-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารจัดการเพื่อสร้างชุมชนสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี : ศึกษาวิเคราะห์กรณีวัดเจดีย์ ตำบลฉลอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Community Administration and Management for creating Peachful Community according to Buddhist Peachful Means: Analtytical Study of Wat Chedi, Chalong Sub-District, Sichon Disdrict, Nakhon Si Thammarat Province
- ผู้วิจัยพระครูพุทธเจติยาภิมณฑ์ (อภิชิต พุทฺธสโร)
- ที่ปรึกษา 1พระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระครูวินัยธรสุริยา สุริโย, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา06/02/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาสันติศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50467
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 28
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ บริบท สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น และแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อสร้างชุมชนสันติสุขโดยพุทธสันติวิธีของวัดเจดีย์ ตำบลฉลองอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการบริหารจัดการเพื่อสร้างชุมชนสันติสุขของวัดเจดีย์ ตำบลฉลอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอการบริหารจัดการเพื่อสร้างชุมชนสันติสุขโดยพุทธสันติวิธีของวัดเจดีย์ ตำบลฉลอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นงานวิจัยในรูปแบบอริยสัจจ์โมเดลสอดคล้องกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ภายใต้กรอบการวิจัยตามบันได 9 ขั้น กลุ่มเป้าหมาย ผู้ทรงคุณวุฒิ 5รูป/คน ผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านในพื้นที่ชุมชนวัดเจดีย์ ตำบลฉลอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 28 ท่าน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง และนำมาวิเคราะห์ อธิบายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1) การบริหารจัดการเพื่อสร้างชุมชนสันติสุขโดยพุทธสันติวิธีของวัดเจดีย์ โดยมีวัดเจดีย์เป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนชุมชนด้วยการใช้หลักธรรมเป็นหลักเป็นแนวคิด ทำให้เกิดกระบวนการในการเชื่อมโยงกันระหว่าง วัดกับพุทธบริษัท วัดกับบ้าน วัดกับโรงเรียน/ราชการ วัดกับชุมชน เพื่อสร้างการพัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืน และเกิดชุมชนสันติสุข
2) การนำสาราณียธรรม 6 เป็นการดำเนินการเพื่อให้การบริหารจัดการเพื่อสร้างชุมชนสันติสุขโดยพุทธสันติวิธีของวัดเจดีย์ ไปสู่ความสันติสุขได้ ซึ่งในสาราณียธรรม ประกอบด้วย เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม สาธารณโภคิตา สีลสามัญญตา และทิฏฐิสามัญญตา เป็นหลักที่ช่วยให้คนในชุมชน สื่อสารกันด้วยความเมตตา การแสดงออกด้วยความเมตตา การมีจิตที่เมตตาการแบ่งปันสิ่งที่ดีให้กัน การรักษากฎกติกาของชุมชน ร่วมกันวางกฏเกณฑ์ และใช้กฎเกณฑ์นั้นร่วมกัน รวมถึงการแชร์ และแสดงความคิดเห็น ผ่านประสบการณ์ที่ตนเองมีโดยเสรี โดยสาราณียธรรมเป็นแนวทางปฏิบัติของผู้ที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งเป็นหลักที่สามารถนำมาเพื่อพัฒนา และบริหารจัดการชุมชนให้สามารถขับเคลื่อนไปด้วยความสุข สงบ ร่มเย็น และหาความสุขอย่างแท้จริง
3) การบริหารจัดการเพื่อสร้างชุมชนสันติสุข ผ่านการส่งเสริม สร้างสรรค์ ตามองค์ประกอบ 10 ประการ ของสันติเจดีย์โมเดล คือ ความยั่งยืน (S, Sustainable), ความกระตือรือร้น (A, Active), ความสุขที่แท้จริง (N, Nibbàna), วัดเป็นศูนย์กลาง (T, Temple), การมีส่วนร่วม (I, Involvement), ประชาสังคม (C, Civil), ความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (H, Holy), การให้ความรู้ (E, Educate), การพัฒนา (D, Development) และการบูรณาการกับหลักธรรม (I, Integrated) ส่งผลให้เกิดชุมชนสันติสุข คนในชุมชนนำมีหลักปฎิบัติมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต สร้างอาชีพร่วมกัน ศึกษาร่วมกัน มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน รู้จักแบ่งปันกัน แชร์ประสบการณ์ที่ดีต่อกัน นำพาคนในชุมชนให้ มีความสุข สงบสุข และสันติสุข โดยมีวัดเป็นแหล่งสนับสนุนในการดำเนินการ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This dissertation aimed to 1) analyze the context, problems, requirements, and theoretical concepts that pertained to the management of creating a Peace Community with the Buddhist Peaceful Method of Wat Chedi in Chalong Sub-districts, Sichon District, Nakhon Si Thammarat Province, 2) analyze the Buddhist Peaceful Method that supported the management of creating a Peace Community with Buddhist Peaceful Method of Wat Chedi in Chalong Sub-districts, Sichon District, Nakhon Si Thammarat Province, 3) develop and present the management of creating a Peace Community with the Buddhist Peaceful Method of Wat Chedi in Chalong Sub-districts, Sichon District, Nakhon Si Thammarat Province. This research was conducted with the Ariyasacca (the Four Noble Truths) model in accordance with action research under the framework of a nine-step research methodology. The population consisted of five experts, community leaders, village headmen and villagers within the Wat Chedi Community area, which comprised a total number of 28 persons. The population derived from conducting purposive in-depth interviews and taking data to descriptive analytics.
The results of the research indicated that:
1) The management of creating a Peace Community with the Buddhist Peaceful Method of Wat Chedi by taking Wat Chedi as the center to inspire the community with Buddhist principles as the concepts created a process in the connection between the temple (Wat) and Buddhaparisā (Buddhists), the temple (Wat) and households, the temple (Wat) and schools/government facilities, and the temple (Wat) and community. The purpose was to create community development for creating sustainability and cultivating a Peace Community.
2) The application of Sārāṇīyadhamma (virtues for fraternal living) was the implementation of conducting community management for creating a Peace Community with the Buddhist Peaceful Method of Wat Chedi to achieve peace. The Sārāṇīyadhamma (virtues for fraternal living) consisted of Mettākāyakamma (to be amiable in deed), Mettāvacīkamma (to be amiable in word), Mettāmanokamma (to be amiable in thought), Sādhāraṇabhogitā (to share any lawful gains with virtuous fellows), Sīlasāmaññatā (to keep without blemish the rules of conduct along with one’s fellows), and Diṭṭhisāmaññatā (to be endowed with right views along with one’s fellows). It was the principle that caused people in the community to communicate with loving kindness, express themselves with loving kindness, have a loving kindness mind for sharing good things, uphold the rules in the community, influence the rules, implement the rules, and share their opinions with their freedom. The Sārāṇīyadhamma (virtues for fraternal living) existed as the guidelines for the people who lived as a group. It was the principle that could be taken for the development and community management to have the ability to drive the community with happiness, peace, and tranquility and the ability to seek true happiness.
3) The management of creating the Peace Community through promotion and creativity according to ten elements of the SANTICHEDI Model. The SANTICHEDI Model consisted of: S as Sustainable, which implied sustainability; A as Active, which implied alacrity; N as Nibbàna, which implied true happiness; T as Temple, which implied temple (Wat) as the center; I as Involvement, which implied participation; C as Civil, which implied the civil society; H as Holy, which implied the belief of holy things; E as Educate, which implied education; D as Development, which implied the development; and I as Integrated, which implied the integration with Buddhist principles. The SANTICHEDI Model influenced the community to be a Peace Community, in which the community members applied the guidelines to their lives, created jobs for each other, studied together, maintained mutual purposes, shared things, shared good experiences with each other, and led fellow community members to enjoy happiness, tranquility, and peace by having the temple as the source of support in the operation.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|