โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนาโดยใช้ศิลปะเป็นฐานตามแนวพุทธจิตวิทยาของนักเรียนในวัยเรียนช่วงชั้นที่ ๓ จังหวัดนนทบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Art-Based Learning Management Model in Buddhism Based on Buddhist Psychology of Third-Grade Students in Nonthaburi Province
  • ผู้วิจัยพระครูปลัดณฤปศฤฐ วรเสฏฺโฐ (พิพิธสุรภัทร์)
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.พุทธชาติ แผนสมบุญ
  • วันสำเร็จการศึกษา06/02/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50465
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 87

บทคัดย่อภาษาไทย

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐาน 2) เพื่อศึกษากระบวนการการการจัดการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนาโดยใช้ศิลปะเป็นฐานตามแนวพุทธจิตวิทยา 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามแนวพุทธจิตวิทยาในรายวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนรายวิชาพระพุทธศาสนา ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านสะเต็มศึกษา และครูสอนศิลปะ จำนวน    8 รูป/คน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการสร้างชุดการสอนตามแนวคิดผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐานตามแนวพุทธจิตวิทยา ในรายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนในวัยเรียนช่วงชั้นที่ 3      จังหวัดนนทบุรี ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

               ผลการวิจัยพบว่า

      1. การศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐาน ประกอบด้วย 1) การวางแผนการทำงานในการจัดการเรียนรู้ พบว่า การจัดการเรียนรู้ควรมีการวางแผนการทำงาน ด้วยวิธีการ คือ (1) การกำหนดเทคนิคหัวข้อเพื่อทำการทดลองและแสดงออกทางศิลปะ (2) การทดลองเพื่อเป็นการลองผิดลองถูกจากการสร้างสรรค์ชิ้นงานศิลปะ (3) การปฏิบัติโดยการลงมือทำเพื่อเป็นการสร้างสรรค์งานศิลปะ และ (4) การสนทนาแลกเปลี่ยนระหว่างผู้เรียนและผู้สอนเพื่อแลกเปลี่ยนแนวความคิด และนำไปสู่การพัฒนาผลงานต่อไป 2) การจัดการเรียนรู้ศิลปะเป็นฐานสามารถทำอยู่บนวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ (2) การลงมือทำ (2) สะท้อนการลงมือทำผ่านความรู้สึก และ   (3) ถ่ายทอดกระบวนการทำผ่านความคิด ๓) การพัฒนาผู้เรียนมีวิธีการ ได้แก่ (1) แบ่งอายุผู้เรียน (๒) แบ่งตามความสามารถของผู้เรียน (3) แบ่งตามความสนใจของผู้เรียน และ (4) ไม่แบ่งประเภทแต่สามารถเรียนร่วมกัน 4) กิจกรรมที่เหมาะกับการเรียนการสอน ได้แก่ (1) การลงมือปฏิบัติในการเรียนศิลปะแต่ละประเภทซึ่งศิลปะแต่ละประเภทควรมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาของการทำงานศิลปะนั้น และ (2) การใช้ทฤษฎี เป็นกิจกรรม ที่มีการลงพื้นที่จริงในการศึกษาทั้งเรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะ ศิลปะประเภทต่าง ๆ เป็นต้น 5) การบูรณาการศิลปะในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ พบว่า การบูรณาการศิลปะในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ เป็นการนำเอาศิลปะเข้าไปมีส่วนร่วมในรายวิชาต่าง ๆ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้สมองทั้งสองด้าน ทั้งด้านความคิดสร้างสรรค์และด้านตรรกะและเหตุผล เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ ความสามารถได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และ ๖) ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน พบว่า ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน แบ่งเป็นสามส่วน ได้แก่ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

      ๒. การศึกษากระบวนการการการจัดการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนาโดยใช้ศิลปะเป็นฐานตามแนวพุทธจิตวิทยา พบว่า 1) การแสดงออกจากภายในจิตใจออกมาสู่ภายนอกคือกาย โดยศิลปะช่วยทำให้ผู้เรียนได้เข้าถึงจิตใจของตนเองได้ง่ายขึ้นผ่านกระบวนการทางกาย ซึ่งศิลปะสามารถนำมาจัดการเรียนรู้ตามพุทธจิตวิทยาได้ในรูปแบบการรับรู้ สภาวะกาย สภาวะใจ สภาวะความคิด 2) กระบวนการจัดการเรียนรู้กับการวัดประเมินผลการเรียนรู้ ต้องสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้รวมถึงการเตรียมกิจกรรมศิลปะที่สอดคล้องกับหัวข้อพุทธธรรมที่สอน รวมถึงสะท้อนกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน 3) ศิลปะช่วยในเรื่องสมาธิและส่งเสริมการแสดงออกที่มาจากความสุขภายในสอดคล้องกับหลักพุทธะจิตวิทยา คือ การพัฒนาจากภายในจิตใจสู่ภายนอก นำไปสู่การให้ผู้เรียนเข้าถึงหลักความจริงของธรรมชาติ 4) การมีส่วนร่วมของผู้เรียนกับผู้สอนในการเรียนการสอน โดยมีกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ผู้เรียนมีส่วนในการร่วมออกแบบการเรียนรู้โดยมีผู้สอนเป็นผู้อำนวยการการเรียนรู้ และ 5) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐานประกอบบทเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามแนวพุทธจิตวิทยาในรายวิชาพระพุทธศาสนา เป็นการนำศิลปะมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนา โดยการให้เด็กได้เรียนรู้หลักของพุทธศาสนาผ่านศิลปะ

               3. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามแนวพุทธจิตวิทยาในรายวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 เป็นรูปแบบที่เกิดจากแผนการสอนเรื่องการวาดภาพแบบเซนแทงเกิล (Zentangle) จำนวนชั่วโมงที่สอน 1 ชั่วโมง ผู้เข้าร่วม ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีสาระสำคัญ (concept) คือ การวาดภาพแบบเซนแทงเกิล (Zentangle) เป็นการวาดภาพแนวนามธรรมที่สร้างขึ้นโดยใช้ลวดลายซ้ำ ๆ ภาพวาดเซนแทงเกิลจะต้องสร้างขึ้นบนพื้นที่กรอบสี่เหลี่ยมขนาด 3.5 ตารางนิ้ว และจะต้องใช้หมึกสีดำวาดบนกระดาษขาวโดยสามารถใช้ดินสอสีเทาแรเงาได้ การคิดค้นภาพ Zentangle® นั้นมีเจตนาที่จะทำให้การวาดภาพเป็นกิจกรรมสร้างความสุข ใช้ฝึกสมาธิและเข้าถึงได้ทุกคน และวัตถุประสงค์การเรียนรู้ คือ 1) เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวาดภาพแบบเซนแทงเกิล (Zentangle) 2) เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการวาดภาพแบบเซนแทงเกิล (Zentangle) และ 3) เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกสมาธิจากการวาดภาพแบบเซนแทงเกิล (Zentangle)

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this study consisted of 1)to study an art-based learning management; 2) to study the process of art-based learning management in the subject of Buddhism based on Buddhist Psychology; and (3) to present an art-based learning management model to develop learners based on Buddhist Psychology in the subject of Buddhism for the third-grade students. The study was a qualitative research in nature, using an in-depth interview to collect data from 8 key informants with an expertise in teaching and learning the subject of Buddhism, Buddhist Psychology, STEM education and art teachers to use the data to create teaching sets according to the concept of art-based learning results based on Buddhist Psychology in the subject of Buddhism for the third-grade students in Nonthaburi Province.        A descriptive data analysis was employed for analyzing data.

      The results of the study were as follows:

      1. An art-based learning management comprised 1) work planning in learning management should have a work plan including (1) determining topic techniques for experimentation and artistic expression, (2) experimenting as trial and error from Create a piece of art, (3) Practice by doing to create art, and (4) Conversation between students and teachers to exchange ideas. and leads to further development of the work; 2) organizing art-based learning consisted of 3 objectives including (1) taking action, (2) reflecting on action through feelings, and (3) conveying the process of doing through thought; 3) methods for student development comprised (1) dividing by age of learners, (2) dividing according to the ability of the learners, (3) dividing according to the interests of the learners, and (4) not categorizing. but can study together; 4) activities suitable for teaching and learning included (1) hands-on learning of each type of art, where each type of art should have an expert to give advice on how to make that art, and (2) Using theory is an activity that involves actually going to the field to study art history. various types of art, etc.; 5) the integration of arts in each learning unit brought art into participation in various subjects, stimulated the use of both sides of the brain both in creativity and in logic reason in order for students to develop knowledge ability to be fully effective; 6 the time spent on teaching and learning divided into three parts including short-term, medium-term, and long-term.

      2. The process of an art-based learning management in the subject of Buddhism based on Buddhist Psychology revealed 1) the expression from the inside of mind to the outside of the body using the arts to help students access their own minds more easier through physical processes that the arts could be used to organize learning based on Buddhist Psychology in the form of perception, physical state, mental state, and thought state; 2) the learning management process and learning evaluation measurement had to create an environment conducive to learning, including the preparation of art activities in line with the Buddhist topics taught including reflection on the together learning process; 3) The art helped concentration and promoted expression from inner happiness in association with the principles of Buddhist Psychology as the development from the inside-out mind enhancing students to realize the truth of nature; 4) the participation of students and teachers in teaching and learning by an Active Learning process in which students participated in designing learning with the teacher as the learning director; and 5) an art-based learning management model for lessons to develop students based on Buddhist principles in the subject of Buddhism as part of the management of Buddhism learning by allowing children to learn the principles of Buddhism through art.

               3. An art-based learning management model to develop students based on Buddhist Psychology in the subject of Buddhism for the third-grade students was in the form of a learning plan on a lesson plan of Zentangle drawing for 1 hour of teaching with the participants including Mathayom 3 students, with the main idea as the Zentangle drawing that is the abstract images created by repetitive patterns indicating that Zentangle had to be created on a 3.5 inch square and had to be drawn in black ink on white paper with gray pencil for shading as the concept of the Zentangle® image was intentional to bring about the happy activities for overall accessible concentration practice, and the learning objectives included 1) to encourage learners to study the Zentangle drawing; 2) to encourage learners to practice the Zentangle drawing; and 3) to encourage learners to meditate from  the Zentangle drawing.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ