-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสกับการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน:กรณีศึกษาเจ้าอาวาสในเขตตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAbbots' Leadership in Promoting Temples as Centers of Community: A Case Study of Abbots in Nong Chom Subdistrict, San Sai District, Chiang Mai Province
- ผู้วิจัยพระมหาประภาส วีรพโล (พลจ่า)
- ที่ปรึกษา 1พระครูปริยัติเจติยานุรักษ์, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.พูนชัย ปันธิยะ
- วันสำเร็จการศึกษา08/11/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50444
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 37
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสกับการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชนในเขตตำบลหนอง จ๊อม และ 3) เพื่อวิเคราะห์ภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสกับการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชนตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง ในเขตตำบลหนองจ๊อม จำนวน 16 รูป/คน ได้แก่ เจ้าอาวาส 8 รูป และไวยาวัจกร 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1) ในพระพุทธศาสนา ภาวะผู้นำ ก็คือ คุณสมบัติ เช่น สติปัญญา ความดีงาม ความรู้ความสามารถของบุคคล ที่ชักนำให้คนทั้งหลาย มาประสานกัน และพากันไปสู่จุดหมายที่ดีงาม ผู้นำ คือ หัวหน้า ในระดับ ประเทศ หรือ รัฐ หมายถึง ราชา ระดับชุมชน คือ ผู้นำชุมชน ในวัด คือเจ้าอาวาส ผู้นำต้องประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี เป็นที่พึ่งทางจิตวิญญาณ สามารถนำหลักพุทธธรรมไปปรับใช้ในการบริหารวัด ปลูกฝังให้ประชาชนมีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา 2) ในด้านภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสกับการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน พบว่า เจ้าอาวาสได้ปฏิบัติตามระเบียบของมหาเถรสมาคม เรื่อง กิจการคณะสงฆ์ 6 ด้าน เพื่อให้วัดได้ดำเนินการอย่างเป็นแบบแผนในการปฏิบัติศาสนกิจ และพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน ดังนี้ (1) ด้านการปกครอง เป็นนักปกครองที่ดี มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล (2) ด้านการศาสนศึกษา ส่งเสริมคณะสงฆ์ให้ได้รับการศึกษา ทั้งทางโลกและทางธรรม 3) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ เป็นประธานจัดหาทุน จัดซื้อหนังสือ ตู้หนังสือ และวัสดุอุปกรณ์ให้กับโรงเรียน, และสอนธรรมะให้ชุมชน (4) ด้านการเผยแผ่ ทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา ในตำบลหนองจ๊อม (5) ด้านการสาธารณูปการ บริจาคปัจจัยในการทำนุบำรุง ศาลาการเปรียญ วิหาร (6) ด้านการสาธารณสงเคราะห์ ได้มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดี นักเรียนที่ยากจน และขาดทุนทรัพย์อย่างสม่ำเสมอ ในด้านการวิเคราะห์ภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสกับการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน พบว่า นอกจากเจ้าอาวาสจะได้ปฏิบัติตามภารกิจของคณะสงฆ์ 6 ด้านแล้ว ยังได้ปฏิบัติตามหลักการบริหารยุคใหม่ 7 ประการ ดังนี้ (1) การวางแผน มีการร่วมกันกำหนดแผนทั้งระยะสั้นและระยาว (2) การจัดหน่วยงาน สร้างองค์กรที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างคณะสงฆ์และชุมชนขึ้นมารับผิดชอบ (3) การบริหารบุคคล บริหารด้วยหลักธรรมภิบาล บนฐานเมตตาธรรม (4) การอำนวยการ ผู้นำเป็นต้นแบบที่ดีของชุมชน (5) การประสานงาน ให้คนในชุมชนเกิดความสามคคีปรองดอง มีจิตสำนึกที่ดี (6) การรายงาน มีการรายงานการปฏิบัติงานเป็นระยะ และ (7) การจัดงบประมาณ บริหารงบประมาณให้คนในชุมชนได้รับประโยชน์สูงสุดในการใช้สิ่งสาธารณประโยชน์ร่วมกัน ความเหมาะสมกับงบประมาณที่ได้รับและเป็นธรรม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis is of 3 objectives: 1) to study the leadership in Buddhism, 2) to examine the Abbot’s leadership in developing temples as the community center in Nong Chom Sub-district, San Sai District, Chiang Mai Province and 3) to analyze the the Abbot’s leadership in developing a temple as the community center in Nong Chom Sub-district, San Sai District, Chiang Mai Province. It is a qualitative research conducting focused interviews with 16 key informants in the Nong Chom Sub-district namely 8 Local Abbots and 8 Monk’s Agents. The data were analyzed by content analysis. Here are the research findings:
1) In Buddhism the leadership is characterized by multifaceted qualities such as wisdom, virtue, knowledge and one’s ability that guides and unites people acheive the noble goals. The leader, then, is the chief person, in the national or state level they are known as Kings the rulers, while in the level of community, they are communual Leaders, particularly in the temples, they are the Temple Abborts. In the context of Buddhism, leaders must conduct themselves as good examples, serve as spiritual refuges, being capable in applying Buddhist principles in the temple management cultivating faith in the Buddhist teachings among the people. 2) On the Abbot’s leadership in developing a temple as the communual center in Nong Chom Sub District, San Sai District, Chiang Mai Province was found the The Abbots have conducted along the Supreme Sangha’s Rule in the 6 aspects to systematically carry out planned religious activities and develop a temple to be the center of community as follows: (1) On Governance: They are good administrators with a far-reaching vision, (2) On Religious Education: They promote the education of monks in both worldly and spiritual aspects, (3) On Educational Support: They serve as the chairperson to secure funds, purchase books, bookshelves, and educational materials for schools, and teach Dhamma to the community, (4) On Publicity: They function to disseminate the teachings of Buddhism in the Nong Chom sub-district, (5) On Public Welfare: They contribute factors for the maintenance of community facilities such as pavilions, halls, and temples and (6) On Social Welfare: They provide scholarships to students who excel academically, those in need, and those consistently lacking financial resources. 3) In terms of analyzing the abbot’s leadership in developing a temple as the center of the community, it was found that, Beside fulfilling the Religious activities of the Supreme Monk Council in the 6 aspects, the abbots also adhere to the 7 Principles of Modern Management as followings: (1) in Planning: they collaboratively establish both short-term and long-term plans, (2) in Organizational Structure: they create a network organization that fosters collaboration between the monk council and the community, taking shared responsibility, (3) in Personnel Management: they administer with ethical principles based on compassion and morality, (4) in Facilitation: they serve as a good role model for the community, (5) in Coordination: Foster unity and good conscience among community members, (6) in Reporting: they provide regular reports on activities conducted and (7) in Budgeting: they manage the budget to maximize the benefits for the community, ensuring fairness and appropriateness with the allocated budget.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|