-
ชื่อเรื่องภาษาไทยกระบวนการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตยุคศตวรรษที่ 21 ตามหลักพุทธธรรม สำหรับพระสงฆ์ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 12
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Process of Developing Lifelong Learning Skills in the 21st Century according to Buddhist Principles for Monks in the Sangha Administration Region 12
- ผู้วิจัยพระครูปลัดรัตน์ ฐิตคุโณ (ดิษสังวร)
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สิน งามประโคน
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.บุญเชิด ชำนิศาสตร์
- วันสำเร็จการศึกษา08/07/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50473
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 42
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตยุคศตวรรษที่ 21 2) พัฒนากระบวนการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตยุคศตวรรษที่ 21 ตามหลักพุทธธรรม และ 3) ประเมินกระบวนการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตยุคศตวรรษที่ 21 ตามหลักพุทธธรรม สำหรับพระสงฆ์ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 12 การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 132 รูป เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้หาค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์ จำนวน 15 รูป/คน และประกอบการสนทนากลุ่ม และการเขียนวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า:
1. สภาพทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตยุคศตวรรษที่ 21 ของพระสงฆ์ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 12 พบว่า สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับ จากด้านที่น้อยที่สุด ได้แก่ 1) ด้านเรียนเพื่อปฏิบัติได้ 2) ด้านเรียนเพื่อรู้ 3) ด้านเรียนเพื่อชีวิต 4) ด้านทักษะการคิด และ 5) ด้านเรียนเพื่ออยู่ร่วมกัน
2. การพัฒนากระบวนการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตยุคศตวรรษที่ 21 ตามหลักพุทธธรรม สำหรับพระสงฆ์ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 12 พบว่า องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยได้สร้างรูปแบบพร้อมทั้งพัฒนาเกิดเป็นกระบวนการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตยุคศตวรรษที่ 21 ที่บูรณาการด้วยอิทธิบาท 4 มีกระบวนการดังนี้ 1) กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ 2) เลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม 3) ลงมือปฏิบัติจริงด้วยกิจกรรม 4) ประเมินผลการเรียนรู้ และ 5) ตัวชี้วัดการเรียนรู้เพื่อเรียนรู้นำไปปฏิบัติได้
3. การประเมินกระบวนการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตยุคศตวรรษที่ 21 ตามหลักพุทธธรรม สำหรับพระสงฆ์ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 12 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเหมาะสม ตามลำดับ ผลการวิจัยที่นี้สามารถนำไปพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคศตวรรษที่ 21 ด้วยหลักอิทธิบาท 4 สำหรับพระสงฆ์ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 12 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research are: 1) to study the state of life-long learning skills in the 21st century, 2) to study the developing process of life-long learning skills in the 21st century according to Buddhadhamma principles, and 3) to evaluate the developing process of life-long learning skills in the 21st century according to Buddhadhamma principles for monks in the Sangha Administration Region 12. The mixed research method is applied in the study. The quantitative data were collected by using questionnaire from a sample of 132 monks and analyzed by frequency, percentage, mean, and standard deviation. The qualitative data were obtained by interviews and discussions with 15 key-informants and analyzed by content analysis.
The result of the study indicated that:
1. The state of life-long learning skills in the 21st century of monks in the Sangha Administration Region 12 was at a high level overall. In detail, the highest level was on Learning for practice, followed by Learning for knowledge, Learning for life, Learning for thinking skills, and Learning for living in society.
2. The developing process of life-long learning skills in the 21st century according to Buddhadhamma principles for monks in the Sangha Administration Region 12 obtained from integration of life-long learning skills with the four principles of Iddhipada has the following processes; 1) To set the learning target, 2) To choose learning methods appropriately, 3) To practice with activities, 4) To evaluate learning outcome, and 5) To have learning indicators for putting knowledge into practice.
3. The evaluation results of developing process of life-long learning skills in the 21st century according to Buddhadhamma principles for monks in the Sangha Administration Region 12 were at a high level overall. In each aspect, the highest level was on Utility, followed by Possibility, and Suitability respectively. The study results can be applied for developing process of life-long learning skills in the 21st century according to Buddhadhamma principles for monks in the Sangha Administration Region 12 effectively.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|