โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ ตามมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๓๕ และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ. ๒๕๓๖)
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษProblems Regarding Appointment and Removal of Preceptors under Section 23 of the Sangha Act. B.E. 2505 by the Sangha Act (No. 2) B.E. 2535 Comparison of the Rules of the Suprem Sangha Council NO. 17 (B.E. 2536)
  • ผู้วิจัยพระครูบวรศีลวัฒน์ (อำนวย สีลธโร)
  • ที่ปรึกษา 1ดร.วรพจน์ ถนอมกุล
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ร.อ.ดร.ประมาณเลิศ อัจฉริยปัญญากุล
  • วันสำเร็จการศึกษา20/02/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชานิติศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50532
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 81

บทคัดย่อภาษาไทย

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2536)” ผู้วิจัยได้ศึกษาในครั้งนี้ กำหนดตามวัตถุประสงค์ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษา คุณลักษณะ กฎ ระเบียบวิธีการปฏิบัติหน้าที่พระอุปัชฌาย์ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2)  พ.ศ. 2535 และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2536) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ (2) เพื่อศึกษาแนวคิดวิธีการปฏิบัติหน้าที่พระอุปัชฌาย์ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2)  พ.ศ. 2535 และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2536) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ (3) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ วิธีการปฏิบัติหน้าที่พระอุปัชฌาย์ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2536) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ 

ผลจากการวิจัย พบว่า ปัญหาสำคัญเกิดจากความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ ซึ่งตามพระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม ที่ออกมาให้สอดรับกัน กำหนดให้มีพระอุปัชฌาย์มีหน้าที่ ตรวจสอบคัดกรองผู้ขอบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ซึ่งผู้ศึกษาได้วิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้พระอุปัชฌาย์บกพร่อง ต่อหน้าที่ ไว้ดังนี้ (ก) พระอุปัชฌาย์บางท่านเกรงกลัวอิทธิพลของบิดามารดาผู้ปกครองหรือเครือญาติ ของผู้ขอบรรพชาอุปสมบท เนื่องจากบุคคลเหล่านี้เป็นผู้มีอิทธิพล เป็นผู้นำชุมชน (ข) พระอุปัชฌาย์บางท่านเกรงใจ บิดามารดา ผู้ปกครองหรือเครือญาติของผู้ขอบรรพชาอุปสมบท เนื่องจากบุคคลเหล่านี้เป็นผู้มีอุปการคุณ คอยช่วยเหลืออุปถัมภ์ค้ำชูวัดด้วยดีมาตลอด (ค) พระอุปัชฌาย์บางท่านมีภารกิจมาก ทำให้ไม่มีเวลาที่จะไปตรวจสอบคัดกรองประวัติ คุณลักษณะหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ขอบรรพชาอุปสมบท (ง) พระอุปัชฌาย์ทั่วไปมีจำนวนน้อย เนื่องจากกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2536) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ ข้อ 7 กำหนดให้ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลหนึ่ง ให้มีพระอุปัชฌาย์เพียงหนึ่งรูป เว้นแต่มีกรณีพิเศษ ประกอบกับกฎมหาเถรสมาคม ข้อ 8 ยังได้กำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมไว้อีก 8 ประการ จึงเกิดกรณีปัญหาพระอุปัชฌาย์ไปรับบรรพชาอุปสมบทพระนอกวัดที่ตนสังกัด 

นอกจากนั้น ความไม่ชัดเจนของคำว่า “จำคุกโดยฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ” กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2536) ข้อ 14 (4) ระบุว่าพระอุปัชฌาย์ต้องงดเว้นการให้บรรพชา อุปสมบทแก่คนเคยถูกตัดสินจำคุกโดยฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ ซึ่งการใช้ถ้อยคำว่า “จำคุกโดยฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ” นั้นเป็นการใช้ถ้อยคำที่ทำให้เกิดการตีความได้หลากหลาย เนื่องจากไม่มีการกำหนด รายละเอียดของหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่า “ผู้ร้ายสำคัญ” นั้น หมายถึงผู้กระทำความผิดฐานใดบ้าง หรือมีพฤติกรรมการกระทำความผิดอย่างไรหรือได้รับการลงโทษจำคุกกี่ปีขึ้นไป ดังนั้น จึงเป็นการสมควรแก่เวลาที่จะทำการแก้ไขปรับปรุงกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2536) และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่วงการพระสงฆ์และพระพุทธศาสนาสืบต่อไปในภายหน้า

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

 

          The research entitled “Problems Regarding Appointment and Removal of Preceptors under Section 23 of the Sangha Act, B.E. 2505 by the Sangha Act (No. 2) B.E. 2535 Comparison of the Rules of the Suprem Sangha Council No. 17 (B.E. 2536). The objectives of this research are (1) to study the characteristics, regulations, rules of preceptors’ duty under section 23 of the Sangha Act, B.E. 2505 by the Sangha Act (No. 2) B.E. 2535 comparison of the rules of the Suprem Sangha Council No. 17 (B.E. 2536) about the removal of preceptors, (2) to study and analyze the concept of preceptors’ duty under section 23 of the Sangha Act, B.E. 2505 by the Sangha Act (No. 2) B.E. 2535 comparison of the rules of the Suprem Sangha Council No. 17 (B.E. 2536) about the appointment and removal of preceptors,  (3) to study the problems, obstacles and suggestions about preceptors’ duty under section 23 of the Sangha Act, B.E. 2505 by the Sangha Act (No. 2) B.E. 2535 comparison of the rules of the Suprem Sangha Council No. 17 (B.E. 2536) about the appointment and removal of preceptors.

    The findings of research found that the some important problems from mistakes of preceptors’ duty along with dhammavinaya and rules of  Suprem Sangha Council to match the preceptors’ duty, to examine the people who wish to be ordained as Buddhist monks that a researcher analyzed the causes of mistakes of preceptors’ duty as follows (A) some preceptors are concerned of power of parents, guardians or relatives of the people who wish to be ordained as Buddhist monks due to some people have the power and local leaders. (B) some preceptors are afraid of parents, guardians or relatives of the people who wish to be ordained as Buddhist monks due to these persons have the gratitude, to always help and support the temple. (C) some preceptors are busy and do not have much time to examine and screen the bio-data, characteristics or characteristics of forbidden people who wish to be ordained as Buddhist monks. (D) inadequate preceptors due to rules of the Suprem Sangha Council No. 17 (B.E. 2536) about appointment and removal of Preceptors No. 17 to set up a Sub-District Sangha Administration and have one preceptor except special case and rules of the Suprem Sangha Council No. 8 set up the eight additional characteristics that have the case of some Preceptors accept the ordination out of own administration.

        Therefore, it is not clear for the word of  "to be in the jail as main villains", the Rule of the Supreme  Sangha Council No. 17 (B.E. 2536), Article 14 (4) mentions that the preceptors do not allow to be ordained due to the prisoners as the main villains which use the word as "to be in the jail as main villains" that is the word that can interpret in various meanings due to do not determine the details of judement principle about the "main villains", means the villains in case of what's wrong or has the behaviour in case of what's wrong or how many years were punished in the jail. Thus, it is the proper time to solve the Rule of Supreme Sangha Council No. 17 (B.E. 2536) and related laws for the sake of Sangha Organization and Buddhism in the future.

 

 

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ