-
ชื่อเรื่องภาษาไทยสันตินวัตกรรมการวิเคราะห์บุคลิกภาพบุคคลด้วยรหัสใบหน้าเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPeaceful Innovation: Personality Analysis by Face Decoder for Empowering of The Department of Woment’s Affairs and Family Development
- ผู้วิจัยนางสาวธนบงกช ศิริพัฒน์กิตติ
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
- ที่ปรึกษา 2พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา12/02/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาสันติศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50516
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 21
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นในการวิเคราะห์บุคลิกภาพบุคคล สำหรับผู้นำกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีตามศาสตร์สมัยใหม่และหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการเสริมสร้างศักยภาพผู้นำในการวิเคราะห์บุคลิกภาพบุคคลด้วยรหัสใบหน้า ของผู้นำกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และ 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอสันตินวัตกรรมการวิเคราะห์บุคลิกภาพบุคคลด้วยรหัสใบหน้าเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods Research Design) โดยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มหัวหน้างานของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน สนทนากลุ่มเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน ทำการทดลองนำร่อง แบบ Exploratory sequential design หัวหน้างานของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และเครือข่าย จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ประเมินผลก่อนและหลังการทดลอง ได้แก่ แบบประเมินศักยภาพของผู้เข้าอบรมหลักสูตร การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสะท้อนความรู้สึกด้วยเทคนิค AAR ใช้สถิติวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยค่า t-test สรุปผลแบบพรรณนาโวหาร ผลวิจัยพบว่า
1. กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวเป็นหน่วยงานราชการ การได้มาของบุคลาการเป็นการจัดสรรจากราชการส่วนกลาง บุคลากรดังกล่าวขาดทักษะที่ตรงกับภารกิจ ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้งานและทักษะที่เกี่ยวข้อง ทำให้การดำเนินงานในแต่ละตำแหน่งทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ การกระจายงานของผู้นำไม่เท่าเทียม มุ่งทำแต่งาน ละเลยความสัมพันธ์ของบุคลากรในทีม ขาดความเข้าใจในความแตกต่างของบุคคล ทำให้บรรยากาศในการทำงานค่อนข้างตึงเครียด ด้วยขาดทักษะการสื่อสารทั้งการพูดและการฟังที่ดี ตลอดจนขาดความพร้อม และการสื่อสารแบบผู้นำ
2. แนวคิดทฤษฎีศาสตร์สมัยใหม่ ได้แก่ แนวคิดการวิเคราะห์บุคลิกภาพบุคคลเพื่อความเข้าใจตัวตนที่แตกต่างในเชิงปัจเจกบุคคลของศาสตร์โหงวเฮ้งและศาสตร์ตะวันตก, แนวคิดการพัฒนาศักยภาพการสื่อสารแบบผู้นำการเปลี่ยนแปลง และจริต 6 ก่อให้เกิดประโยชน์ในการเข้าใจความเป็นตัวตนของแต่ละคน สามารถสื่อสารเชิงบวกให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบสันติและยั่งยืน
3. การพัฒนาศักยภาพผู้นำด้วยสันตินวัตกรรมการวิเคราะห์บุคลิกภาพบุคคลด้วยรหัสใบหน้า โดยได้ร่างโมเดลการถอดรหัสใบหน้าที่ใช้ คือ หลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อเรียนรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือการถอดรหัสใบหน้าวิเคราะห์บุคลิกภาพบุคคล ระยะเวลาอบรม 2 วัน โดยมีเนื้อหาอบรมประกอบด้วย Module 1 : รู้จักตนเองด้วยสติเป็นฐาน ให้เข้าใจตนเองอย่างแท้จริง Module 2 รู้จักเขารู้จักเราด้วยการถอดรหัสใบหน้าวิเคราะห์บุคลิกภาพ ให้เข้าใจความเป็นตัวตนที่แตกต่าง Module 3 จริต 6 กับการพัฒนาทักษะการสื่อสารของผู้นำ สามารถออกแบบการสื่อสารเชิงบวกเฉพาะบุคคลได้ Module 4 Peace Assessment: การใช้เครื่องมือถอดรหัสใบหน้าวิเคราะห์บุคลิกภาพ (Face Decoder) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้นำ Module 5 ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงสร้างสันติสุขในองค์กร ผลการทดลองพบว่ากลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมมี ค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะเสริมสร้างศักยภาพผู้นำด้วยการถอดรหัสใบหน้าวิเคราะห์บุคลิกภาพบุคคล ก่อนทดลองใช้หลักสูตรอบรม ระหว่างอบรม และหลังอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่า t = -6.57 การพัฒนานี้สามารถเสริมสร้างทักษะการถอดรหัสใบหน้าวิเคราะห์บุคลิกภาพบุคคลขยายการวิจัยไปได้หลากหลายกลุ่มอาชีพ รวมถึงต่อยอดเครื่องมือในรูปแบบ Website และ Application
องค์ความรู้การวิจัยคือ โมเดลการสื่อสารแบบผู้นำ “G.R.A.C.E LEADERSHIP COMMUNICATION” เป็นการสื่อสารเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ T.C.P Model โมเดลผลักดันสมรรถนะ 3 คุณลักษณะ Knowleage, Attitude and Skill
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The dissertation had the following objectives: 1) analyzing the concepts and theories of new sciences and the principles of Buddhist mindfulness that support the analysis of individual personalities through face decoding to enhance the leadership potential of leaders in the Department of Women's Affairs and Family Institutions. 2) Examining the concepts and theories of modern sciences and the principles of Buddhist mindfulness that contribute to strengthening the leadership potential in analyzing individual personalities through the face decoder of leaders in the Department of Women's Affairs and Family Institutions. 3) Developing and presenting innovative face decoder analysis techniques to enhance the leadership potential of the Department of Women's Affairs and Family Institutions. The research utilizes a mixed-methods research design, employing an exploratory sequential design, collecting qualitative data through in-depth interviews with department heads and qualified individuals, totaling 15 people, and conducting focused group discussions with 7 experts. The experimental group includes 24 network members and department heads. The evaluation tools used before and after the experiment include potential assessment forms for training participants, participatory observation, reflection using the AAR technique, and statistical analysis comparing mean values with t-tests."
Research findings revealed that
1) The central government allocates personnel appointments for the Department of Women's Affairs and Family Institutions, a government organization. However, the staff lacks skills aligned with their duties, requiring time for on-the-job learning. This inefficiency affects task performance in each position. Work distribution among leaders is unequal, focusing on individual tasks and neglecting team relationships. Personnel need to understand each other's differences, contributing to tension. Insufficient communication skills in speaking and listening lead to a lack of readiness and effective leadership communication.
2) Modern theoretical concepts include analyzing personal images to understand individual differences in personal characteristics between Eastern and Western psychology. Developing communication skills in leadership, change, and ethics contributes to understanding the uniqueness of each individual and fostering sustainable and peaceful changes.
3) Leadership Capability Development through Facial Image Analysis Innovation was introduced, involving a participatory training program to learn face-decoding skills. The training spanned two days and included modules on self-awareness, mutual recognition, ethics in leadership communication, and peace assessment. Experimental results showed significant statistical differences in leadership competence scores through facial image analysis before training, during training, and after training, with a critical statistical level at 0.05 (t = -6.57). This development is applicable across various professions, with the potential to extend research through online platforms such as websites and applications.
The "G.R.A.C.E. Model for Leadership" encapsulates the research's knowledge contribution as a supplementary communication tool to enhance transformational leadership's communication and the T.C.P. model, a competency-driven model emphasizing the triad of knowledge, attitude, and skill.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|