โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ภาวะผู้นำทางการเมืองเชิงพุทธของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Political Leadership of Sub-District Adimnistrative Organization Executives in Muang District, Chaiyaphum Province
  • ผู้วิจัยพระสมชาย ปญฺญาวุฑฺโฒ (ยอดศิรินทร์)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร.ไพทูรย์ มาเมือง
  • วันสำเร็จการศึกษา01/03/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50509
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 29

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อนำเสนอภาวะผู้นำทางการเมืองเชิงพุทธของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน จากประชากรทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีประชาชนผู้ที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองชัยภูมิ จำนวน 184,431 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ (Descriptive Interpretation)

 

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.08) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านบุคลิกภาพ ( = 4.13) ด้านคุณลักษณะ (= 4.10) ด้านพฤติกรรม ( = 4.07) และด้านตามสถานการณ์ ( = 4.01) ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3. ผลการนำเสนอภาวะผู้นำทางการเมืองเชิงพุทธของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ พบว่า 1) ด้านคุณลักษณะตามหลักสัปปุริสธรรม ผู้นำทางการเมืองในเขตพื้นที่ปฏิบัติงานตามกฎระเบียบของหน่วยงานราชการที่วางเอาไว้ เข้าร่วมการประชุมในการจัดกิจกรรมเพื่อประโยชน์ส่วนรวม พร้อมมีความพึงพอใจในการแก้ไขสถานการณ์การภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้น หรือเป็นผู้เต็มใจลงพื้นที่ตรวจสอบและแก้ไขภัยพิบัติในเขตพื้นที่ 2) ด้านบุคลิกภาพตามหลักสัปปุริสธรรมผู้นำทางการเมืองในเขตเป็นผู้มุ่งมั่นผลักดันในการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ในการแก้ไขสถานการณ์ภัยพิบัติ มีการประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่เพื่อแก้ไขสถานการณ์ปัญหาภัยพิบัติต่างๆ หรือมีความมุ่งมั่นผลักดันในการแบ่งพื้นที่ในการดำเนินงานในการแก้ไขสถานการณ์การภัยพิบัติ 3) ด้านพฤติกรรมตามหลักสัปปุริสธรรม ผู้นำทางการเมืองในเขตพื้นที่มีการตั้งมั่นติดตามสอบถามสถานการณ์ภัยพิบัติในเขตพื้นที่ มีการติดตามสถานการณ์แล้วประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน พร้อมทั้งจัดทีมประสานงานในการแก้ไขสถานการณ์ภัยพิบัติในเขตพื้นที่ และมีความทุ่มเทตั้งมั่นติดตามแก้ไขสถานการณ์ภัยพิบัติในเขตพื้นที่ 4) ด้านตามสถานการณ์ตามหลักสัปปุริสธรรม ผู้นำทางการเมืองในเขตพื้นที่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นๆ เข้ามาดูแลจากการเกิดภัยพิบัติในเขตพื้นที่ ได้ชักชวนผู้ใจบุญในการนำสิ่งของที่จำเป็นไปบริจาคช่วยเหลือผู้ประสพภัยพิบัติ พร้อมทั้งได้พิจารณาจัดสรรงบประมาณจากหน่วยงานราชการที่มีอยู่เพื่อช่วยเหลือผู้ประสพภัยพิบัติตามสมควร

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research were 1) to study the level of political leadership of sub-district administrative organization administrators in Muang District, 2) to compare people’s opinions about the political leadership of the administrators of sub-district administrative organizations in Muang District, Chaiyaphum Province, classified by personal factors, 3) to present the Buddhist political leadership of the administrators of sub-district administrative organizations in Muang District, Chaiyaphum Province. The research methodology was an integrated research. The qualitative research collected data from 9 key informants by in-depth interviews. The quantitative research collected data with questionnaires from 400 samples both male and female out of 184,431 people aged 18 years upwards residing in Muang District Chaiyaphum Province. The tools were questionnaire and interview formats. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, hypotheses were tested by t-test and F-test and the data were analyzed by descriptive interpretation.

 

The results showed that

1. The political leadership level of executives of sub-district administrative organizations in Muang District Chaiyaphum Province overall was high (=4.08), classified by side from high to low as follows: personality (= 4.13), characteristics (=4.10), behavior (= 4.07) and situation (= 4.01) respectively. 2. The comparison of public opinions towards the political leadership of the administrators of sub-district administrative organizations in Muang District, Chaiyaphum Province found that the people with different sex, age, educations, occupations and income had no different opinions about the political leadership of the administrators of sub-district administrative organizations in Muang District, Chaiyaphum Province, therefore, the research hypothesis was rejected. 3. The presentation of the Buddhist political leadership of the executives of sub-district administrative organizations in Muang District, Chaiyaphum Province found that 1) For the characteristics according to the Sappurisadhamma principle the political leaders in the certain areas participated in activities for common benefit, were content to resolve various disaster situations or prepared to inspect and resolve disasters in the area. 2) For personality according to Sappurisadhamma the political leaders in the region insistently intended to cooperate with local authorizes in resolving the disaster situations. There was coordination with local agencies to solve various disaster situations. 3) For behavior according to Sappurisadhamma the political leaders in the area followed up and inquired about the disaster situations in the area after that gave useful information to people and organized a coordination team to resolve disaster situations in the area. 4) For situation according to Sappurisadhamma political leaders in the area received assistance from other agencies to oversee disasters in the area, invited philanthropists to donate necessary items to help disaster victims as well as considered allocating budgets from the government agencies to help the disaster-affected people properly.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ