-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาวิเคราะห์สติปัฏฐาน 4 ในอานาปานสติ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of the Four Foundations of Mindfulness in Ānāpānasati
- ผู้วิจัยพระครูประจักษ์วิริยาทร (วีระศักดิ์ สิริธโร)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาพจน์ สุวโจ, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระครูศรีปัญญาวิกรม, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา14/12/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50435
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 97
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์สติปัฏฐาน 4 ในอานาปานสติ” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักคำสอนเกี่ยวกับอานาปานสติที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาหลักคำสอนเกี่ยวกับสติปัฏฐาน 4 ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สติปัฏฐาน 4 ในอานาปานสติ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้ศึกษาได้ค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร ( Documentary Research) ได้ข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวกับความหมาย หลักการเบื้องต้น หลักการเจริญ อานิสงส์ ของอานาปานสติ และสติปัฏฐาน 4 ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
ผลการวิจัยพบว่า
อานาปานสติหมายถึงการมีสติในการกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นวิหารธรรมของพระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้า พระอริยเจ้าที่เป็นมหาบุรุษ พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญมากกว่าวิธีการเจริญสติภาวนาอื่น ๆ มีอารมณ์การเจริญและผลที่สงบ ทรงตรัสการเจริญอานาปานสติอย่างพิสดารมี 16 ขั้น ตั้งแต่ลมยาว ลมสั้น รู้กองลมทั้งปวง ทำลมให้ระงับ รู้ปิติ รู้สุข รู้จิตตสังขาร รู้ทำจิตตสังขารให้ระงับ รู้จิต ทำจิตให้ปราโมทย์ ทำจิตให้ตั้งมั่น ทำจิตให้หลุดพ้น พิจารณาความไม่เที่ยง ความจางคลาย ความดับ ความสลัดคืน อานาปานสติเป็นการเจริญทั้งสมถะ และวิปัสสนา การเจริญอานาปานสติทำให้มีความสุขสงบในปัจจุบันทั้งทางกายและจิตใจ มีสติและสัมปชัญญะ ดับอกุศลธรรม บรรลุฌาน พิจารณาธรรม ละสังโยชน์ สิ้นอาสวะ บรรลุมรรคผลนิพพาน ดับความทุกข์ได้ อานาปานสติเมื่อเจริญให้มากทำให้มากแล้วย่อมทำสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน 4 เจริญให้มากย่อมทำโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ 7 เจริญให้มากย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน 4 คือการกำหนดพิจาณาธรรมอันเป็นที่ตั้งของสติ เป็นหนทางเอก เป็นทางที่ดับทุกข์และโทมนัส การบรรลุที่ถูกต้อง มี 4 อย่าง คือ กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธัมมานุปัสสนา โดยมีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นกายในกาย พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา พิจารณาเห็นจิตในจิต พิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามความเป็นจริง สามารถถอนความพอใจ และความไม่พอใจในโลกออกได้ ทำให้มีความสุขในปัจจุบัน ทำให้เกิดญาณทัสสนะ มีสติสัมปชัญญะ บรรลุมรรค ผล นิพพาน ดับความทุกข์ โทมนัสและปัญหาทั้งปวงได้
สติปัฏฐาน 4 ในอานาปานสติ อานาปานสติเมื่อเจริญให้มากย่อมทำสติปัฏฐาน 4 ให้สมบูรณ์ หมวดที่ 1 กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน รู้สึกตัวหายใจเข้ายาวออกยาว รู้สึกตัวหายใจเข้าสั้นออกสั้น รู้พร้อมกายทั้งปวงหายใจเข้าออก ทำกายสังขารให้ระงับหายใจเข้าออก ลมหายใจเข้าออกเป็นกายอย่างหนึ่งในกายทั้งหลาย จัดเป็นกายานุปัสสนา หมวดที่ 2 เวทนานุปัสนาสติปัฏฐาน รู้พร้อมปิติ รู้พร้อมสุข รู้พร้อมจิตสังขาร ทำจิตสังขารให้ระงับ หายใจเข้าออก การทำในใจเป็นอย่างดีในลมหายใจเข้าออกเป็นเวทนาอย่างหนึ่งในเวทนาทั้งหลาย จัดเป็นเวทนานุปัสสนา หมวดที่ 3 จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน รู้พร้อมจิต ทำจิตให้ปราโมทย์ ทำจิตให้ตั้งมั่น ทำจิตให้ปล่อยอิสระ หายใจเข้าออก อานาปานสติเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ จัดเป็นจิตตานุปัสสนา หมวดที่ 4 ธัมมานุปัสนาสติปัฏฐาน พิจารณาความไม่เที่ยง ความจางคลาย ความดับ ความสลัดคืน หายใจเข้าออก การเข้าไปเพ่งเฉพาะและเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายนั้นด้วยปัญญา จัดเป็นธัมมานุปัสสนา เมื่อเจริญอานาปานสติจึงเท่ากับเจริญสติปัฏฐาน 4 ด้วย คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis is “An Analytical Study of the Four Mindfulness Foundations in Ānāpānasati” has 3 objectives: 1) to study the doctrines regarding Ānāpānasati that appear in the Theravada Buddhist scriptures; 2) to study the doctrines regarding the 4 mindfulness foundations that appear in the Theravada Buddhist scriptures. 3) to study and analyze the 4 mindfulness foundations in Ānāpānasati. This research is qualitative research in which researched information from documents that obtained information from the Tripitaka, Commentary, books, and research related to meaning about basic principles, principles of development, benefits of Ānāpānasati and the 4 mindfulness principles that appear in Theravada Buddhist scriptures.
The research results showed that:
Ānāpānasati means being mindful of breathing in and out. It is a Dhamma temple of Bodhisattvas, Buddhas, and noble men who are great men. The Lord Buddha praised it more than any other method of mindfulness meditation. It has a progressive mood and a calming effect. He spoke of developing Ānāpānasati in a peculiar way, with 16 steps, starting with long winds and short winds, knowing all winds, calming winds, knowing joy, knowing happiness, knowing the mind's body. Know how to make the mind calm. Know how to make the mind happy. Make your mind steady. Free your mind Consider impermanence, fading away, extinguishing, returning. Ānāpānasati is the practice of both samatha and vipassanā. Practicing Ānāpānasati brings happiness and peace in the present, both physically and mentally.
Satipatthāna is the determination of the Dhamma that is the foundation of mindfulness. It is the primary path, the path that terminates suffering and sorrow. There are four types of correct attainment: Kayānupassanā and Vedanānupassanā, Cittā nupassanā and Dhammānupassanā with diligence, awareness, and mindfulness. Consider the body in the body. Consider the feeling in the feeling. Consider the mind in the mind. Consider and see the Dhamma in the Dhamma as impermanent, dukkha, and anattā as it really is able to withdraw satisfaction and dissatisfaction in the world. Making you happy in the present causing intuition. Be mindful and aware and attain the path, results, nirvāna, and end all suffering, sorrow, and problems.
The 4 Satipatthāna in Ānāpānasati. Ānāpānasati, when developed to a great extent, will complete the 4 Satipatthāna. Section 1: Kāyānupassanā Satipatthāna. Feel yourself breathing in long and exhaling. Feel yourself breathing in short and exhaling short. Be aware of the whole-body breathing in and out. Make your body stop breathing in and out. Breathing in and out is one thing among all bodies. Classified as Kāyānupassanā. Section 2: Vedānupassanā Satipatthāna, knowing with joy, knowing with happiness, knowing with consciousness. Make the mental body calm, breathe in and out. Doing well in the mind in breathing in and out is one of the sensations among all sensations. Classified as Vedanā Nupassanā. Section 3: Cittānupassanā Satipatthāna, knowing with the mind, making the mind happy. Make your mind steady. Set your mind free, breathe in and out. Ānāpānasati is something that is available to people who have forgotten consciousness. no sense Classified as Cittā Nupassanā. Section 4 Dhammānupassanā Satipatthāna consider impermanence, fading away, extinguishing, returning, breathing in and out, focusing only and seeing with wisdom the abandonment of all covetousness and sorrow. Classified as Dhammānupassanā. When one develops Ānāpānasati, it is equivalent to cultivating the four foundations of mindfulness: body, feelings, mind and dhamma.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|