โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพหุวัฒนธรรม ตามหลักกัลยาณมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษGuidelines for Academic Administration According to the Principles of Kalyanamitta of Multicultural Schools under the Office of Phra Nakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area 1
  • ผู้วิจัยนางสาวศุภัชฌา สระทองอินทร์
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.พีรวัฒน์ ชัยสุข
  • ที่ปรึกษา 2ดร.ทองดี ศรีตระการ
  • วันสำเร็จการศึกษา20/01/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50437
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 18

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพหุวัฒนธรรม 2. เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพหุวัฒนธรรมตามหลักกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา3.เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนางานด้านวิชาการของโรงเรียนพหุวัฒนธรรมตามหลักกัลยาณมิตรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต1ซึ่งมีรูปแบบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 95 คน สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความต้องการจำเป็น และเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 รูป/คน สถิติที่ใช้เป็นแบบวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพหุวัฒนธรรม   โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวางแผนงานวิชาการ ด้านการพัฒนาหลักสูตรและด้านการวัดและประเมินผล ตามลำดับ

2. ผลการศึกษาวิธีการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพหุวัฒนธรรมตามหลักกัลยาณมิตร มีวิธีการดังนี 2.1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร ผู้บริหารต้องบูรณาการหลักสูตรสถานศึกษาให้มีความหลากหลายทุกมิติทางเชื้อชาติ ศาสนา ตามประเพณีอย่างเอื้ออาทรอย่างเป็นกัลยาณมิตรน่ายกย่อง น่าเจริญใจ (ภาวนีโย) ทำให้ระลึกและซาบซึ้งใจ 2.2) ด้านการวางแผนวิชาการ ผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษาต้องร่วมมือกันในการพัฒนางานวิชาการในทุกมิติกับพหุวัฒนธรรม  และหลักกัลยาณมิตรกับทุกคน ด้วยความอดทน รับฟังข้อเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์ (วจนกฺขโม)    2.3) ด้านการจัดการเรียนการสอน ครูต้องมีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย ในการนำเนื้อหามาบูรณาการกับพหุวัฒนธรรมและหลักกัลยาณมิตร เช่น ครูต้องให้คำปรึกษาที่ดี น่ารัก (ปิโย) น่าเคารพ เป็นที่พึ่งใจ (ครุ) ไม่แนะนำในทางเสื่อมเสีย (โน จฏฐาเน นิโยชเย) และ 2.4) ด้านการวัดและประเมินผล ผู้บริหารต้องเข้าใจกระบวนการวัดประเมินผล รู้จักชี้แจงกระบวนการวัดประเมินผลให้เข้าใจ(วตฺตา จ) และหลักเกณฑ์สามารถอธิบายเรื่องซับซ้อนให้เข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป (คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา) 

3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพหุวัฒนธรรม ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตร จัดทำหลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม และนำหลักสูตรไปใช้ได้เหมาะสมและมีการประเมินผลการใช้หลักสูตร เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นด้านการวางแผนวิชาการมีนโยบายแผนพัฒนาวิชาการและแผนปฏิบัติงานด้านวิชาการโดยกำหนดเป้าหมายในการดำเนินการด้านการจัดการเรียนการสอน มีความเข้าใจในหลักการ และวิธีการจัดการศึกษาบนความแตกต่างทางวัฒนธรรมและชีวิต และ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้สอดคล้องกับความแตกต่างภายในชุมชนเพื่อเสริมสร้างความเสมอภาคความเท่าเทียมในการเรียนรู้และด้านการวัดและประเมินผล มีการกำหนดระเบียบการดำเนินการวัดและประเมินผล การเทียบโอนผลการเรียนให้ชัดเจน และออกแบบการวัดผลและประเมินผลที่ชัดเจนในแต่ละวิชาให้สอดคล้องกับบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม ตามองค์ความรู้ CPPA Model

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

            The objectives of this research are: 1. To study the needs and necessity of academic administration of multicultural schools, 2. To study the methods of academic administration of multicultural schools according to the principles of Kalyanamitta of educational institution administrators, and 3. To propose guidelines for development of  academic administration of multicultural schools according to the principles of Kalyanamitta for school administrators under the Office of  Phra Nakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area 1. It is a combined method research. The quantitative data were collected by questionnaires from 95 administrators and teachers and analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and PNIModified. The qualitative data were collected by semi-structured in-depth interviews with 5 key-informants and then analyzed by content analysis.

The research results found that:

1. The need of academic administration of multti-cultural schools was at  a high level overall. The descending order started from teaching and learning, followed by academic planning, curriculum development and measurement and evaluation respectively.

 2. The methods of academic administration of multti-cultural schools of school administrators according to the principles of Kalyanamitta are as follows:    2.1) Curriculum development; the curriculum of educational institutions must be integrated with diversity of race, religion, and tradition in all dimensions in   a generous, friendly, admirable and encouraging manner (Bhavaniyo), 2.2) Academic planning; School academic work must be developed in all dimensions with multiculturalism and principles of good conduct and listening to suggestions and criticism with patience (Vajakkhamo), 2.3) In teaching and learning management;  a variety of teaching techniques must be used and  the course contents must be integrated with multiculturalism and the principles of goodwill, good advice, good behaving and respectfulness should be provided to students (no catthane niyojaye.), and 2.4) measurement and evaluation; Executives must understand the measurement and evaluation process, know how to explain the measurement and evaluation process for others to understand (vattā ca) and to explain complex matters for a deeper understanding (Gambhirāñca katha kattā).

3. The guidelines for development of  academic administration of multti-cultural schools according to the principles of Kalyanamitta for school administrators under the Office of  Phra Nakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area 1 in all 4 areas are: Curriculum development; The curriculum must be designed in line with multicultural social contexts, appropriately implemented, evaluated and improved regularly. In academic planning; policy and plan in academic development, action plan, and operation goal must be set. In teaching and learning management; to create and set up understanding in principles and methods of multicultural education management, student-center learning plan, and relevance of differences in community to create equality and similarity in learning.  In Measurement and evaluation; setting the regulations of measurement and evaluation, and academic results transfer in accordance with the context of a multicultural society based on the CPPA Model of knowledge.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ