โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการโค้ชเพื่อสันติภาพสำหรับพระนักเผยแผ่ในสังคมไทย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Peace-Building Coaching Model for Propagating Buddhist Monks in Thai Society
  • ผู้วิจัยพระวุทธ สุเมโธ (ทองมั่น)
  • ที่ปรึกษา 1พระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ศ. นพ. วันชัย วัฒนศัพท์
  • วันสำเร็จการศึกษา10/02/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาสันติศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50482
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 23

บทคัดย่อภาษาไทย

           การวิจัยดุษฎีนิพนธ์เรื่อง รูปแบบการโค้ชเพื่อสันติภาพสำหรับพระนักเผยแผ่ในสังคมไทยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา และความต้องการด้านวิธีการเผยแผ่ศาสนาเพื่อสันติภาพในสังคมไทย และแนวคิดทฤษฎีการโค้ชเพื่อสันติภาพตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อการโค้ชเพื่อสันติภาพสำหรับพระนักเผยแผ่ และ 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอรูปแบบการโค้ชเพื่อสันติภาพสำหรับพระนักเผยแผ่ในสังคมไทย การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบอริยสัจจ์โมเดล โดยการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 รูปหรือคน และจากการทดลอง จำนวน 15 รูป และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา การวิเคราะห์สถิติพรรณนา การตีความหมาย และการสังเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า

           1. บริบท สภาพปัญหาด้านวิธีการเผยแผ่ศาสนาที่สื่อสารทางเดียว อาจไม่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทยที่มีความเป็นพหุสังคม เกิดความต้องการให้พระนักเผยแผ่ปรับเปลี่ยนวิธีการในการดำรงอยู่กับประชาชนพลเมือง การโค้ชเป็นศาสตร์สมัยใหม่ที่สามารถปรับใช้ได้ในทุกวาระโอกาส
ไม่จำกัดบุคคล มีทักษะและรูปแบบที่มุ่งเน้นประโยชน์ การแก้ไขปัญหาและทางออกของผู้มารับบริการ จึงเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชีวิตส่วนตัวและการงานของบุคคลนั้นอย่างแท้จริง

           2. หลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อการโค้ชเพื่อสันติภาพสำหรับพระนักเผยแผ่ประกอบด้วย
(1) สัมมาทิฐิ (2) อริยสัจ 4 (3) หัวใจนักปราชญ์ (สุจิปุลิ) และ (4) จิตภาวนา ซึ่งทำให้เข้าใจและสามารถเปลี่ยนแปลงยกระดับโครงสร้างของจิตใจที่ขัดแย้ง ไม่สอดคล้อง ไม่กลมกลืน ไปสู่โครงสร้างของจิตใจที่สมบูรณ์ สอดคล้อง กลมกลืนสำหรับการโค้ชเพื่อสันติภาพของพระนักเผยแผ่ในสังคมไทย

           3. การพัฒนาและนำเสนอรูปแบบการโค้ชเพื่อสันติภาพสำหรับพระนักเผยแผ่ในสังคมไทย ประกอบด้วยหลักการสนทนาธรรมนำสู่สัมมาทิฐิ กระบวนการประกอบด้วย (1) การอบรมพัฒนาพระให้มีสัมมาทิฐิใช้การโค้ชเพื่อสันติภาพ (2) กำหนดหน่วยการเรียนรู้ 4 มิติ (3) ทำให้เกิดทักษะความสามารถผ่านการลงมือปฏิบัติ และ (4) มีระบบกัลยาณมิตรผู้รู้สนับสนุน วิธีการประกอบด้วย (1) เตรียมรูปแบบ โปรแกรมการอบรม (2) ประสานวิทยากรและสถานที่
(3) กระบวนการรับสมัครและประกาศผลการคัดเลือก (4) ทดสอบก่อนการอบรม (5) ดำเนินการฝึกอบรม (6) ทดสอบหลังการฝึกอบรมและประเมินผลรูปแบบฯ (7) นำเสนอรูปแบบ (8) พัฒนารูปแบบ และ (9) ทำให้เกิดความยั่งยืนผ่านระบบการติดตามและสนับสนุน นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ สัมมาทิฐิ สันติภาพ และการโค้ช โดยสันติภาพมีองค์ประกอบย่อยดังนี้
(1) ส่วนตน (2) ส่วนจิตวิญญาณ (3) ส่วนระบบสังคม และ (4) ส่วนความยั่งยืน การโค้ชประกอบด้วย วงจรกระบวนการมีองค์ประกอบย่อย ดังนี้ (1) การระบุประเด็นปัญหา (2) สำรวจเหตุปัจจัย (3) สร้างสรรค์ทางเลือก และ (4) สร้างความเข้าใจหรือการลงมือทำ สมรรถนะมีองค์ประกอบย่อยดังนี้ (1) การฟังอย่างล้ำลึก (2) การนึกอย่างลึกล้ำ (3) การถามอย่างเยี่ยมยอด และ (4) การทำอย่างยอดเยี่ยม และหน่วยการเรียนรู้มีองค์ประกอบย่อยดังนี้ (1) การโค้ชสากล (2) การโค้ชแนวพุทธ (3) สันติภาพภายใน และ (4) การสร้างเสริมสันติภาพ

           ดังนั้น ผู้วิจัยได้ค้นพบนวัตกรรมจากงานวิจัยสู่การรับใช้สังคม ส่งผลกระทบต่อคณะสงฆ์ ชุมชน และประเทศชาติในทางที่ดี โดยมีรูปแบบการโค้ชเพื่อสันติภาพของพระนักเผยแผ่ในสังคมไทย เป็นองค์ความรู้ใหม่ และส่งผลให้เกิดการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นตามความต้องการของประชาชนพลเมือง มหาวิทยาลัย องค์กร และสังคมต่อไป

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

           This doctoral dissertation aims to achieve three main objectives in examining the coaching paradigm for peace among propagating monks in Thai society: 1) to analyze the contextual background, challenges, and needs related to Buddhist propagation for peace in Thai society, along with contemporary coaching theories; 2) to analyze the foundational Buddhist principles supporting Coaching for Peace among Buddhist propagating monks; and 3) to develop and present a peace-building coaching model for propagating Buddhist monks in Thai society. This research follows an action research approach, utilizing the Ariyasacca model and interpretive phenomenological methods. Insights were drawn from document analysis, in-depth interviews with 12 participants, and experimental trials with 15 individuals, employing content analysis, statistical inference, semantic analysis, and synthesis of findings. Results:

           1. The context of Buddhist propagation for peace in Thai society often involves a unidirectional communication style, potentially incompatible with evolving social dynamics. Monks may need to adapt their methods to resonate better with the populace, making coaching a versatile and inclusive approach across various contexts. Coaching is intricately linked to individuals' personal and professional lives, promoting skill development and personalized conflict resolution approaches.

           2. Foundational Buddhist principles supporting coaching for peace among monks encompass Samma-ditti, the Four Noble Truths, the heart of the Pandit, and Citta Bhavana. These principles facilitate a deep understanding and transformation of conflicting states of mind, guiding individuals towards holistic and harmonious mental structures.

           3. The Peace-building Coaching model for propagating Buddhist monks in Thai society consists of principles, processes, and methods. Principles involve monks embodying Samma-ditti, supporting individuals in developing Samma-ditti. Processes consist of (1) training monks in coaching for peace, (2) structuring multidimensional learning units, (3) fostering practical skills through hands-on practice, and
(4) establishing a supportive knowledge-sharing system. Methods encompass
(1) preparing course formats and training programs, (2) coordinating facilitators, conceptualizing core ideas, and obtaining event venues, (3) advertising and selection processes, along with announcements, (4) pre-training tests, (5) training execution,
(6) post-training assessments, (7) presenting the model, (8) developing the model, and (9) ensuring sustainability through follow-up systems and support. Additionally, there are tremendous factors which are Samma-ditti, Peace, and Coaching. In the Peace aspect, the sub-components are as follows: (1) Self-dimension, (2) Spiritual dimension, (3) Societal dimension, and (4) Sustainability dimension. In the coaching aspect, it comprises Iterations, Competencies, and Modules. The sub-components are as follows: The iterations include (1) Identify Issues and Interests, (2) Illuminate Reasons and Results, (3) Innovate Solutions and Strategies, and (4) Initiate Action and Insight. Competencies consist of (1) Compassionate Listening, (2) Contemplative Thinking, (3) Clever Communication, and (4) Calling for Hands-on Learning. Modules encompass (1) International Coaching, (2) Buddhist Coaching, (3) Inner Peace, and (4) Outer Peace.

            In conclusion, this research contributes innovative insights from research to societal application, impacting the Sangha, communities, and the nation positively.
A peace-building coaching model for propagating Buddhist monks in Thai society serves as a novel body of knowledge, paving the way for short-term training courses tailored to the needs of citizens, universities, organizations, and society at large.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ