-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามแนวอปริหานิยธรรมของผู้สูงอายุ ในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPolitical Participation according to the Aparihaniyadhamma of the Elderly in Phu Khiao District, Chaiyaphum Province
- ผู้วิจัยพระครูสิริเมตตาธรรม (สิริพงศ์ พรหมรอด)
- ที่ปรึกษา 1พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ, ดร
- ที่ปรึกษา 2ดร.ไพทูรย์ มาเมือง
- วันสำเร็จการศึกษา01/03/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50511
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 23
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อนำเสนอการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามแนวอปริหานิยธรรมของผู้สูงอายุในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 394 คน จากประชากรทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีทะเบียนราษฎรอยู่ในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 25,512 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ (Descriptive Interpretation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ อยู่ในระดับมาก (x̅ =3.79) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง (x̅ =3.81) ด้านการร่วมกิจกรรมของชุมชนหรือองค์กรทางสังคม (x̅ =3.79) และด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการรณรงค์หาเสียง (x̅ =3.76) อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ พบว่า ประชาชนที่มี เพศ และการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ไม่แตกต่างกัน
จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มี อายุ อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย
3. ผลการนำเสนอการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามแนวอปริหานิยธรรมของผู้สูงอายุ
ในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ พบว่า 1) ด้านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งตามหลักอปริหานิยธรรม ผู้สูงอายุควรยอมรับกฎกติกาในการเลือกตั้งทั้งให้ความเคารพต่อความเห็นต่างของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งท่านอื่น ผู้สูงอายุควรไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างสม่ำเสมอ และการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทำตามวันเวลาที่กำหนดไว้ ผู้สูงอายุควรเลือกลงลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้กับผู้สมัครที่ไม่กระทำผิดกติกา หรือกฎหมายของบ้านเมืองเป็นสำคัญ 2) ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการรณรงค์หาเสียงตามหลักอปริหานิยธรรม ผู้สูงอายุควรร่วมรณรงค์ให้บุคคลอื่นหรือเพื่อนบ้านเคารพและรับฟังความคิดเห็นรวมถึงความเห็นต่างของบุคคลอื่นที่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ผู้สูงอายุควรมีส่วนร่วมในการชักชวนบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่นให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามวันเวลาที่กำหนดไว้ ผู้สูงอายุควรร่วมรณรงค์ให้ทุกคนให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่กดขี่ข่มแหงกันโดยเฉพาะการให้เกียรติสตรี เคารพต่อกฎหมาย และสถานที่เลือกตั้ง 3) ด้านการร่วมกิจกรรมของชุมชนหรือองค์กรทางสังคมตามหลัก
อปริหานิยธรรม ผู้สูงอายุควรเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ หรือชุมชนในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามวันเวลาที่กำหนดไว้ ผู้สูงอายุควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมการเคารพกฎหมาย กฎเกณฑ์ของสังคม ส่งเสริมให้คนในชุมชนเคารพสถานที่สำคัญของชุมชน ผู้สูงอายุควรมีส่วนร่วมในการเสนอข้อบังคับของชุมชน เกี่ยวกับการคุ้มครองป้องกันให้กับคนในพื้นที่ในการไปใช้สิทธิ์เลือก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of the research were 1) to study the levels of the political participation of the elderly in Phu Khiao District, Chaiyaphum Province, 2) to compare the people’s opinions on the political participation of the elderly in Phu Khiao District, Chaiyaphum Province classified by personal factors and 3) to present the political participation according to Aparihaniyadhamma of the elderly in Phu Khiao District, Chaiyaphum Province. The research methodology was the mixed method. The qualitative research collected data from 10 key informants by in-depth interviews and the quantitative research collected data with questionnaires from 394 samples out of 25,512 people aged 60 years upwards living in Phu Khiao District, Chaiyaphum Province. The research tools were questionnaires and interview formats. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, hypotheses were tested by t-test and F-test, and the data were analyzed with descriptive interpretation.
Findings of the research were as follows:
1. The levels of the political participation of the elderly in Phu Khiao District, Chaiyaphum Province overall were high ( x̅ =3.79), when classified by side from high to low as follows: election voting (x̅ =3.81), joining communal activities or social organizations (x̅ =3.79) and participating in campaign activities (x̅ =3.76) respectively
2. The comparison of the people’s opinions about the political participation of the elderly in Phu Khiao District, Chaiyaphum Province found that the people with different sex and educations had no different opinions about the political participation of the elderly in Phu Khiao District, Chaiyaphum Province whereas those with different ages, occupations and incomes had different opinions with the statistical significance 0.05.
3. The result of presenting the political participation according to Aparihaniya dhamma of the elderly in Phu Khiao District, Chaiyaphum Province found that 1) For election voting according to Aparihaniyadhamma, the elderly should accept the election rules and respect different opinions of other voters. They should go to vote regularly and on the noted time and dates and they should vote for the candidates who are not against regulations or general laws. 2) For participating in campaign activities according to Aparihaniyadhamma, the elderly should join campaigning to encourage people to respect and accept others’ opinions, even different opinions of other voters. They should persuade the family members and others to vote on the fixed dates and should honor each other, not oppress others, honor women and respect the laws and the voting places. 3) For joining communal activities or social organizations according to Aparihaniyadhamma, the elderly with state sectors or communities should participate in setting policy on voting on the fixed day. They should participate in activities to support respect to laws, social rules and the important places in communities. They should join presenting communal regulations about protecting the local people in voting.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|