โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    กระบวนการพัฒนาศักยภาพพระคิลานุปัฏฐากของคณะสงฆ์ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Procedure Development for Gilãnupãthaka Bhikkhus of Doi Saket Chiang Mai Sangha Community
  • ผู้วิจัยพระอานนท์ ฐิตโสภโณ (ศรีบุญชัย)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูปริยัติเจติยานุรักษ์, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทฺโธ, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 3ดร.วิโรจน์ วิชัย
  • วันสำเร็จการศึกษา15/02/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50468
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 24

บทคัดย่อภาษาไทย

         วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับพระคิลานุปัฏฐากในพระพุทธศาสนา  2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาศักยภาพพระคิลานุปัฏฐาก 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติหน้าที่พระคิลานุปัฏฐากในอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีพระภิกษุ – สามเณร เข้าร่วมอบรม จำนวน 18 รูป ตามหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐาก 35 ชั่วโมง (ระยะสั้น) เพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถและทักษะในการตรวจคัดกรองดูแลสุขภาพให้กับพระสงฆ์ภายในวัด จากการศึกษาพบว่า

 

          ภิกษุมีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมดูแลสุภาพพระสงฆ์ภายในวัด รวมถึงการอุปัฏฐากดูแลระหว่างความเป็นอุปัชฌาย์และลูกศิษย์ที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคและเกื้อกูลต่อการประพฤติปฏิบัติในการบรรลุธรรม พระพุทธเจ้ายังทรงบัญญัติให้เป็นกิจถือเป็นหน้าที่ต้องคอยดูแลอุปัฏฐากซึ่งกันและกันของพระสงฆ์อีกด้วย เป็นข้อปฏิบัติอันดีงามของพระสงฆ์ แม้จะมาจากวรรณะที่ต่างกัน เมื่อมาสู่พระธรรมวินัยนี้แล้วควรถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นบิดา พระธรรมเป็นมารดาและอยู่ร่วมกันเฉกเช่นพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน การดูแลพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนายังถือว่ามีอานิสงส์เทียบเท่ากับการได้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า เช่น พุทธพจน์ ว่า ผู้ใดปรารถนาจะอุปัฏฐากเราตถาคต ผู้นั้นพึงอุปัฏฐากภิกษุอาพาธเถิด

         การพัฒนาศักยภาพเพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพให้กับพระสงฆ์นั้น คือ การอบรมตามหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐาก 35 ชั่วโมง ให้สอดคล้องกับแนวคิดโครงสร้างการส่งเสริมสุขภาพตามหลักพระธรรมวินัยมีทักษะมีความรู้มีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นพระคิลานุปัฏฐาก การทำงานการดูแลสุขภาพเพื่อให้ถูกตามหลักสุขอนามัย ให้มีศักยภาพ มีประสิทธิภาพ ดูแลสุขภาพพระสงฆ์ภายในวัด ช่วยเหลือยามเจ็บป่วย สามารถประสานงานและทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เป็นแกนนำสุขภาพพระสงฆ์ภายในวัดและชุมชนตามหลักพระธรรมวินัย จากกลุ่มตัวอย่าง 18 รูป ประเมินผลสัมฤทธิ์จากกระบวนการพัฒนาอบรมจากการใช้หลักสูตรการพัฒนา พระคิลานุปัฏฐาก 35 ชั่วโมง ค่าเฉลี่ย 2.39 คิดเป็นร้อยละ 2.97 มีคะแนนสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรม และผ่านการฝึกปฏิบัติภาคสนาม ในเขตพื้นที่อำเภอดอยสะเก็ด จำนวน อีก 10 ชั่วโมง การปฏิบัติหน้าที่ของพระคิลานุปัฏฐากร่วมกับภาคีเครือข่าย หน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ยังมีข้อจำกัดเนื่องด้วยการทำงานของพระคิลานุปัฏฐากภายในอำเภอดอยสะเก็ดนั้น ยังไม่มีระบบ แบบแผน และแนวทางที่ชัดเจนในการปฏิบัติร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ อีกทั้งอำเภอดอยสะเก็ด เป็นพื้นที่สภาพแวดล้อมติดกับภูเขา บางพื้นที่เข้าถึงยาก อยู่ห่างไกล ยิ่งการเดินทางของพระคิลานุปัฏฐากที่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่  ให้ทั่วถึงนั้นยาก มีข้อจำกัด ไม่ได้รับการอำนวยความสะดวกเพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ แต่ด้วยความตั้งใจในการทำหน้าที่พระคิลานุปัฏฐากเป็นที่พึงพอใจได้รับความไว้วางใจและเป็นประโยชน์ต่อพระภิกษุ-สามเณร ภายในพื้นที่อำเภอดอยสะเก็ดอย่างยิ่ง 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

         The objectives of this thesis were 1) to study the Gilãnupãthaka Bhikkhus concept in Buddhism, 2) to study the Gilãnupãthaka Bhikkhus potential development process, and 3) to study achievement in Gilãnupãthaka Bhikkhus performance in Doi Saket District, Chiang Mai Province. The study was qualitative research conducted with 18 monk-novice trainees in a short-term 35-hour Gilãnupãthaka Bhikkhus course to promote knowledge and skills for screening and giving monk healthcare in the temples. According to the study, it was found as follows.

 

          Monks have a role and duty in promoting monk healthcare in the temples as well as in supervising and giving care like preceptors and the disciples as existed since the Buddha's time in order not to be an obstacle and to support the practice of achieving Dhamma. In addition, the Buddha prescribed a monk duty to take care of each other as a good monk practice. Even though people are from different castes, when they come to this Dhamma discipline, they will consider the Buddha as a father and Dhamma as a mother, and they live together like brothers with the same parents. Giving monk healthcare in Buddhism is also considered to have benefits comparable to being attendants of the Lord Buddha. In the Buddha’s words, “Who wish to be my attendants, should attend to sick monks.”

          The monk potential was developed to be capable in giving monk healthcare through the 35-hour training Gilãnupãthaka Bhikkhus course in compliance with the health promotion structure concept according to the Dhamma disciplines. The purpose was for the monk trainees to be capable and experienced in performing the Gilãnupãthaka Bhikkhus duties by giving sanitary healthcare, to possess effective potentials in giving healthcare to sick monks in the temples, and to be capable in coordinating and working with the local partner network as leaders in giving the monk healthcare in the temples and communities according to the disciplines. From 18 samples of the monk trainees, the mean result from assessing achievement in the developmental training course of the Gilãnupãthaka Bhikkhus was at the mean of 2.39 (2.97%) which was higher than the mean of the pretest. Moreover, the fieldwork practice in Doi Saket District was for 10 hours by performing Gilãnupãthaka Bhikkhus duties together with the partner network and different government organizations such as subdistrict health promotion hospitals and village health volunteers. However, limitation was found in no concrete system, plan, and guidelines for collaboratively working with the partner network. Furthermore, Doi Saket District is in connection with mountains, and some areas are far and difficult to access. Therefore, it was difficult for the Gilãnupãthaka Bhikkhus monks to perform duties throughout the areas. Another limitation was in inadequate facilities for fully performing duties. However, the Gilãnupãthaka Bhikkhus monks attentively performed tasks, and they received satisfaction and trust from communities. Therefore, the Gilãnupãthaka Bhikkhus is beneficial for monks and novices in Doi Saket District.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ