุภชัย สุนฺทโร (เพ็งสระเกต)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาถนอม อานนฺโท, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาพจน์ สุวโจ, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา14/12/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50432
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 39

บทคัดย่อภาษาไทย

       วิทยานิพนธ์เรื่อง แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม  แผนกสามัญศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา

                ผลการวิจัยพบว่า
           สภาพปัญหาการบริหารจัดการในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1) ปัญหาด้านการบริหารวิชาการ พบว่า ผู้สอนรับผิดชอบงานสอนมากเกินไป การแบ่งภาระงานด้านวิชาการไม่ชัดเจน กลุ่มสาระการเรียนรู้มากเกินไป ครูไม่มีความรู้ความชำนาญ และไม่ตรงกับวิชาเอกที่สำเร็จการศึกษามา ขาดงบประมาณการจัดซื้อสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยและมีคุณภาพ 2) ปัญหาด้านการเรียนการสอน พบว่า ขาดอุปกรณ์การเรียนการสอน ไม่มีห้องปฏิบัติการของแต่ละกลุ่มสาระ ปัญหาความไม่ต่อเนื่องของการเรียนการสอน ครูขาดประสบการณ์หรือความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้เรียนมุ่งเน้นการเข้าหาสิ่งบันเทิงและขาดความตั้งใจในการเรียนรู้ อุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน และ 3) ปัญหาด้านการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร พบว่า ครูแต่ละกลุ่มสาระวิชาจัดทำแผนและหลักสูตรยังไม่ชัดเจน หลักสูตรแกนกลางของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ยังไม่เชื่อมโยงกับบริบทของนักเรียน

              หลักพุทธธรรมในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย 1) หลักอิทธิบาท 4 หมายถึง การส่งเสริมให้เกิดความพึงพอใจต่อการศึกษาเล่าเรียนมากที่สุด ถัดมาเป็นการเตือนตนให้มุ่งมั่นต่อการศึกษาเล่าเรียน จากนั้นเป็นความเพียรพยายามในการเรียน และสุดท้ายเอาใจฝักใฝ่ต่อการศึกษาเล่าเรียนจนถึงเป้าหมาย 2) หลักสัจจะ 5 หมายถึง การพูดแต่คำที่มีประโยชน์ ไม่ก่อใหเกิดโทษ เป็นคำพูดที่ผู้พูดมีความเข้าใจในเรื่องนั้น และผู้พูดจะต้องมีความรับผิดชอบต่อเรื่องที่ตนพูด 3) หลักอัตถะ 3 หมายถึง การมุ่งเน้นในสิ่งที่พึงมีพึงได้ตามสมควรหรือพอดีแก่การประพฤติ และการเข้าถึงประโยชน์อันพึงได้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นจุดหมายพื้นฐานของชีวิตกล่าวคือความสุข และ 4) หลักพละ 5 หมายถึง คำสอนสำหรับผู้ประกอบหน้าที่การงาน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นหัวหน้า เป็นพลังสร้างความมั่นใจในการดำเนินงาน เพื่อส่งผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

                การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า  ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู และนักเรียน สามารถประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 กับการเรียนการสอน โดยสร้างความพึงพอใจต่อการศึกษาเล่าเรียน  เอาใจฝักใฝ่ต่อเนื่องไม่ถอดใจ สอดคล้องกับหลักสัจจะ 5 ซึ่งเน้นให้ทุกคนรับผิดชอบหน้าที่ของตนไม่ทิ้งงาน มุ่งมั่นแน่วแน่ เพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น ส่วนพละ 5 เป็นการสร้างศรัทธาโดยเฉพาะการร่วมแรงร่วมใจกันปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์ความรู้ความลึกซึ้งในรายวิชา และมีความทันสมัยตามความต้องการของผู้เรียน หลักธรรมดังกล่าวมิใช่เป็นการแยกลงมือทำเฉพาะส่วน แต่เป็นการผสมผสานทำร่วมกัน ด้วยการพิจารณาตามความเหมาะสมของบุคคลและเหตุการณ์ โดยมีวัตถุประสงค์หนึ่งเดียว คือการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ ให้มีประสิทธิภาพสามารถสร้างคนสร้างงานจนเกิดประโยชน์สูงสุด

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The thesis title The Guideline of the Application of Buddhist Principle for Administration of Phrapariyatthidhamma School, General Education Section of Buriram Provinceconsists of 3 objectives: 1) to study problem background for administration in Phrapariyattidhamma schools, General Education Section of Buriram Province, 2) To study Buddhist principle for administration of Phrapariyattidhamma School, General Education Section of Buriram Province, and 3) to study guidelines for application of Buddhist principles for administration of Phrapariyattidhamma School, General Education Section of Buriram Province. This thesis is a field-qualitative research. The method is used by analyzing information from the Tripitaka, academic documents on Buddhism and related researches. Then, research is presented by method of descriptive analysis.

The research result found that:
             The problems background for administration of Phrapariyatthidhamma School, General Education Section of Buriram Province could be divided into 3 sections: 1) problems on academic administration found that teachers took responsible a lot of subjects, to divide teaching work on academic not clear, a group of learning subject too much, teachers lacked of knowledge and not combine with major subject. School lacked of budget to purchase modern and potential equipments, 2) problems on teaching found that school lacked of teaching materials, lacked of laboratory for group subject, learning not continuity, teachers without experience or expertise by using technology equipment. Students focused on entertainment and no learning intention. Insufficient equipment for the needs of learners, and 3) problems in curriculum improvement and development found that teacher of subject group designed plan and curriculum unclear. The core curriculum of Phrapariyatthidhamma School, General Education Section was not suitable for the context of students.

A Buddhist principle for administration of Phrapariyattidhamma School, General Education Section of Buriram Province consists of 4 sections; 1) 4 accomplishment (Iddhipāda) meant to promote satisfaction with education as much as possible, to remind oneself focusing on studying, to persevere in studying and finally to focus on studying until reach the goal, 2) 5 Truth (sacca) meant to speak only useful words, no harm word. The speaker understood about what he said. The speaker must be responsible for what he said, 3) 3 benefits (attha) meant to focus on what was right or appropriate, to do and access to the benefits of present life, which was the basic goal of happiness, and 4) 5 strength (bala) meant the teaching for those who were workers especially those who were leaders. It powerful made for work and directed to the target.

              A guidelines for application of Buddhist principles for administration of Phrapariyattidhamma School, General Education Section of Buriram Province found that school administrators, teachers and students could apply 4 accomplishment (Iddhipāda) to teach by making satisfaction for learning. One continued their desire and combined with 5 Truth (sacca). This emphasized that everyone was responsible for ones’ duties without leaving their work and been contention for one’s and other’s benefit. 5 strength (bala), it made faith especially in improving curriculum development and teaching materials. This enhanced knowledge and understood of subjects and modernity according to the needs of learners. These principle were not separate individuals but a combination. It should be consider according to suitable person and properly situation. The only purpose was to develop Phrapariyattidhamma School, General Education Section of Buriram Province to be effective in creating jobs for the highest benefit.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ