โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แนวทางการสร้างสุขด้วยหลักพุทธธรรมของชุมชนตำบลสลักได อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษGuidelines for Creating Happiness by Using Buddhist Principles of the Salakdai Sub-district Community Mueang Surin District, Surin Province
  • ผู้วิจัยพระครูภัทรธรรมนิทัศน์ (ทรรศชล อาภสฺสโร)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาพจน์ สุวโจ, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาถนอม อานนฺโท, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา14/12/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50434
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 57

บทคัดย่อภาษาไทย

           วิทยานิพนธ์เรื่อง “แนวทางการสร้างสุขด้วยหลักพุทธธรรมของชุมชนตำบลสลักได อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของชุมชนตำบลสลักได อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการสร้างสุขทางสังคมในการอยู่ร่วมกัน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างสุขด้วยหลักพุทธธรรมของชุมชน ตำบลสลักได อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม โดยศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสาร และงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการเขียนพรรณนาเชิงวิเคราะห์

             ผลการวิจัยพบว่า
       สภาพปัญหาของชุมชนตำบลสลักได อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ชุมชนขาดความน่าเชื่อถือไว้ใจกัน ไม่เกื้อกูลกัน และขาดความสามัคคีกัน เนื่องจากชุมชนตำบลสลักไดมีหลายชาติพันธุ์อยู่รวมในตำบลเดียวกัน ส่วนใหญ่ประชาชนดำเนินชีวิตด้วยการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันตามวิถีชนบท เฉพาะผู้นำและสมาชิกบางคนขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ไม่เข้าร่วมประชุมตามวาระ จึงมีความคิดไม่ตรงกัน ทำให้สมาชิกส่วนใหญ่ขาดความน่าเชื่อถือ บางครั้งรับฟังข้อมูลข่าวสารเพียงด้านเดียว หรือสื่อสารไม่เข้าใจกัน จนนำไปสู่ความขัดแย้ง ถัดมาชุมชนขาดการสงเคราะห์เกื้อกูลกัน มีความคิดเห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบ ชิงดีชิงเด่นกัน นอกจากนั้น ชุมชนยังมีปัญหาด้านการครองชีพ ต้องดิ้นรนขวนขวายหางานทำ เป็นสาเหตุทำให้ขาดความสามัคคีกัน

            หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการสร้างสุข ประกอบด้วย 1) ศีล 5 หมายถึง หลักธรรมในการปฏิบัติเพื่องดเง้นการกระทำผิดทางกายและทางวาจา เป็นกติกาพื้นฐานทางสังคมที่ทุกคนจะต้องช่วยกันรักษา เพื่อความผาสุกดีงามของสังคม 2) สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมสำหรับยึดเหนี่ยวน้ำใจ ผูกไมตรี และประสานคนในชุมชนให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยไร้ความขัดแย้ง เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการสร้างความสามัคคี และ 3) สาราณียธรรม 6 หมายถึง หลักธรรมเสริมสร้างสังคมให้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้วยการหวังดีและปรารถนาดีต่อกัน แบ่งปันตามความจำเป็นและเหมาะสมกับสังคม ไม่ทะเลาะวิวาทกัน มีความพร้อมเพรียงเป็นอันเดียวกัน หลักธรรมเหล่านี้เป็นบ่อเกิดแห่งความสำเร็จ และเป็นแหล่งพลังอันยิ่งใหญ่ที่สามารถสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า

          แนวทางการสร้างสุขด้วยหลักพุทธธรรมของชุมชนตำบลสลักได อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย 1) หลักศีล 5 พบว่า การรักษาศีล 5 ครบถ้วนทุกข้อ สามารถทำให้ชุมชนสงบสุข ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง ไม่สร้างความวุ่นวาย เพราะไม่มีการละเมิดสิทธิผู้อื่น ทุกคนในชุมชนควรมองว่าศีล 5 เป็นคุณธรรมพื้นฐานสามารถปฏิบัติได้ทุกคน และเป็นหน้าที่ของทุกคนในชุมชนต้องร่วมมือกันปฏิบัติ 2) หลักสังคหวัตถุ 4 พบว่า เป็นหลักธรรมอันดีงามของสังคม เพราะสามารถสร้างชุมชนให้เป็นสังคมแห่งการเกื้อกูลกันและกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน พร้อมมีความปรารถนาดีต่อกัน เป็นหลักธรรมเกื้อกูลต่อการสร้างความสามัคคีของชุมชน และ 3) หลักสาราณียธรรม 6 พบว่า เป็นหลักธรรมเหมาะสมกับสังคม เพราะสามารถนำมาปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม สามารถส่งเสริมชุมชนให้สร้างความน่าเชื่อถือกันและกัน มีความเกื้อกูล เข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน ยอมรับในความแตกต่างของกันและกัน มีความสามัคคีและพึ่งพาอาศัยกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หลักธรรมเหล่านี้ควรมีการส่งเสริมและประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม เพื่อความผาสุกและความดีงามของชุมชน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The thesis tittle “Guidelines for Creating Happiness By Using Buddhist Principles of the Salakdai Sub-district Community Mueang Surin District, Surin Province” has 3 objectives; 1) to study the problems of the Salakdai sub-district community, Mueang Surin District, Surin Province, 2) to study Buddhist principles related to happiness making of society and 3) to be guidelines for creating happiness by using Buddhist principles of the Salakdai sub-district community, Mueang Surin District, Surin Province. This is fieldwork qualitative research. The analyzing data were brought from Tripitaka, commentaries, documents and academic works. The presenting data were used by analytical descriptive writing.

The research results found that:
               The problem of Salakdai sub-district, Mueang Surin District, Surin Province found that the community lacked of trust each other, no helping and no unity because of this community lived with many ethnic groups. Mostly people lived with relying on each other in rural ways. Only leaders and some members had no responsibilities. They did not attend meetings on any agenda, thus it caused lot of members losing credibility. Sometime community communicated only one way or misunderstood communication, therefore, it brought to confliction. Next, the community had no support for each other, it was selfish, greedy and rivalry. Moreover, it faced with cost living by struggling for job, this caused no unity.

The Buddhist principles created happiness consist of 3 sections; 1) five precepts: it meant the principles of practice to suppress wrong thing by physical and verbal. This was a basic social rules. Everyone must observe for the well-being of society,                                 2) 4 objectives of sympathy (Sangahavatthu): it meant the principle for holding mind, friendship and coordinating people in the community. It gathered community with happiness without conflict. It was an important factor for solidarity and 3) 6 states of conciliation (Saraniyadhamma): it meant the principle strengthened society by wishing well for each other, shared necessary and appropriate for society and did not quarreling with each other. These principles were the source of success and a great source of power for creating progress.

The guidelines for creating happiness by using the Buddhist principles of Salak Dai sub-district Community, Mueang Surin District, Surin Province consists of 3 sections; 1) five precepts found that observing five precepts could make communities peaceful, did not quarrel and cause no disturbance because there is no violation of rights. Everyone in the community should view five precepts as a basic virtue that everyone in the community must work together, 2) 4 objectives of sympathy (Sangahavatthu) found that it was good for society, because it could create a society of mutual cooperation, generosity and goodwill. It was the principle for unity of community and 3) 6 states of conciliation (Saraniyadhamma) found that it was appropriate for society because it could be practice properly to promote mutual trust and understanding. It accepted each other's differences, being united and helped each other. These principles should be promoted and applied for the well-being of the community.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ