-
ชื่อเรื่องภาษาไทยสัตว์หิมพานต์สู่การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Himavanta Creatures to the Creation of Contemporary Thai Painting
- ผู้วิจัยนายภัคพงศ์ ทองเกลี้ยง
- ที่ปรึกษา 1ดร.ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี
- ที่ปรึกษา 2พระอธิวัฒน์ รตนวณฺโณ, ดร.
- ที่ปรึกษา 3รศ. ดร.พูนชัย ปันธิยะ
- วันสำเร็จการศึกษา08/11/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50447
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 27
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ศิลปะ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความสำคัญและประเภทของสัตว์หิมพานต์ในพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบสัตว์หิมพานต์ในสมุดไทยดำในสมัยรัชกาลที่ 3 และศิลปินร่วมสมัย 3) เพื่อสร้างสรรค์จิตรกรรมไทยร่วมสมัยโดยใช้สัตว์หิมพานต์สะท้อนคติพุทธศาสนาเรื่อง มหาภูตรูป ผลการศึกษามีดังนี้
สัตว์หิมพานต์ หมายถึง สัตว์พิเศษที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ มีลักษณะรูปร่างผสมระหว่างมนุษย์กับสัตว์ สัตว์ผสมกับสัตว์ และสัตว์ตามธรรมชาติที่ไม่ผสม สร้างขึ้นเพื่อแสดงในเรื่องของพื้นที่การสร้างเขาพระสุเมรุ ตามคติไตรภูมิเป็นสําคัญ
สัตว์หิมพานต์ในสมุดไทยดำ สมัยราชกาลที่ 3 เป็นภาพร่างที่เขียนขึ้นเพื่อใช้เฉพาะงานพระเมรุ และมีข้อจำกัดการเลือกประเภทสัตว์ โดยมีท่าทางลักษณะเดียวกันจำนวน 77 ชนิด สัตว์ทุกตัวมีบุษบกตั้งอยู่บนหลังเพื่อตั้งภาชนะรองรับไทยทานวัตถุสำหรับถวายพระ ส่วนสัตว์หิมพานต์ที่สร้างสรรค์โดยศิลปินร่วมสมัยมีลักษณะทางกายวิภาคที่แสดงกล้ามเนื้อเสมือนจริงแบบศิลปะตะวันตก และการใช้ลวดลายจิตรกรรมไทยแบบศิลปะตะวันออกผสมร่วมเข้าด้วยกันในรูปแบบอุดมคติ
การสร้างสรรค์จิตรกรรมไทยร่วมสมัย มีจำนวน 15 ภาพ เกิดจากการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับสัตว์หิมพานต์ที่ศึกษานำมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการผสมร่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์หิมพานต์ ซึ่งเป็นจุดเด่นในการสร้างสรรค์ที่แตกต่างออกไปจากการสร้างสรรค์สัตว์หิมพานต์ในอดีต ทั้งนี้ผู้ศึกษาเลือกใช้สีเบญจรงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่รวมศิลปะแบบตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกันแบบอุดมคติ โดยการสร้างสรรค์จะนำไปสู่การสื่อธรรมเรื่องมหาภูตรูป
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis is a creative study of art with three objectives: 1) to study the history, importance and types of Himavanta creatures in Buddhism, 2) to study and analyze the patterns of Himavanta creatures in the Thai Black Book in the reign of King Rama III, and the works of contemporary artists, 3) to create contemporary Thai painting by using Himavanta creatures reflecting the Buddhist concept of the Four Primary Elements. The followings are its results.
Himavanta creatures denote special creatures those dwell in the Himavanta forest. They have mixed appearance between a human and a creature, a creature mixed with creature and as a non-mixed natural creature. They were imaged up mainly to show the story of the creation of Mount Meru based on the concept of the Three Realms of Existence.
Himavanta creatures in the Thai Black Book during the reign of King Rama III, were just written sketches purposively to imply on the Royal Crematorium, and there are also limitations on choosing the kinds of creature. That is to say, there are 77 species with the same posture. On each creature’s back a Bussabok (the movable throne) on which the gifts to offer to the monks were arranged. On the other hands, the Himavanta creatures having created by contemporary artists, are composed of the Western art-style realistic muscle anatomy, additionally, Thai painting patterns and Eastern arts were mixed in an ideal format.
The creation of 15 contemporary Thai paintings is result of synthetic knowledge about the studied Himavanta creatures. It was the inspiration for a creativity. From this it implies the combined form of a human and Himavanta creature. This is a prominent creation differed from the past creations of Himavanta creatures. The researcher, therefore, has chosen to utilize the Benjarong Color (the groups of 5 colors) to create a work that ideally combined both Western and Eastern arts. By this creativity, it will represent of the Dhamma’s concept of the Four Primary Elements.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|