โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนประเด็น “Learning Loss” ตามหลักอริยสัจ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนสหวิทยาเขต สวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษTrends of Quick Policy Movement on “Learning Loss” following the Four Noble Truth Principle of School Administrators in Suanthepparatthiptaichalermphrakiat United Campus Pathumthni Province
  • ผู้วิจัยนางสาววรรณิศา ชมสุดา
  • ที่ปรึกษา 1ดร.ลำพอง กลมกูล
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาชำนาญ มหาชาโน, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา20/01/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50449
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 31

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนประเด็น Learning Loss” ของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาวิธีการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนประเด็น Learning Loss” ตามหลักอริยสัจ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี และ 3) เพื่อเสนอทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนประเด็น Learning Loss” ตามหลักอริยสัจ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี ใช้การวิจัยเป็นแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนประเด็น Learning Loss” ของผู้บริหารโรงเรียนสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี จากผู้บริหารสถานศึกษาละครูจำนวน 234 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์เกี่ยวกับวิธีการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนประเด็น Learning Loss” ตามหลักอริยสัจ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์จากผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน7คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติแบบบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า:

1.สภาพการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนประเด็นLearningLoss”ของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี พบว่า ด้านที่มีระดับค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ใหม่ที่ตอบสนองบริบทความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของนักเรียน และ ด้านการเสริมพลังพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษา

2. วิธีการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนประเด็น Learning Loss” ตามหลักอริยสัจ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) ของนักเรียน (ทุกข์) ขั้นตอนที่ 2 ระบุสาเหตุของปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) ของนักเรียน (สมุทัย) ขั้นตอนที่ 3 เสนอแนวทางในการแก้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) ของนักเรียน (นิโรธ) และขั้นตอนที่4กำหนดวิธีการแก้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss)ของนักเรียน(มรรค)พบว่า1)มีการออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ใหม่ที่ตอบสนองบริบทความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของนักเรียน 2) เสริมพลังพัฒนาครู และผู้บริหารสถานศึกษา 3) สร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพระหว่างสถานศึกษาครู       ผู้ปกครองชุมชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 4) พัฒนาคลังสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้แบบเปิด และเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา 5) สร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้และสุขภาวะที่ดีของนักเรียนทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต 6) ยกระดับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ และ 7) จัดสวัสดิการ ความปลอดภัย สร้างขวัญและกำลังใจแก่ครู

3.ทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนประเด็น Learning Loss” ตามหลักอริยสัจ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี ภายใต้ขอบข่าย 7 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 การเรียนแบบ Hybrid Learning ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ด้านที่ 2 เสริมพลังพัฒนาครู โดยกระบวนครูโค้ช ด้านที่ 3 มีเครือข่ายการจัดการเรียนรู้สู่นักเรียน ด้านที่ 4 มีนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพด้านที่5มีระบบนิเวศการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้านที่6 ครูรู้เท่าทันและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสอน และ ด้านที่ 7 มีสวัสดิการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ครูที่มีประสิทธิภาพ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The purposes of this research were 1) to study conditions of quick policy movement on “Learning Loss” of school administrators in Suanthepparat thiptaichalermphrakiat United Campus Pathumthani Province, 2) to study method of quick policy movement on “Learning Loss” following the Four Noble Truth principle of school administrators in Suanthepparatthiptaichalermphrakiat United Campus Pathumthani Province, and 3) to propose trends of quick policy movement on “Learning Loss” following the Four Noble Truth principle of school administrators in Suanthepparatthiptaichalermphrakiat United Campus Pathumthani Province. Mixed methods research was designed by using quantitative research to collect questionnaires about quick policy movement on “Learning Loss” of school administrators in Suanthepparatthiptaichalermphrakiat United Campus Pathumthani Province from 234 administrators and teachers, and qualitative research was used to collect data by interview 7 administrators about method of quick policy movement on “Learning Loss” following the Four Noble Truth principle of school administrators in Suanthepparatthiptaichalermphrakiat United Campus Pathumthani Province. Qualitative data were analyzed by content analysis and analytic induction whereas quantitative research were analyzed by descriptive statistics including frequency, mean, median, mode, interquartile range and standard deviation.

The research results showed that:

1. Conditions of quick policy movement on “Learning Loss” of school administrators in Suanthepparatthiptaichalermphrakiat United Campus Pathumthani Province found that the aspect with the highest average level was designing a new learning management process that responds to the changing context and needs of students, and empowering teacher development and educational institution administrators.

  2. Method of quick policy movement on “Learning Loss” following the Four Noble Truth principle of school administrators in Suanthepparatthiptaichalermphrakiat United Campus Pathumthani Province consisted of 4 steps: Step 1 analyze the problem of learning loss) of students (Dhukka); Step 2 Identify the cause of the problem of learning loss of students (Samudaya); Step 3 propose guidelines for solving learning loss of students (Nirodha); and step 4 determines the method for solving learning loss of students (Magga). It was found that 1) there is a new learning management process design that responds to the changing context and needs of students, 2) empowerment teacher development and administrators of educational institutions, 3) create participation in effective learning management between educational institutions, teachers, parents, communities and related sectors, 4) develop digital media sources for open learning and link educational information, 5) create a good attitude towards learning and good health of students, both physical and mental health, 6) enhance the level of learning management by using technology systematically and efficiently, and 7) provide welfare, safety, and morale encouragement for teachers.

  3.  Trends of quick policy movement on “Learning Loss” following the Four Noble Truth principle of school administrators in Suanthepparatthiptaichalermphrakiat United Campus Pathumthani Province showed under the scope of 7 areas as follows: area 1 hybrid learning with an active learning management process; area 2 empowering teacher development by the teacher-coach process; area 3 has a network for organizing learning for students; area 4 has digital innovations for effective learning management; area 5 has a creative learning ecosystem; area 6 teachers know and apply technology in teaching; and Area 7 there is welfare to build morale and encouragement for effective teachers.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ