โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แนวทางการส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมของทหารเกณฑ์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษGuidelines for Maral Development of Conscripts
  • ผู้วิจัยพันโท วัชชนะ ห้าวเจริญ
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
  • ที่ปรึกษา 2ผศ.พิเศษ ดร.อรชร ไกรจักร์
  • วันสำเร็จการศึกษา29/02/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50536
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 94

บทคัดย่อภาษาไทย

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาหลักสูตรการฝึกทหารเกณฑ์ของกองทัพบก (2) เพื่อศึกษาคุณธรรมที่เหมาะกับทหารเกณฑ์ และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมของทหารเกณฑ์ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 คน

             ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรการฝึกทหารเกณฑ์ของกองทัพบก ประกอบด้วย หลักสูตรวิชาทฤษฎีแบบธรรมเนียมทหาร ได้แก่รายวิชาการฝึก วิชาทหารทั่วไป และหลักสูตรการฝึกวิชาชีพ ได้แก่ การฝึกกลุ่มอาชีพทั่วไปและกลุ่มอาชีพ โดยมีรูปแบบการฝึกแบบรวม แบบแยกการและแบบผสม วิธีการฝึกแบ่งเป็นขั้นสาธิต ขั้นปิดตอนและขั้นเปิดตอน สำหรับการประเมินการฝึกจะแบ่งเป็นสถานีมีการกำหนดเกณฑ์การประเมินและการให้คะแนนตามหลักสูตรการฝึก

            คุณธรรมที่เหมาะสมกับทหารเกณฑ์ ได้แก่ ไตรสิกขา ประกอบด้วย 1.ศีลสิกขา คือความเข้มแข็งของร่างกาย ความมีระเบียบวินัย ความเรียบง่ายสันโดษ 2.สมาธิสิกขาคือ การพัฒนาอารมณ์ มีขันติ ความอดกลั้น กล้าหาญ จิตใจเข้มแข็ง ไม่หวั่นไหว เสียสละต่อชาติบ้านเมือง อุทิศตน เมตตา  ซื่อสัตย์ จริงใจ  3.ปัญญาสิกขาคือ การมีความรู้ในกลยุทธ์ทางทหารและทักษะในการใช้อาวุธ ฉลาดในยุทธศาสตร์ประพฤติตนเป็นประโยชน์

             แนวทางการส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมของทหารเกณฑ์แบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ 1.ปัจจัยภายนอกคือบุคคลากรผู้สอนควรใช้อนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นตัวขับเคลื่อนในการสอนและการฝึกปฏิบัติ 2.ปัจจัยภายในคือทหารเกณฑ์มองเห็นคุณค่าและความหมายของการเป็นทหารที่รักษาประเทศชาติเป็นภารกิจสำคัญของตนเองโดยมีกิจกรรมและงบประมาณสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The study included the following objectives: 1) to examine the training program for conscripts of the Royal Thai Army; 2) to explore the moral principles suitable for conscripts; and 3) to propose guidelines for moral development of conscripts. The study used a qualitative research method based on document research and in-depth interviews with 8 key informants.

From the study, it is found that the training program for conscripts of the Royal Thai Army consists of the theory of military customs, which includes training and general military subjects, and the vocational training program, which includes both general occupational group and occupational group trainings. The training formats are combined, separate, and mixed. The training methods are divided into demonstration, opening session before the start of the activities, and closing session. The evaluation of the training is divided into the definition of evaluation criteria and grading according to the training program.

              The moral principles suitable for conscripts is Tisikkhā or the threefold training, which consists of the following: 1) Sīka-sikkhā, refers to physical strength, discipline, simplicity, and contentment; 2) Samādhi-sikkhā, refers to mental development, tolerance, patience, bravery, stable and steadfast mind, sacrifice for the country, self-devotion, loving-kindness, honesty and sincerity; and 3) Paññā-sikkhā, refers to knowledge in military strategies and skills in handling weapons, as well as wise strategies and useful behavior.

            The guidelines to promote the morals of conscripts are divided into two categories:1)External factors, where teachers should use Anusāsanīpāṭihāriya (the miracle of teaching) as a driving force in teaching and practicing; and 2) Internal factors, where conscripts recognize the values and meaning of being a soldier to protect the country and consider it an important task, with continuous activities and a supportive budget.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ