โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนากระบวนการนิเทศการศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรม สำหรับศึกษานิเทศก์ เขตตรวจราชการที่ 2
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment of Educational Supervision Process Integrated with the Principles of Kalyanamitra Dhamma for Educational Supervisors, Cluster 2
  • ผู้วิจัยนายอรุณรัชช์ ศาสตร์สกุล
  • ที่ปรึกษา 1ดร.ลำพอง กลมกูล
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.เกษม แสงนนท์
  • วันสำเร็จการศึกษา25/01/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50488
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 12

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจำเป็นต่อการพัฒนากระบวนการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ เขตตรวจราชการที่ 2 2) เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศการศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรมสำหรับศึกษานิเทศก์ เขตตรวจราชการที่ 2 และ 3) เพื่อประเมินกระบวนการนิเทศการศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรมสำหรับศึกษานิเทศก์ เขตตรวจราชการที่ 2 ใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธี แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจำเป็นต่อการพัฒนากระบวนการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ เขตตรวจราชการที่ 2 โดยใช้แบบสอบถามสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 2 จำนวน 99 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 พัฒนากระบวนการนิเทศการศึกษา โดยใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและการศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และระยะที่ 3 ประเมินกระบวนการนิเทศด้วยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 รูป/คน โดยใช้แบบประเมินการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความตรงและความเที่ยง และการตรวจสอบความตรงตามเนื้อเรื่องของกระบวนการนิเทศจากผู้เชี่ยวชาญด้านการนิเทศการศึกษา จำนวน 5 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าดัชนีความตรงตามเนื้อเรื่อง

ผลการวิจัยพบว่า:

1.  สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจำเป็นต่อการพัฒนากระบวนการนิเทศการศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรมของศึกษานิเทศก์ เขตตรวจราชการที่ 2 พบว่า สภาพที่เป็นจริงที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การรายงานผลเพื่อพัฒนา ( = 4.08, S.D. = 1.03) และค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การวางแผน (  = 3.66, S.D. = 1.00) สภาพที่ควรจะเป็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การรายงานผลเพื่อพัฒนา (  = 4.88, S.D. = 0.28) และค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การสร้างความสัมพันธ์ (  = 4.84, S.D. = 0.27) และการจัดเรียงลำดับค่าความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการจำเป็น (PNImodified) อยู่ระหว่าง 0.20 – 0.31 ด้านที่มีความต้องการจำเป็นที่พบว่ามีความสำคัญลำดับที่ 1 คือ การวางแผน (PNImodified = 0.31) ลำดับที่ 2 คือ การให้ข้อมูล ความรู้ (PNImodified = 0.28) และลำดับที่ 3 คือ การสร้างความสัมพันธ์ (PNImodified = 0.27) ตามลำดับ

2.  กระบวนการนิเทศการศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรมสำหรับศึกษานิเทศก์ เขตตรวจราชการที่ 2 ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน 2) การสร้างความสัมพันธ์ 3) การให้ข้อมูลความรู้  4) การปฏิบัติ  5) การประเมินผล และ 6) การรายงานผลเพื่อพัฒนา โดยมีการบูรณาการหลักกัลยาณมิตรธรรมด้วยการวางแผนแบบร่วมคิดร่วมทำบนพื้นฐานความรัก (ครุ) และความเคารพ (ปิโย) มีการสร้างความสัมพันธ์และให้ข้อมูลความรู้อย่างผู้มีภูมิรู้ ภูมิธรรม ภูมิฐาน (ภาวนีโย) พร้อมนำสู่การปฏิบัติที่ทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง (วตฺตา ) มีความอดทนในการให้คำปรึกษา (วจนกฺขโม) ใช้วิธีการที่เหมาะสมในการนิเทศเชิงลึกได้ (คมฺภีรญฺจ กถ  กตฺตา) และให้คำปรึกษาชี้แนะในเชิงบวก (โน จฏฺฐาเน นิโยชเย) ด้วยเหตุผล

3.  ผลการประเมินกระบวนการนิเทศการศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรมสำหรับศึกษานิเทศก์ เขตตรวจราชการที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นจากการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีฉันทามติในการยืนยันกระบวนการนิเทศการศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรม และผลการตรวจสอบดัชนีความตรงตามเนื้อเรื่อง พบว่า มีความเหมาะสม มีความถูกต้อง มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยสรุปเป็นองค์ความรู้การวิจัย คือ PEIAER+ Model

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The purposes of this dissertation were 1) to study the current conditions, problems, and needs assessment for the development of the educational supervision process of educational supervisors, Cluster 2, 2) to develop the educational supervision process integrated with the principles of Kalyanamitra Dhamma for educational supervisors, Cluster 2, and 3) to evaluate the educational supervision process integrated with the principles of Kalyanamitra Dhamma for educational supervisors, Cluster 2. Mixed methods research was designed and divided into 3 phases. Phase 1 used questionnaires to survey for studying the current conditions, problems, and needs assessment for the development of the educational supervision process of educational supervisors, Cluster 2 with 99 samples. Data were analyzed by using statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation and needs assessment. Phase 2 used in-depth interview to develop the educational supervision process and collected data by semi-structured interviews from 12 key informants and document study. Phase 3  evaluated the supervision process using the connoisseurship with 9 experts by using connoisseurship assessment form. Data were analyzed by calculate and analytic induction. Results were proposed sing descriptive method and contenting validity and reliability.  Supervision process was then assessed by content validity index of from 5 experts and analyzed by calculating the value of content validity index.

Results were shown as follows:

1. The current conditions, problems, and needs assessment for the development of the educational supervision process of educational supervisors, Cluster 2 found that highest average values of the actual conditions was report for development  ( = 4.08, S.D. = 1.03), and the lowest average was planning  (  = 3.66, S.D. = 1.00). The highest average values of expected condition was report for development (  = 4.88, S.D. = 0.28), and the lowest average was Empower (  = 4.84, S.D. = 0.27). The sample group has needs assessment (PNImodified) between 0.20 - 0.31, in areas that have necessary needs of the 1st priority was planning (PNImodified = 0.31), the 2nd priority was information (PNImodified = 0.28), and the 3rd priority was Empower (PNImodified =0.27), respectively.

2. The educational supervision process integrated with the principles of Kalyanamitra Dhamma for educational supervisors, Cluster 2 was developed and consisted of 6 steps which were 1) planning, 2) empower, 3) information, 4) action, 5) evaluation, and 6) report for development. It was integrated with Kalyanamitra Dhamma by conducting cooperative planning based on love (garu) and respect (piyo), building empowerment and providing information with academic and Buddhist scholars (bhavaniyo), leading to practice as role model (vatta ja), having patient advice (vacanakkhamo), using appropriate method for in-depth supervision (gambhiranca katha katta), and having reasoning positive advice (no catthane niyojaye).

3. Evaluation results of educational supervision process integrated with the principles of Kalyanamitra Dhamma for educational supervisors, Cluster 2 found that  the developed process showed consensus of educational supervision process integrated with the principles of Kalyanamitra Dhamma, and assessment results of content validity index showed appropriate, accurate, possible to practice, and can be used for utilization. In summary, knowledge of this research was the PEIAER+ Model.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ